ประชุมคณะกรรมการเมืองโครงการเสริมสร้างองค์กรชุมชนเข้มแข็งเพื่อเปลี่ยนแปลงเมืองบ่อยาง ครั้งที่ ๑
ประชุมคณะกรรมการเมืองโครงการเสริมสร้างองค์กรชุมชนเข้มแข็งเพื่อเปลี่ยนแปลงเมืองบ่อยาง ภายใต้การสนับสนุนจากสหภาพยุโรป ครั้งที่ ๑/๒๕๖๖ วันพฤหัสบดี ที่ ๙ มีนาคม ๒๕๖๖ เวลา ๑๓.๐๐ -๑๖.๐๐น. ณ ห้องประชุมชั้น ๕ เทศบาลนครสงขลา จังหวัดสงขลา
โดยมีนายวิชากร บัวหอม รองนายกเทศมนตรีนครสงขลาเป็นประธานการประชุม โดยมีผู้เข้าร่วมประกอบด้วย คณะทำงานโครงการ หน่วยงานภาคีความร่วมมือ ตัวแทนชุมชน เข้าร่วม
เรื่องสำคัญนอกจากแจ้งความเป็นมาของโครงการซึ่งเป็นกิจกรรมในปีที่ ๔ ของโครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อการเปลี่ยนแปลงเมือง(SUCCESS) แล้ว องค์กรความร่วมมือได้นำเสนอแผนงานโครงการ ปี ๒๕๖๖
๑.มูลนิธิชุมชนสงขลา/สมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลา และคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน(กขป.เขต๑๒) ดำเนินงานโครงการถอดบทเรียนโควิด-๑๙ สานพลังสร้างชุมชนเข้มแข็ง,โครงการบูรณาการสร้างสุขภาพอนามัยภาคประชาชนสงขลา จัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพชุมชนเฝ้าระวังและเตือนภัยอุทกภัย สวนผักคนเมือง การดูแลผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง ร่วมกับคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พัฒนาศักยภาพ ผู้ดูแลที่บ้าน(Home Care Giver) จัดตั้งวิสาหกิจ iMedCare ที่จะรองรับผู้ป่วยทั้งสิทธิLTC และมีกำลังจ่ายเอง และดำเนินงานโครงการดูแลผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงที่มีภาวะซึมเศร้า ภายใต้งบ PPA ของสปสช.เขต ๑๒
๒.มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา เอกพัฒนาชุมชน คณะมนุษย์ฯ นำนักศึกษาลงพื้นที่ ๑๗ ชุมชนสร้างการเรียนรู้จำนวน ๑๒๐ คน ๒ รุ่น (๑ รุ่นดำเนินการภายในเวลา ๓ ปี) สนับสนุนให้เกิดชุมชนพึ่งตนเอง บูรณาการร่วมกับ ๔ ภาคส่วน และกำหนดตัวชี้วัด กิจกรรม
๓.มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ส่งเสริมการใช้ภาษาอังกฤษในการประกอบอาชีพให้กับชุมชน โดยเฉพาะกลุ่มพ่อค้า แม่ค้า และปรับพื้นฐานก่อนเรียนภาษาอังกฤษก่อนเข้าสู่รร.ในระบบ และ Learning lost ป้องกันลาออกกลางคัน
๔.สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(พอช.) สนับสนุนโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิต แก้ปัญหาที่อยู่อาศัย และแก้ปัญหาคลองสำโรง อาทิ ชุมชนบาลาเซาะเก้าแสน และริมคลองสำโรง) และที่ดินธนารักษ์(สนามบิน แหลมสนอ่อน) นัดคุยกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พชอ.หนุนงบสาธารณูปโภค ซ่อมที่อยู่อาศัยและงบสินเชื่อผ่านสหกรณ์ ร่วมกับมทร.ศรีวิชัย ทำผังชุมชนในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ปรับสภาพแวดล้อม พื้นที่ทำกิจกรรม กรรมสิทธิ์ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
๕.องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (WWF-Thailand) มีเป้าหมายเพื่อลดการรั่วไหลของขยะพลาสติกลงสู่ธรรมชาติ โดยจะดำเนินกิจกรรมธนาคารขยะกับชุมชน กิจกรรม Plastic free school program กับโรงเรียน กิจกรรม Deposit Return Scheme (DRS) กับภาคธุรกิจ และจัดตั้งโรงคัดแยกขยะ นำขยะทุกประเภท เชื่อมโยงในการจำหน่ายในราคาพิเศษ
๖.สมาคมเครือข่ายสุขภาพผู้สูงอายุ ต้องการจัดตั้งชมรมผู้สูงอายุระดับชุมชน และร่วมพัฒนาศักยภาพให้กับผู้สูงอายุ ผ่านกิจกรรมการแพทย์องค์รวม ปฎิบัติธรรม งานช่อลำดวน
๗.สมาคมคนพิการจังหวัดสงขลา มีโควต้าปรับสภาพบ้านคนพิการ ร่วมกับผู้สูงอายุ งบพมจ.และกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัด สงเคราะห์ช่วยคนพิการที่ช่วยตัวเองไม่ได้ ประเมินศักยภาพคนพิการรายคน ทำแผนฟื้นฟูให้สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ และรวมกลุ่มคนพิการ ผู้สูงอายุ ผู้ดูแล ให้เข้าถึงสิทธิ์พื้นฐาน
