"หลบมุม:บ้านฉัน"
"หลบมุม:บ้านฉัน"
วันที่ 6 กันยายน 2565 เวลา 17.00-20.00 น.ชุมชนบ้านหลบมุม ตำบลพะตง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
นัดสมาชิกในชุมชนที่มีทั้งคนดั้งเดิม ประชากรแฝง คนต่างถิ่น ต่างชาติมาร่วมทำแผนชุมชน ณ ศาลาเอนกประสงค์ที่ทำการชุมชน โดยมีประธานชุมชน กำนัน ประธานสภา สท. ผอ.กองสวัสดิ์ ผอ.สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ ผอ.โรงเรียน เข้าร่วม โดยการสนับสนุนจากมูลนิธิชุมชนสงขลาภายใต้โครงการบูรณาการสร้างสุขภาพอนามัยภาคประชาชนจังหวัดสงขลา ปี 2565 และเป็นส่วนหนึ่งของโครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง(SUCCESS)
ชุมชนแห่งนี้พัฒนาการมากับการมีโรงงาน คนต่างชาติ ต่างถิ่นจึงเข้ามาอาศัยทำงานในโรงงานใหญ่ทั้งเข้ามาบุกเบิกที่ดินรถไฟ บ้านเช่า รับช่วงงานต่อจากโรงงาน ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงเชิงกายภาพ มีการถมที่ การพัฒนาขวางทางน้ำ การเป็นพื้นที่ต่ำ การตกของฝนในปริมาณไม่มากก็ทำให้เกิดน้ำท่วมรอระบาย ประชากรตามทะเบียนและประชากรแฝงที่มีกว่าเท่าตัวจำเป็นที่จะต้องปรับวิถีการอยู่ร่วมกัน จึงเป็นที่มาของการปรับเปลี่ยนแนวทางการพัฒนาชุมชนใหม่
ประธานชุมชนและคณะกรรมการรักษาการ ได้ลงสำรวจด้วยแผนที่ชุมชน เพื่อดูจำนวนครัวเรือน บ้านเช่า การเปลี่ยนแปลงเชิงกายภาพ และสร้างช่องทางสื่อสารกับสมาชิกด้วยการเปิดไลน์กลางของชุมชน ดึงสมาชิกแต่ละครัวเรือนเข้ามาสื่อสาร
จากการระดมความเห็นในการจัดประชาคมครั้งนี้ พบปัญหาสำคัญ ได้แก่ ด้านการรับมือน้ำท่วมที่เริ่มเกิดซ้ำซากจากการเป็นที่ต่ำและการถมที่รอบด้าน ด้านการจัดการขยะที่มีสุนัขคุ้ยเขี่ย มีการทิ้งไม่เป็นที่ ด้านการแก้ปัญหาน้ำไฟและการเช่าที่ในส่วนของผู้บุกเบิกที่่ดินรถไฟ ด้านสุขภาพทั้งจากฝุ่นละอองจากโรงงาน โรคเรื้อรัง และการดูแลผู้สูงอายุ/เด็กและเยาวชน ด้านอาชีพและรายได้ ด้านยาเสพติด และการมีส่วนร่วมในการบริหารชุมชน
สรุปความเห็นจากการประชุม เห็นด้วยที่จะมีความร่วมมือในชุมชน โดยอยู่บนพื้นฐานสมาชิกที่อยู่ในบ้านหลบมุมไม่ว่าจะเป็นต่างถิ่น ต่างชาติ หรือคนในพื้นที่ ล้วนแต่เป็นส่วนหนึ่งของชุมชน
1)การพัฒนาจะให้มีตัวแทนของกลุ่มต่างๆเข้ามาร่วมตัดสินใจ มาเป็นส่วนหนึ่งของกรรมการชุมชนในการทำแผนหรือกติกาในการอยู่ร่วมกัน มีทั้งการประชุมร่วมกันอย่างสม่ำเสมอ มีช่องทางสื่อสารทั้งกลุ่มไลน์และช่องทางอื่นๆที่เหมาะสม
โดยทำงานร่วมกับคณะกรรมการระดับตำบลที่มีทั้งภาครัฐส่วนภูมิภาค ท้องถิ่น ท้องที่ สถานประกอบการ สถานีอนามัย และชุมชน
2)ปัญหาเร่งด่วนคือ การรับมือน้ำท่วม นอกจากแก้ปัญหาการระบายน้ำแล้ว ควรจัดการขยะหรือการอุดตันของการระบายน้ำ ชุมชนจะให้มีการนัดทำความสะอาด/เก็บขยะร่วมกันโดยมีรร.โสสะมาเป็นแกน นอกจากนั้นควรออกมาตรการการจัดการขยะที่กำลังเป็นปัญหาการเก็บทิ้ง ควรเพิ่มอสม.เพื่อให้สามารถดูแลให้ครอบคลุมจำนวนประชากรที่มี เป็นต้น
3)วางรากฐานการพัฒนาระยะยาว บนฐานการมีส่วนร่วมและสอดคล้องกับวิถีการทำงานการใช้ชีวิต เริ่มด้วยกิจกรรมความสัมพันธ์ของสมาชิกทั้งใหม่และเก่า มีการพบปะ มีกิจกรรมร่วมกันสม่ำเสมอ โดยประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมถึงโรงงาน เจ้าของบ้านเช่า หมู่บ้านจัดสรร มาร่วมคู่ขนานกับการแก้ปัญหา
Relate topics
- จดหมายข่าวโครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง (SUCCESS) ฉบับที่ 1 - 10
- ก้าวที่ 1 ของ iMedCare ธุรกิจเพื่อสังคมของสงขลา"
- "แผนผังภูมินิเวศ"
- เครือข่าย SUCCESS เมืองควนลังร่วมงานส้มโอเมืองควนลังปี 2567
- "ทีม iMedCare วิถีผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน"
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 11 - 21
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 1 - 10
- "iMed@home ระบบกลุ่ม"
- สมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลาชูวาระ "พลิกโฉมพลังพลเมืองสงขลาเพื่อสังคมสุขภาวะที่ยั่งยืน"
- กิจกรรมรับบริจาคโลหิตประชารัฐสงขลาประจำเดือนตุลาคม 2567