"เมืองรู้ร้อนรู้หนาว เตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง"

by punyha @10 ต.ค. 65 09:52 ( IP : 1...86 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์ , โครงการ SUCCESS
  • photo  , 1477x1108 pixel , 169,343 bytes.
  • photo  , 870x1883 pixel , 168,969 bytes.
  • photo  , 870x1883 pixel , 195,953 bytes.
  • photo  , 870x1883 pixel , 134,553 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 102,789 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 104,006 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 101,474 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 185,995 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 173,416 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 170,208 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 103,708 bytes.
  • photo  , 1706x960 pixel , 185,854 bytes.
  • photo  , 1706x960 pixel , 129,006 bytes.
  • photo  , 1704x961 pixel , 179,199 bytes.
  • photo  , 960x541 pixel , 75,545 bytes.
  • photo  , 1108x1477 pixel , 169,692 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 155,395 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 80,029 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 184,083 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 112,526 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 93,745 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 189,057 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 97,252 bytes.
  • photo  , 1080x810 pixel , 83,304 bytes.
  • photo  , 1080x810 pixel , 102,519 bytes.
  • photo  , 1080x810 pixel , 76,429 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 159,778 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 181,563 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 105,660 bytes.
  • photo  , 960x444 pixel , 72,876 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 183,519 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 100,797 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 168,856 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 196,419 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 106,223 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 186,416 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 168,895 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 140,381 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 101,534 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 96,582 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 98,826 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 202,898 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 178,827 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 105,486 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 195,028 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 147,558 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 175,168 bytes.
  • photo  , 1080x810 pixel , 87,406 bytes.
  • photo  , 1080x810 pixel , 82,963 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 164,005 bytes.

"เมืองรู้ร้อนรู้หนาว เตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง"  ประชุมใหญ่ประจำปี 2565 ภายใต้โครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อการเปลี่ยนแปลงเมือง (โครงการ SUCCESS)

วันที่ 3-7 ตุลาคม 2565 ณ จังหวัดสงขลา


วันที่ 3 ตุลาคม 2565  เครือข่าย 12 เมืองนำเสนอและร่วมแลกเปลี่ยนผลการประเมินความเปราะบางของเมือง


"โลกกำลังรวน"

วันที่ 4 ตุลาคม 2565 การประชุมใหญ่เครือข่ายเมือง SUCCESS ภาคอีสานและภาคใต้ ภายใต้การสนับสนุนจากสหภาพยุโรป

ประเด็นสำคัญอยู่ที่การนำเสนอ “นโยบายและแผนด้านการพัฒนาเมืองและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย....ความก้าวหน้าและทิศทาง?” โดย ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย กล่าวถึงการพัฒนาตามแนวทาง SDG ของประเทศไทยว่าอยู่อันดับ 44 จาก 163 ประเทศ โดยความเสี่ยงที่ร้ายแรงที่สุดในโลกในอีก 10 ปี ข้างหน้า3 อันดับแรกคือ ความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม ที่น่าสนใจคือ ดัชนีความเสี่ยงด้านภูมิอากาศของไทยอันดับที่ 9 ของโลก หากไม่ทำอะไรโลกเราอยู่ในเส้นทางมุ่งสู่โลกร้อนที่อุณหภูมิของโลกสูงถึง 2.7 องศา C ซึ่งจะเกิดผลกระทบตามมามหาศาล พร้อมชี้แนวทางขับเคลื่อนการดำเนินงาน 6 ด้านด้วยกัน คือ

1.ด้านนโยบาย 2.ด้านเทคโนโลย 3.ด้านการเงินและการลงทุน 4.ด้านกลไกตลาดคาร์บอนเครดิต 5.ด้านการเพิ่มแหล่งกักเก็บ/ดูดกลับก๊าซเรือนกระจก 6.ด้านกฎหมาย

การนำเสนอ “ทำไมเมือง และอปท. ต้องปรับตัว เตรียมพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภููมิอากาศ” โดย ดร.จำเนียร วรรัตชัยพันธ์

เวทีเสวนา“นโยบายพัฒนาเมืองและและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่่สำคัญระดับพื้้นที่สู่ระดับชาติ” โดย ผู้แทนสำนักโยธาธิการและผังเมืืองสงขลา นายกเทศบาลตำบลปริก คุณสาคร สงมา Climate Watch Thailand ดร.สมพร สิริโปราณานนท์ ภาคธุุรกิจ ศาสตราจารย์สุริชัย หวันแก้ว ภาควิชาการ ชี้ประเด็นการสร้างเมืองที่สามารถรับรู้ ปรับตัวการเปลี่ยนแปลง โดยผู้จัดการเมือง นำไปสู่การลดความเหลื่อมล้ำ พัฒนาสมดุลระหว่างเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ที่สำคัญคือการกระจายอำนาจ และความรับผิดชอบของผู้สร้างมลภาวะหรือทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

และ“บทบาทของ EU ต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการพัฒนาเมือง และ European Green Deal สำคัญกับไทยอย่างไร”โดย คุุณสาโรช ศรีใส คณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย เน้นความสำคัญของโครงการที่ส่งเสริมบทบาทชุมชนให้มีส่วนร่วม มีการสร้างรูปธรรมจากระดับฐานล่างไปสู่การกำหนดนโยบาย


วันที่ 5 ตุลาคม 2565 การประชุมใหญ่โครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง (SUCCESS)  ทบทวนตัวชี้วัด ผลผลิตของโครงการโดยดร.ผกามาศ ถิ่นพังงา ผู้จัดการโครงการ และสรุปภาพรวมความก้าวหน้าการดําเนินโครงการในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ/ภาคใต้ ตลอดจนแผนยุทธศาสตร์และโครงการนําร่อง

ในส่วนภาคใต้ มียุทธศาสตร์ร่วมที่สำคัญ

1)การพัฒนากลไกบูรณาการการแก้ไขปัญหาร่วมกันทุกภาคส่วน ระดับชุมชนและเมือง

2)การบริหารจัดการน้ำ การรับมือน้ำท่วม น้ำแล้ง การออกข้อบัญญัติการใช้ประโยชน์ที่ดิน ฟื้นฟูแหล่งน้ำ การจัดการน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค การเกษตร และการสร้างความมั่นคงทางอาหาร/ธรรมนูญลุ่มน้ำ สายน้ำ ครอบครัว

3)การเสริมสร้างพลังทางสังคม ถ่ายทอดความรู้ การปรับพฤติกรรม 3R

4)การพัฒนาสิ่งแวดล้อม พัฒนากลไกลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก บังคับใช้กฎหมายควบคุมมลพิษ เฝ้าระวังคุณภาพอากาศ เมืองสิ่งแวดล้อมยั่งยืน/เพิ่มพื้นที่สีเขียว สร้างเครือข่ายชุมชน/คาร์บอนต่ำ

5)การพัฒนาคุณภาพชีวิต การเข้าถึงสิทธิ อาชีพ สวัสดิการ อาสาสมัคร ระบบสุขภาพ

6)การสร้างความเข้มแข็งขององค์กร ยกเป็นนิติบุคคล มีการจัดหารรายได้ผ่านธุรกิจเพื่อชุมชน/สังคม การพัฒนาศักยภาพ/ความรู้

ภาคบ่ายลงพื้นที่เมืองบ่อยาง ร่วมชมพื้นที่เมือง จุดดำเนินงานโครงการ จุดท่องเที่ยวและสถานที่สำคัญ โดยรถรางจากเทศบาลนครสงขลา


วันที่ 6 ตุลาคม 2565 การประชุมใหญ่โครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง (SUCCESS)

ภาคเช้านำเสนอกรณีศึกษา "ปิ่นโตตุ้มตุ้ย" เมืองบ่อยาง ต่อด้วยกรณีศึกษาจากต่างชาติ

กรณีศึกษาที่ 1 จากต่างประเทศ โดยProf Dr Darryn McEvoy – RMIT University(ออสเตรเลีย)

กรณีศึกษาที่ 2 จากต่างประเทศ โดย Prof Dr David Sanderson – UNSW (ออสเตรเลีย)

กรณีศึกษาที่ 3 จากต่างประเทศ โดย Dr Han Aarts – Director of the Maastricht University centre for international cooperation in academic development (‘Mundo’) (เนเธอร์แลนด)

กรณีศึกษาที่ 4 จากต่างประเทศ โดย Prof Dr Pim Martens-Maastricht University (เนเธอร์แลนด์)

และกรณีศึกษาที่ 5 จากต่างประเทศ โดย Dr David Tabara – Autonomous University of Barcelona (UAB)

โดยมูลนิธิชุมชนสงขลาได้เสริมการนำเสนอ การรับมืออุทกภัยของเมืองหาดใหญ่ การใช้แอพพลิเคชั่น iMed@home และ Greensmile

และปิดท้ายด้วยมื้อค่ำ กลางสายฝน ณ ร้านฮาเบอร์@หับโห้หิ้น แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างอิสานและภาคใต้


วันที่ 7 ตุลาคม 2565 การประชุมใหญ่โครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง (SUCCESS)

