เวทีการพูดคุยสร้างความเข้าใจในกระบวนการร่วมกันคิดร่วมกันทำเครือข่ายชุมชนร่วมพัฒนาเมืองสงขลา

by punyha @22 ม.ค. 66 15:41 ( IP : 171...243 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์ , 4PW , โครงการ SUCCESS
  • photo  , 960x720 pixel , 104,014 bytes.
  • photo  , 1706x960 pixel , 107,446 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 106,216 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 117,102 bytes.
  • photo  , 960x530 pixel , 87,031 bytes.
  • photo  , 1280x576 pixel , 166,189 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 131,319 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 80,227 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 129,716 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 102,436 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 88,773 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 109,107 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 124,189 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 109,298 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 123,595 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 145,793 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 126,644 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 115,177 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 145,050 bytes.
  • photo  , 960x1280 pixel , 219,003 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 124,535 bytes.
  • photo  , 960x1280 pixel , 237,552 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 139,907 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 119,310 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 109,094 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 120,873 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 107,862 bytes.
  • photo  , 1474x1110 pixel , 137,576 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 102,277 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 102,277 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 112,682 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 144,897 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 111,461 bytes.
  • photo  , 960x1280 pixel , 168,338 bytes.
  • photo  , 960x1280 pixel , 171,987 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 106,969 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 106,969 bytes.
  • photo  , 1108x1477 pixel , 204,117 bytes.
  • photo  , 1108x1477 pixel , 159,217 bytes.
  • photo  , 1108x1477 pixel , 159,217 bytes.
  • photo  , 960x1280 pixel , 157,990 bytes.
  • photo  , 1108x1477 pixel , 191,956 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 106,483 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 130,156 bytes.
  • photo  , 1108x1477 pixel , 195,201 bytes.
  • photo  , 1108x1477 pixel , 195,201 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 106,897 bytes.

เวทีการพูดคุยสร้างความเข้าใจในกระบวนการร่วมกันคิดร่วมกันทำเครือข่ายชุมชนร่วมพัฒนาเมืองสงขลา

บ่ายวันศุกร์ที่ 20 มกราคม 2566 ณ ที่ทำการกองทุนชุมชนริมคลองสำโรง

พอช.ภาคใต้ ร่วมกับคณะมนุษยศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา และคณะทำงานเครือข่ายพัฒนาเมืองสงขลา ได้เปิดเวทีการพูดคุยสร้างความเข้าใจในกระบวนการร่วมกันคิด ร่วมกันทำ และร่วมกันลุกขึ้นมาจัดการกับปัญหาของตนเองและชุมชน ด้วยตนเอง โดยหน่วยงานหรือองค์กร ทำหน้าที่เพียงแค่คอยเพิ่มเติมความรู้และพัฒนาศักยภาพที่มึอยุ่แล้ว ให้ดียิ่งขึ้นเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อปรับเปลี่ยนจากระบบสั่งการมาเป็นระบบร่วมกันคิด ร่วมกันทำรวมถึงช่วยกันค้นหาความต้องการของตนเอง จึงนับได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นทึ่อบอุ่นมากของชุมชนริมคลองสำโรงในวันนี้

อุปสรรคปัญหาที่พบคือ สถานที่ ประชุมมีพิ้นที่จำกัดสามารถรองรับสมาชิกชุมชนได้เพียงบางส่วน เท่านั้น ซี่งกลายเป็นประเด็นความขัดแย้งข้อหนึ่งของชุมชนโดยมึการเข้าใจผิดว่ามีการเลือกปฏิบัติเชิญชาวชุมชน เพียงบางส่วนเเท่านั้นทั้งที่ยังมีสมาชิกอีกจำนวนหนึ่งสนใจที่จะเข้าร่วมประชุมด้วยเช่นกัน

ความน่าสนใจของเวทีประชุมในวันนี้ พอจะสรุปได้ดังนี้ 1.ผู้เข้าร่วมประชุมเกือบทั้งหมดเป็นผู้สูงอายุที่มึอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไปและไม่มีงานทำ

2.มีที่อยู่อาศัยติดริมคลองสำโรง ซี่งเป็นผู้เดิอดร้อนโดยตรงทั้งด้านทึ่อยู่อาศัยและคุณภาพชีวิต

3.แกนนำรุ่นเก่าและแกนนำรุ่นใหม่ใช้เวทีการประชุมเชื่อมประสานการพูดคุยและ วางแผนการทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ ภายใต้ความต้องการ "เพื่อชีวิตที่ดีกว่า" โดยมีสมาชิกร่วมแสดงความคิดเห็นและกำหนดความต้องการของชุมชน ร่วมกัน คือ "ต้องการทำสัญญาเช่ากับภาครัฐที่เป็นเจ้าของที่ดินโดยตรง"

4.การมีนักศึกษาเข้ามาร่วมกิจกรรมในวันนีั ส่งผลให้บรรยากาศการพูดคุยเป็นไปในลักษณะดีแบบฉันท์พี่ฉันท๋น้อง เนื่องจากนักศึกษาไม่ได้เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับชุมชนแต่อย่างใด

5.พอช.ได้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่อยู่อาศัยกับสมาชิกชุมชน ในเวลาเดียวกันก็ได้รับรู้ปัญหาความเดือดร้อนในพื้นที่จริงซึ่งช่วยให้การวางแผนการทำงานร่วมกับชุมชนริมคลองสำโรงเป็นไปในทิศทางที่ชัดเจนขึ้นและตรงกับความต้องการของผู้เดือดร้อนอย่างแท้จริง

วันที่ 22 มกราคม 2566  เวลาประมาณ 09.00 น. ชุมชนบาลาเซาะห์เก้าแสน จะเปิดเวทีประชุมสร้างความเข้าใจและจัดทำแผนงานและจัดตั้งคณะทำงานชุมชน  ณ จุดนัดพบหน้าบาลาย

น้องๆจากคณะมนุษศาตร์สังคมศาสตร์ สาขาการพัฒนาชุมชน ปี1 กำลังลงสำรวจข้อมูลพื้นที่จริง


เมื่อวันที่ 22 มกราคมที่ผ่านมา ภาคเช้ามีการนัดพบกันที่ ชุมชนบาลาเซาะห์เก้าแสน  และภาคบ่ายนัดพบกันที่ชุมชนสนามบิน สิ่งที่ได้และค้นพบ คือ

1.ชุมชนบาลาเซาะห์เก้าแสน มีจำนวน 184 หลังคาเรือน โดยแบ่งออกเป็นบ้านที่ตั้งอยู่ในที่ดินของกรมเจ้าท่า ริมคลองสำโรง จำนวน 29 หลังและตั้งอยู่ในที่ราชพัสดุ กรมธนารักษ์ จำนวน 155 หลัง ชุมชนนี้ยังไม่มีเอกสารการทำสัญญาเช่า และจากการร่วมกันเดินเท้าสำรวจอย่างละเอียดล่าสุดคือเมื่อวานนี้ (22 มกราคม) พบว่า ครัวเรือนที่อาศัยอยู่ในที่ดินริมคลองสำโรงประมาณ 20 หลังต้องการที่จะย้ายออกไปตั้งถิ่นฐานใหม่ในที่อื่นหากหน่วยงานรัฐช่วยเหลือจัดหาพื้นที่ใหม่และมีงบสนับสนุนหรือสินเชื่อเพื่อบ้านหลังใหม่ให้

ส่วนชุมชนสนามบิน จากการสำรวจข้อมูลอย่างละเอียด พบว่า มีจำนวน 124 หลังคาเรือน ทั้งหมดตั้งอยู่ในที่ราชพัสดุ กรมธนารักษ์และมีสัญญาเช่าที่ถูกต้องตามกฎหมาย แต่มีจำนวน 48 หลังที่จะต้องปรับสภาพบ้านและพื้นที่บริเวณรอบๆ

2.ทั้งสองชุมชน ไม่มีพื้นที่ส่วนกลางสำหรับทำกิจกรรมร่วมกันของชุมชน

3.ผู้ร่วมกิจกรรมประมาณ 80 % เป็นผู้หญิงและเป็นผู้สูงอายุ

4.คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ สงขลา ได้เสริมหนุนความสดใหม่ให้เกิดพลังใจแก่ชาวชุมชนเมืองบ่อยางโดยการจัดส่งนักศึกษาเข้ามาทำงานในพื้นที่ชุมชนสำหรับชุมชนบาลาเซาะห์เก้าแสนและชุมชนสนามบินมีจำนวนนักศึกษาเข้ามาทำงานร่วมกับชุมชนๆละ  9 คน โดยพี่ปุ้ม ปิยนันต์กับพี่บิ๋ม นันท์ชพร ทีมทำงานข้อมูลระดับเมืองของเมืองบ่อยาง เป็นแกนหลักในการจัดแบ่งหน้าที่การทำงานของนักศึกษา

5.การเปิดเวทีนัดพบกัน สมาชิกชุมชนได้สะท้อนความรู้สึกว่า เป็นครั้งแรกที่มีการนัดประชุมพูดคุยและบอกเล่าว่าสมาชิกชุมชนต้องร่วมกันคิดและจะต้องร่วมทำกันในเรื่องอะไรบ้าง จากเดิมที่สมาชิกชุมชนเข้าใจว่าการแก้ไขปัญหาของชุมชนเป็นหน้าที่ของหน่วยงานรัฐและประธานพร้อมกรรมการชุมชนเท่านั้น ส่วนปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย นั้น ชุมชนไม่กล้าคิดเพราะรู้ตัวเองดีว่า ไม่มีเงินไม่ว่าจะเป็นค่าซ่อมแซมหรือปลูกสร้างใหม่ สิ่งที่ค้นพบจากการแบ่งหน้าที่ทำงานตามกระบวนการของ พอช.ทำให้มองเห็นชัดเจนขึ้นว่า ทุกคนสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมได้ตามกำลังและความรู้ความสามารถที่ตัวเองมีอยู่  รู้สึกรักชุมชนของตนเองมากขึ้น

6.อาจารย์จามีกร และอาจารย์สุรวัช จากคณะสถาปัตย์ฯ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัยได้เสริมสร้างกำลังใจและเพิ่มเติมความรู้ให้แก่สมาชิกชุมชนโดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยซึ่งต้องอาศัยระยะเวลาและความร่วมมือกันของสมาชิกชุมชน ในขณะเดียวกันคุณไพรัช วีระการ ตัวแทนสมาคมผู้สูงอายุฯได้บอกเล่าเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุที่จะมาทำงานร่วมกันกับสมาชิกชุมชนในโอกาสต่อไป

7.ตัวแทนของ พอช.และแกนนำเครือข่ายพัฒนาเมืองสงขลา ได้ชี้แจงกระบวนการเพื่อการเตรียมตัว เตรียมชุมชนเพื่อการเข้าถึงงบประมาณของ พอช.และหน่วยงานต่างๆตามเงื่อนไขที่แตกต่างกันไปตามลักษณะของแต่ละ องค์กร แต่เน้นย้ำว่า สิ่งที่สำคัญที่สุดของการอยู่ดีและมีสุขของชุมชนนั้นคือ พลังจากภายในชุมชนเอง

#พลังคนเมืองบ่อยาง สงขลา


บุณย์บังอร ชนะโชติ และเครือข่ายร่วมบันทึกเรื่องราว

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน