"บ้านหลบมุมชุมชนแบบใหม่"

by punyha @9 พ.ย. 65 11:14 ( IP : 171...33 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์ , โครงการ SUCCESS , 4PW
photo  , 960x720 pixel , 84,039 bytes.

"บ้านหลบมุมชุมชนแบบใหม่"

นำเสนอโดย นายพัชฐ์สิชณ ศรประสิทธิ์ กำนันตำบลพะตง ในงานวันพลเมืองสงขลา ๒๕๖๕ วันที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๖๕ ที่ผ่านมา


๑) ตำบลพะตงประกอบด้วย ๘ หมู่บ้านมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ๒ ส่วนคือเทศบาลตำบลพะตงและองค์การบริหารส่วนตำบลพะตง มีสถานสาธารณสุข ๓ แห่งคือ มีศูนย์แผนชุมชนเทศบาลตำบลพะตง มีสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ ๖๐ พรรษา มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล มีภาคอุตสาหกรรม ๑๗ แห่ง มีแหล่งเรียนรู้การศึกษาตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึงชั้นมัธยมรวม ๗ แห่ง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ๓ แห่ง ประชากรทั้งตำบล ๑๓,๐๐๐ กว่าคน ไม่นับประชากรแฝง ประชากรแฝงประมาณ ๒๐,๐๐๐ คน มีพื้นที่ ๑๑๖ ตารางกิโลเมตร


๒) เทศบาลตำบลพะตงมีทั้งหมด ๙ หมู่บ้าน/ชุมชน บ้านหลบมุมมีที่มาของสวนอาหารเมื่อก่อนมีสวนอาหารชื่อหลบมุม เมื่อมีการขยายตัวของเมืองจึงได้มีการตั้งเป็นชื่อชุมชนหลบมุม มีประชากรคาบเกี่ยว ๒ หมู่บ้านคือหมู่ที่ ๒ และหมู่ที่ ๘ ในเขตเทศบาลตำบลพะตง จากการขยายตัวของเมือง คนในพื้นที่มีทั้งคนที่เป็นรากเหง้าดั้งเดิมและคนที่ย้ายมาประกอบอาชีพตั้งแต่วัยรุ่นจนมีลูกมีหลาน ในหลายปีที่ผ่านมามีแรงงานต่างชาติเข้ามาอาศัยเพื่อประกอบอาชีพทำให้เกิดการขยายจำนวนประชากรมากขึ้น มีการจับจองบุกเบิกพื้นที่รถไฟส่วนหนึ่ง เนื่องจากชุมชนหลบมุมเมื่อก่อนจะมีสถานีรถไฟมีพื้นที่สองข้างทางประชาชนเข้ามาบุกเบิกเกิดบ้านเช่ามากมาย ประชาชนบ้านหลบมุมมี ๑,๓๐๐ ครัวเรือน ประชากรตามทะเบียนราษฏร์ ๑,๕๐๐ คน ล่าสุดมีข้อมูลที่ชัดเจนและมีประชากรจริงปรากฏว่าได้มีการทำระบบของกระทรวงมหาดไทย ปรากฏว่ามีบ้านว่างเป็น ๑๐๐ หลัง ซึ่งเป็นบ้านว่างที่ไม่มีชื่อคนอยู่ในทะเบียนราษฏร์มีทั้งแรงงานต่างถิ่นและแรงงานต่างชาติเข้ามาอยู่จำนวนมาก ซึ่งเป็นความหลากหลายของพื้นที่ชุมชนหลบมุมในปัจจุบัน


๓) เทศบาลร่วมกับฝ่ายปกครองและภาคีเครือข่าย ซึ่งการทำงานกับคนที่มีความหลากหลายที่จะให้เกิดกฏระเบียบเพื่อจัดการชุมชนต้องใช้หลายวิธี หลายกลยุทธ์ ภายใต้โครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง ในการศึกษาความเปราะบางของเมืองต่อการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยเป็นโอกาสในการศึกษาและนำความรู้ไปใช้ในการพัฒนาเมือง โดยได้มีการจัดคณะทำงานในพื้นที่ และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมาร่วมรับรู้ และได้มีมติร่วมกันในการคัดเลือกชุมชนหลบมุมเป็นชุมชนกรณีศึกษา และได้แต่งตั้งคณะกรรมการมาช่วยในการทำงาน มีโรงเรียน สถานีอนามัย บริษัทและชุมชนมาร่วม


๔) ได้มีการจัดเก็บข้อมูลในกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง แม่เลี้ยงเดี่ยว กลุ่มเยาวชนและพ่อค้าแม่ค้าที่ประกอบอาชีพในชุมชนหลบมุม และให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับทราบโครงการและมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นต่อปัญหา ล่าสุดคณะกรรมการชุมชน ได้ลงพื้นที่สำรวจข้อมูล จัดทำแผนที่ชุมชน จัดตั้งกลุ่ม line กลาง และประสานสมาชิกมาร่วมจัดทำแผนชุมชน มีชาวบ้านมาร่วมประมาณ ๑๐๐ กว่าคนทุกกลุ่มทุกความหลากหลายในพื้นที่ได้พูดคุยสะท้อนปัญหา มีแรงงานต่างด้าวเข้ามามีส่วนร่วมด้วย โดยมีแนวคิดพะตงบ้านฉันร่วมคิดร่วมพัฒนามวลประชาเป็นหนึ่งเดียว หมายความว่าทุกคนไม่ว่าจะเป็นคนดั้งเดิมหรือคนต่างด้าวหรือต่างถิ่น มีส่วนร่วมในการกำหนดการพัฒนาเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต คือทุกคนมีส่วนร่วมในการจัดการตัวเอง

#สังคมเป็นสุข

เขียนโดย ชาคริต โภชะเรือง

เผยแพร่  3 พฤศจิกายน 2565

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน