"iMedCare ระบบการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน"
"iMedCare ระบบการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน"
นำเสนอโดย ผศ.ดร.แสงอรุณ อิสระมาลัย ในงานวันพลเมืองสงขลา ๒๕๖๕ วันที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๖๕ ที่ผ่านมา
๑)ในฐานะสถาบันการศึกษาและนักวิจัย ซึ่งงานเริ่มตั้งแต่ปี ๒๕๕๕ โดยเป็นอาจารย์สอนพยาบาลชุมชนแล้วไปเยี่ยมบ้านคนไข้ที่บ้าน บ่อยครั้งพบปัญหาคือนักศึกษาจะเรียนเฉพาะเรื่องบัญญัติ ๑๐ ประการ แต่ในขณะเดียวกันความซับซ้อนและความเจ็บป่วยของผู้ป่วยมีมากกว่านั้น เช่น การกินอาหารหลัก ๕ หมู่ กินอาหารให้เพียงพอ แต่ผู้ป่วยติดเตียงมีข้อจำกัดคือกินอาหารไม่ได้ ต้องให้อาหารทางสายยาง ซึ่งต้องใช้ทักษะมากกว่านี้ จึงเป็นโจทย์วิจัยให้กับนักศึกษาปริญญาโทว่าในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงต้องดูแลเรื่องอะไรบ้าง ได้มีการทำการสำรวจ และทำการพัฒนาสำรวจโดยใช้พื้นที่หาดใหญ่เป็นพื้นที่หลัก ได้มีการสำรวจข้อมูลผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงประมาณ ๓,๐๐๐ กว่าคน และสำรวจและศึกษาความต้องการ จัดทำระบบการเยี่ยมบ้านที่มีการดูแลต่อเนื่อง โดยจัดทำระบบ GIS และระบบการดูแลต่อเนื่อง
๒)ได้ขอทุน สกว.และร่วมกับมูลนิธิชุมชนสงขลาโดยมีโปรแกรมเมอร์ของมูลนิธิชุมชนสงขลามาช่วยพัฒนาระบบ โดยให้ประชาชนเป็นเจ้าของข้อมูล เงื่อนไข สกว. ให้สนับสนุน งบ ๒.๒ ล้านแต่ต้องหางบสมทบบางส่วนด้วย โดยร่วมกับเทศบาลของบกองทุนเทศบาล คุยกับสกว.ได้งบ ๑.๗ ล้านและจัดทำระบบต่อ เพื่อให้รู้ว่าผู้ป่วยอยู่ที่ไหน ซึ่งได้ทำระบบการดูแลผู้ป่วยที่บ้านที่ได้รับการดูแลต่อเนื่อง ซึ่ง อสม.ได้มีการติดตามดูแลผู้ป่วยอย่งต่อเนื่อง และได้มีการฝึกอบรม อสม.แปลงแนวปฏิบัติมาจัดทำหลักสูตร และอบรม รวมทั้งวางแผนในการดูแลต่อเนื่อง และได้ใช้ระบบ iMed@home ในการเรียนการสอนให้กับนักศึกษาปริญญาโทเพื่อเป็นการบันทึกข้อมูล ซึ่งพบว่าผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้านมีไม่เพียงพอ และได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการจ้างงานในช่วงสถานการณ์โควิด โดยใช้ ระบบ iMed@home เพื่อติดตามนักศึกษา และอบรมให้กับคนที่ตกงานในช่วงโควิด และได้รับงบในการสนับสนุนในการดูทำระบบการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน
๓) มีการพัฒนาระบบแอพพลิเคชั่น ImedCare เป็นแพลทฟอร์มที่รวมการพัฒนาคนโดยใช้หลักสูตร E-learning และมีการทดสอบมาตรฐาน ปัญหาที่พบคือ การอบรมยังไม่สามารถทำทักษะได้ โดยเฉพาะทักษะยากๆ เช่น ให้อาหารทางสายยาง ดูดเสมหะ ดูแลแผล เคาะปอด คณะพยาบาลจึงเปิดหลักสูตรการอบรม ๑๒๐ ชั่วโมงเป็นการอบรมเพื่อสอบมาตรฐาน ต่างจากหลักสูตรของหน่วยงานเดิม ไม่ได้สอนความรู้ทั่วไป แต่สอนสิ่งที่นำไปสู่การพัฒนาทักษะเพื่อป้องกันดูแลผู้ป่วยไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน นำเป้าหมายเป็นตัวกำหนดหลักสูตร สอนภาคทฤษฎี ๔๐ ชั่วโมง มี E-learning และได้มีการสอนถึงบ้าน รวมทั้งมีการสอบมาตรฐานและเรียนในห้องแลป ๔๐ ชั่วโมงและภาคสนาม ๔๐ ชั่วโมง ซึ่งจะได้มีผู้เชี่ยวชาญในการฝึกทักษะมากกว่าปล่อยให้อยู่ในโรงพยาบาลชุมชน ได้หลักสูตรและแอพพลิเคชั่นสำหรับบริการ
๔) ในส่วนของแอพพลิเคชั่นมีมูลนิธิชุมชนดูแลและพัฒนาและในเรื่องหลักสูตรคณะพยาบาลเป็นผู้ดูแล และได้รับงบประมาณเพื่อเสริมทักษะให้กับคนว่างงานอีก ๑๐๐ คน ซึ่งตอนนี้มีผู้เชี่ยวชาญในการดูแล ๒๐๐ คน และนำระบบบูรณาการในการดูแลระยะยาวในการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน โดยใช้ระบบ Imed@home เป็นระบบในการเก็บข้อมูลการฝึกปฎิบัติ และสำรวจความต้องการ ในกลุ่มที่มีกำลังซื้อก็สามารถใช้บริการ Imedcare เป็นแอพพลิเคชั่นในการใช้บริการได้ และได้ร่วมกับ U๒T เพื่อการดูแลผู้ป่วยที่บ้านในชุมชนในพื้นที่ ๘ ตำบล เป็นระบบการดูแลผู้ป่วยที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่
#เศรษฐกิจสร้างสรรค์ #สังคมเป็นสุข
ชาคริต โภชะเรือง เขียน
เผยแพร่ 14 พฤศจิกายน 2565
Relate topics
- จดหมายข่าวโครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง (SUCCESS) ฉบับที่ 1 - 10
- ก้าวที่ 1 ของ iMedCare ธุรกิจเพื่อสังคมของสงขลา"
- "แผนผังภูมินิเวศ"
- เครือข่าย SUCCESS เมืองควนลังร่วมงานส้มโอเมืองควนลังปี 2567
- "ทีม iMedCare วิถีผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน"
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 11 - 21
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 1 - 10
- "iMed@home ระบบกลุ่ม"
- สมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลาชูวาระ "พลิกโฉมพลังพลเมืองสงขลาเพื่อสังคมสุขภาวะที่ยั่งยืน"
- กิจกรรมรับบริจาคโลหิตประชารัฐสงขลาประจำเดือนตุลาคม 2567