๘.ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออก ร่วมพัฒนาศักยภาพแกนนำกลุ่มอาชีพในชุมชน ได้แก่ ประมง หาบเร่แผงลอย มอเตอร์ไซด์รับจ้าง เข้าถึงข้อมูลอุตุฯนำมาใช้กับอาชีพเพื่อลดความสูญเสียรายได้
จากนั้นคณะทำงานได้นำเสนอแผนปฏิบัติงานเสริมสร้างองค์กรชุมชนเข้มแข็งเพื่อเปลี่ยนแปลงเมืองบ่อยางโดยนางบุณย์บังอร ชนะโชติ ผู้ประสานงานโครงการ โดยมีเป้าหมายอยู่ที่การให้มีองค์กรนิติบุคคลระดับเมืองเพื่อร่วมประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในด้านที่อยู่อาศัย การจัดการสิ่งแวดล้อม การสร้างรายได้และอาชีพ และมีกิจกรรมทำแผนระดับชุมชนใน ๔ ชุมชน ประกอบด้วยแหลมสนอ่อน สนามบิน บาลาเซาะห์เก้าแสน มิตรสัมพันธ์ ทั้งนี้คณะกรรมการให้ความเห็นชอบ
นอกจากนั้นยังมีการหารือการพัฒนากลไกการค้นหาและช่วยเหลือเด็กและเยาวชนที่ต้องการความช่วยเหลือด้านการศึกษา โดย นายนิพนธ์ รัตนาคม มูลนิธิอาสาสร้างสุข
สำหรับแนวทางการความร่วมมือในการทำงาน พื้นที่เมืองบ่อยาง
๑)กลไกกลาง ให้ใช้คณะกรรมการในรูปแบบไม่เป็นทางการ เน้นการสร้างความร่วมมือ ประสานการทำงานร่วมกัน มีการประชุมทุก ๓ เดือน
๒)รองนายกฯจะประสานแต่ละหน่วยงานภายในของเทศบาลนครสงขลาที่เกี่ยวข้องเข้ามาร่วมประชุมและประสานความร่วมมือ คู่ขนานกับให้แต่ละหน่วยงานจำแนกภารกิจงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานภายในเทศบาล พร้อมกับมีหนังสือประสานงานมาโดยตรง
๓)สร้างช่องทางสื่อสารกลางของเมืองบ่อยาง ปัจจุบันประกอบด้วย ไลน์กลุ่ม "เครือข่ายพัฒนาเมืองสงขลา" ให้ตัวแทนเขตจากชุมชนประสานแกนนำชุมชนอื่นๆเข้าร่วมให้มากที่สุด เพื่อเป็นช่องทางสื่อสารกลางระหว่างหน่วยงานความร่วมมือกับชุมชนเมื่อต้องการให้สมาชิกร่วมกิจกรรม
ขณะที่เทศบาลนครสงขลาก็มี line@ที่จะใช้ในการประสานขอความช่วยเหลือไปยังเทศบาลโดยตรง สมาชิกในชุมชนทุกคนสามารถใช้ช่องทางดังกล่าว และ กลุ่มmesenger ที่มีตัวแทนของหน่วยงานความร่วมมือหารือการทำงาน ต้องการตัวแทนจากเทศบาลนครสงขลาเข้าร่วม
๔)การปฎิบัติการร่วมกัน
(๑)เครือข่ายพัฒนาเมืองควรมีบทบาทผลักดันการแก้ปัญหาของคลองสำโรงที่ต้องการการประสานแนวปฎิบัติของแต่ละหน่วยงานอาทิ ที่ดิน โยธา เจ้าท่ากับจังหวัด
(๒)ชุมชนเป้าหมายที่มีแผนงานร่วมของแต่ละหน่วยงานมีการประสานแผนโดยเฉพาะ การทำแผนระดับชุมชน เน้นความร่วมมือเพื่อประโยชน์ชุมชนจะทำให้ข้ามพ้นกับดักทางการเมือง ดำเนินการโดยคนกลางอย่างสถาบันการศึกษาและภาคีความร่วมมือจะช่วยเติมเต็มการทำงานที่ต้องผ่านประธานชุมชน ซึ่งมีข้อจำกัดทางการเมืองและการมีส่วนร่วม)
(๓)สำรวจและเก็บข้อมูลกลุ่มเป้าหมายสำคัญ กลุ่มเปราะบาง เด็กนอกระบบ พ่อค้า แม่ค้า รับจ้างรายวัน รวมถึงด้านที่อยู่อาศัย
โดยสรุปเทศบาลนครสงขลามองเห็นโอกาสที่มีหน่วยงานที่มีความสนใจและเชี่ยวชาญเฉพาะด้านลงมาทำงานในพื้นที่ จะเป็นประโยชน์สำหรับประชาชนเป็นอย่างมาก
นัดหมายครั้งต่อไป เดือนพฤษภาคม มีการรายงานความก้าวหน้่าของแต่ละองค์กร พร้อมกับหยิบยกตัวอย่างชุมชนที่จะดำเนินการมาร่วมหารือเพื่อให้เห็นแนวทางประสานความร่วมมือระดับชุมชน
Relate topics
- จดหมายข่าวโครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง (SUCCESS) ฉบับที่ 1 - 10
- ก้าวที่ 1 ของ iMedCare ธุรกิจเพื่อสังคมของสงขลา"
- "แผนผังภูมินิเวศ"
- เครือข่าย SUCCESS เมืองควนลังร่วมงานส้มโอเมืองควนลังปี 2567
- "ทีม iMedCare วิถีผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน"
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 11 - 21
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 1 - 10
- "iMed@home ระบบกลุ่ม"
- สมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลาชูวาระ "พลิกโฉมพลังพลเมืองสงขลาเพื่อสังคมสุขภาวะที่ยั่งยืน"
- กิจกรรมรับบริจาคโลหิตประชารัฐสงขลาประจำเดือนตุลาคม 2567