ภาคเช้าสร้างความร่วมมือทางวิชาการกับตัวแทนภาควิชาการที่มาร่วมประชุม

โดยมีข้อเสนอแนะงานวิจัยและงานวิชาการจากสองภูมิภาคดังนี้

-ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ ประเมินโครงการในการแก้ปัญหาของหน่วยงานภาครัฐ/เอกชน/ประชาสังคม เน้นแก้ปัญหาตามสภาพปัญหาที่เคยเกิด ซึ่งสภาพปัจจุบันภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง ไม่แน่นอน ทำให้เกิดการสูญเสียงบประมาณ, การประเมินความคุ้มค่าการนำข้อมูลทางอุตุนิยมวิทยามาใช้กับกลุ่มอาชีพ/ประชาชน

-มาตรการสิ่งก่อสร้าง อาทิ โครงการคลองขุดเพื่อระบายน้ำ ส่งผลต่อระบบนิเวศอย่างไร และมีรูปแบบการแก้ไขอย่างไร

-ปัญหาเมืองชายแดน มีภาระงบประมาณจากกิจกรรมของราชการส่วนกลางที่อยู่ในพื้นที่

ด้านสิ่งแวดล้อม : เมืองที่สามารถรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

-รูปแบบการเพิ่มปริมาณน้ำผิวดินเพื่อการเกษตร

-รูปแบบการใช้ระบบนิเวศหรือการเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ มารับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ(ฟื้นฟู อนุรักษ์ พัฒนา)

-รูปแบบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในพื้นที่เมือง

-การวัดค่าฝุ่น PM.2.5 ในพื้นที่หน้าด่านปาดังเบซาร์

-รูปแบบการเฝ้าระวังและเตือนภัยน้ำท่วมฉับพลันในเขตเมือง

-การรองรับความเติบโตจากการท่องเที่ยวของเมืองรองที่มีต่อระบบนิเวศ

-การใช้คาร์บอนเครดิต/ชุมชนคาร์บอนต่ำ /“แพลตฟอร์มการซื้อขายพลังงานสะอาดและคาร์บอนเครดิต”

ด้านสังคม

-การแก้ปัญหาการเข้าถึงสิทธิพื้นฐานกรณีคนจนเมือง/แรงงานนอกระบบ

-สิทธิเข้าใช้ประโยชน์ที่ดินสาธารณะของประชาชน

-การบริหารจัดการชุมชนรูปแบบใหม่ที่เอื้อต่อการรับมือและปรับตัวในสังคมที่เปลี่ยนแปลง

-การเพิ่มทุนสำคัญที่ชุมชนใช้ในการรับมือและปรับตัวเมื่อเผชิญสถานการณ์เสี่ยง

ด้านสุขภาพ

-ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทีมีต่อสุขภาพ

ด้านอื่นๆ

-ถอดบทเรียนการดำเนินงานกิจกรรมโครงการ success(การรับฟังเสียงจากประชาชน/การมีส่วนร่วมในการพัฒนา/การพัฒนากลไกการดำเนินงาน/การวิจัยโดยชุมชน/การแก้ปัญหาแบบ win-win,ลูกผสม ฯลฯ)

-รูปแบบธุรกิจเพื่อชุมชนหรือเพื่อสังคมสำหรับกลุ่มเปราะบางทางสังคม platform การจ้างงานบริการในเขตเมือง/การบริหารจัดการการเงินสำหรับประชาชน(ธนาคารประชาชน)

-แนวทางการกระจายอำนาจไปสู่ชุมชน

หมายเหตุ

โครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง (SUCCESS) สนับสนุนโดยสหภาพยุโรป อยู่ระหว่างการดําเนินโครงการปีที่ 3 โดยภายใต้โครงการ มีคณะทํางานโครงการ ประกอบด้วย สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (TEI) มูลนิธิชุมชนสงขลา (SCF) ศูนย์ประชาสังคมและการจัดการองค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์มหาวิทยาลัยขอนแก่น (CSNM) และ Maastricht University (UM) คณะกรรมการที่ปรึกษาระดับชาติผู้เชี่ยวชาญระดับนานาชาติ

นอกจากนี้ยังมีเครือข่ายภาคประชาสังคมในพื้นที่ ได้แก่ ทีมประเมินความเปราะบางต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จํานวน 12 ทีม ได้แก่

ภาคใต้ 6 ทีม (ทีมพะตง ทีมปาดังเบซาร์ทีมควนลัง และทีมบ่อยาง จังหวัดสงขลา, ทีมโตนดด้วน จังหวัดพัทลุง และ ทีมละงูจังหวัดสตูล)

และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 6 ทีม (ทีมขอนแก่น ทีมบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น, ทีมสระใคร ทีมหนองคาย จังหวัดหนองคาย, ทีมหนองสําโรง ทีมสามพร้าวจังหวัดอุดรธานี)

และยังมีภาคีเครือข่ายทั้งหน่วยงานภาครัฐ และเครือข่ายภาควิชาการในการร่วมดําเนินกิจกรรม

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน