"เตรียมเวทีประชาคมจัดทำแผนชุมชนบ้านหลบมุม"

  • photo  , 960x540 pixel , 117,233 bytes.
  • photo  , 960x541 pixel , 97,333 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 126,667 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 124,386 bytes.
  • photo  , 1170x1560 pixel , 166,856 bytes.
  • photo  , 1560x1170 pixel , 178,323 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 112,969 bytes.
  • photo  , 1560x1170 pixel , 188,773 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 105,566 bytes.

"เตรียมเวทีประชาคมจัดทำแผนชุมชนบ้านหลบมุม"

วันที่ 16 สิงหาคม 2565  นัดหมายประธานชุมชน กรรมการ แกนนำ โดยมีกำนัน รองนายกทต.พะตงมาร่วมประชุมเตรียมจัดเวทีประชาคม

กรรมการชุมชนลงพื้นที่สำรวจข้อมูลแต่ละครัวเรือนในชุมชนที่มี พร้อมกับดึงตัวแทนครัวเรือนเข้าสู่กลุ่มไลน์กลางของชุมชนเพื่อใช้ในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เสนอแนะ มีส่วนร่วมในการพัฒนา ชุมชนแห่งนี้มีความเสี่ยงในเรื่องอุทกภัยเป็นทางผ่านน้ำประกอบกับมีการถมที่สร้างหมู่บ้าน มีประชากรแฝงต่างถิ่น ต่างด้าวมาอยู่ในพื้นที่จำนวนมาก บ้านเช่าก็มีหลายหลัง

ช่วงโควิดที่ผ่านมาทำให้ชุมชนไม่ได้สื่อสาร มีกิจกรรมร่วมกัน จึงเป็นโอกาสในการฟื้นฟูความสัมพันธ์

จากการดำเนินโครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมืองพะตง ทำให้มูลนิธิชุมชนสงขลาได้เข้ามาทำงานและสนับสนุนกิจกรรมสร้างความเข้มแข็งให้กับบ้านหลบมุม ในฐานะเป็นพื้นที่ศึกษาของโครงการ

ที่ประชุมนัดหมายจัดเวทีประชาคม เพื่อจัดทำแผนชุมชนและกติกาชุมชนร่วมกัน โดยเชิญชวนให้สมาชิกหรือตัวแทนครัวเรือน รวมถึงบ้านเช่า คนต่างถิ่น ต่างด้าว สถานประกอบการเข้าร่วมในวันอังคารที่ 6 กันยายน เวลา 17.00-20.00 น. ณ ที่ทำการชุมขนบ้านหลบมุม โดยมีกำหนดการดังนี้

17.00-18.00 น. รับประทานอาหารร่วมกัน แนะนำตัวผู้เข้าร่วม แนะนำองค์กรความร่วมมือ แนะนำกรรมการชุมชน

18.00-18.15 น. เปิดการประชุมโดย นายพัชฐ์สิชณ ศรประสิทธิ์ กำนันตำบลพะตง และรองสันติ จันทโณ ทต.พะตง

18.15-18.30 น. นำเสนอข้อมูลด้วยแผนที่ชุมชนบ้านหลบมุมในปัจจุบัน โดยประธานและกรรมการชุมชน

18.30-19.30 น. จัดทำแผนชุมชนบ้านหลบมุมเข้มแข็ง ด้วยให้สมาชิกที่เข้าร่วมนำเสนอปัญหาและแนวทางแก้ไข ในด้านต่างๆ ด้วยการเขียนลงโพสต์อิส อาทิ

-ด้านโครงสร้างพื้นฐาน -ด้านการป้องกันอุทกภัย -ด้านการจัดการขยะ -ด้านสุขภาพ -ด้านรายได้และอาชีพ -ด้านประชากรแฝง -ด้านเด็กและเยาวชน -ด้านคนพิการ ผู้สูงอายุ -ด้านการบริหารจัดการชุมชน/กรรมการชุมชน

19.30-20.00 น. เติมเต็มและให้ข้อเสนอแนะ โดยทต.พะตง กำนันพะตง สถานประกอบการ รพ.สต. มูลนิธิชุมชนสงขลา

สรุปแนวทางดำเนินการต่อไปและกล่าวขอบคุณผู้เข้าร่วม โดยประธานชุมชน

ในการประชุมวันนี้มีตัวแทนแรงงานต่างชาติเข้าร่วมอีกด้วย


ข้อมูลจากรายงานการประเมินความเปราะบางของชุมชนเมืองพะตง (โครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง)

ชุมชนบ้านหลบมุมที่มีประชากรตามทะเบียนสำนักทะเบียนเทศบาลตำบลพะตงจำนวน 1,397 คน (ชาย 651 คน หญิง 746 คน ) มีจำนวนหลังคาเรือน จำนวน 1,313 หลังคาเรือน ซึ่งเป็นบ้านที่ไม่มีข้อมูลรายชื่อผู้อยู่อาศัยจำนวน 836 หลังคาเรือน โดยส่วนใหญ่จะเป็นบ้านเช่า  บ้านที่มีรายชื่อผู้อยู่อาศัยจำนวน 426 หลังคาเรือน ข้อมูล ณ. กุมภาพันธ์ 2565 สำนักทะเบียนเทศบาลตำบลพะตง

จากการศึกษาความเปราะบางของเมืองและสังคมของชุมชนหลบมุม ของโครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมืองพะตงที่ผ่านมา พบว่าการเข้าถึงระบบโครงสร้างพื้นฐานยังไม่เพียงพอต่อการเข้าถึงของประชาชน คือ

1)ประชาชนในพื้นที่ ส่วนใหญ่ซื้อน้ำเพื่อการบริโภค  ยังมีน้ำดื่มน้ำใช้ในช่วงน้ำท่วมและน้ำแล้งที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการ คุณภาพของน้ำไม่สะอาดในการใช้อุปโภคบริโภค ระบบประปาชำรุด ระบบไฟฟ้าไม่สามารถใช้ได้ ขาดอาหารที่เพียงพอ ประชาชนยังไม่มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการระบบโครงสร้างพื้นฐาน

2)ในช่วงน้ำท่วมมีผลกระทบส่วนใหญ่คือขาดรายได้  เกิดความเครียด และทรัพย์สินเสียหาย ผลกระทบอื่นๆ คือ การใช้ชีวิตประจำวันไม่สะดวก ในช่วงน้ำแล้งไม่มีน้ำกินน้ำใช้ น้ำบ่อแล้ง เกิดน้ำสนิมไม่สะอาด ส่วนใหญ่กลุ่มผู้สูงอายุ แม่เลี้ยงเดี่ยวจะได้รับการช่วยเหลือในด้านต่างๆ เป็นสำคัญ

พบว่าวิถีชีวิตชุมชนเปลี่ยนไป ชุมชนอ่อนแอลง ความมั่นคงทางจิตใจลดลง ความสัมพันธ์ในชุมชนลดลง  สังคมมองถึงความไม่เท่าเทียมกัน กลุ่มเปราะบาง ผู้พิการ ผู้ป่วยติดเตียง จะได้รับผลกระทบมากกว่า  จึงควรมีแผนรองรับความช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางเหล่านี้

พบกลุ่มคนที่อาศัยตามแนวรางรถไฟ  พบปัญหา การใช้ไฟพ่วงทำให้ค่าไฟต่อเดือนสูง (เช่น ในบ้านอยู่กัน 3 คน ผู้พิการ ผู้สูงอายุ หุงข้าว พัดลม ค่าไฟประมาณ 500-1000 บาท/ เดือน )

ครอบครัว ชุมชน มีการรับมือและปรับตัวกับผลกระทบที่เกิดขึ้น โดยใช้ประสบการณ์ มาปรับเปลี่ยนเพื่อความอยู่รอดเท่าที่จะทำได้

บ้านหลบมุมเป็นทางผ่านของน้ำ ที่ต่ำ มีบ้านเช่า มีแรงงานต่างถิ่น ต่างชาติ พี่น้องมุสลิมจาก 3 จว.มาร่วมอาศัย ประสบปัญหาน้ำท่วมฉับพลันจากรูปแบบฝนที่ตกแช่อยู่กับที่ มีการถมที่เพื่อสร้างที่อยู่อาศัยและการทำถนน ทำให้เส้นทางน้ำเปลี่ยน ส่งผลกระทบต่อชุมชนบ้านหลบมุมและใกล้เคียง รวมถึงหมู่บ้านเด็กโสสะที่มีเด็กกว่า 100 คน

ปัญหาการบุกรุกที่ดินรถไฟ มีการขยายตัวของบ้านเช่า แรงงานต่างชาติ ส่งผลให้เกิดปัญหาการเข้าถึงสิทธิ์บริการพื้นฐานของประชากรแฝง แรงงานต่างชาติ ต่างถิ่น มีการทิ้งขยะอุดตันทางระบายน้ำ การต่อไฟพ่วงทำให้เสียค่าไฟค่อนข้างแพง รวมถึงปัญหาลักขโมย ยาเสพติดที่เริ่มมีมากขึ้น

ข้อสรุปจากการประชุม มีข้อเสนอแนะการแก้ปัญหาร่วมกันดังนี้

1.พัฒนากลไกการแก้ปัญหาร่วมกัน ระดับเมือง ประกอบด้วยกลไกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น ท้องที่ ภาคประชาชน โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่ อปท. 2 แห่ง กำนัน/ท้องที่ สมาชิกสท. สถานศึกษา ตำรวจ ชลประทาน ประปา สถานประกอบการโรงงาน สถานีอนามัย โยธาธิการและผังเมือง อุตสาหกรรม คณะทำงาน Success และชุมชน จัดทำแผนงานโครงการแก้ปัญหาร่วมกันบนฐานภูมินิเวศ เพื่อกำหนดทิศทางของเมือง จัดทำแผนและร่วมกันแก้ปัญหา

1.1 ด้านการรับมือน้ำท่วม ศึกษาเส้นทางน้ำเดิม รูปแบบการท่วม เสนอแนวทางขุดลอก ทำคูคลองระบายน้ำเพื่อให้น้ำลงสู่คลองอู่ตะเภาให้เร็วที่สุด ฟื้นฟูคลองธรรมชาติ ควบคุมการถมที่ การใช้ที่ดินสาธารณะที่มีแนวโน้มจะพัฒนาด้านที่อยู่อาศัยมากขึ้น และพัฒนาศักยภาพเครือข่ายชุมชนร่วมกับศูนย์อุตุฯ ให้มีช่องทางสื่อสาร รับรู้ข้อมูลข่าวสารเพื่อการเฝ้าระวังภัย และใช้ประโยชน์สำหรับกลุ่มอาชีพในการวางแผนการผลิตล่วงหน้า

1.2 ด้านการรับมือน้ำแล้ง จัดหาที่ดินสาธารณะทำประปาชุมชน หรือทำระบบฝายน้ำล้น ร่วมกับชลประทานขยายพื้นที่คลองระบายน้ำเดิมให้สามารถกักเก็บน้ำในหน้าแล้ง หรือมีแหล่งน้ำขนาดเล็ก

1.3 ด้านการเข้าถึงสิทธิบริการพื้นฐาน กรณีผู้บุกรุกที่ดินรถไฟ ร่วมกับพอช.และการรถไฟ ขอเช่าที่ให้ถูกต้อง มีกติกาควบคุมการบุกรุก จัดตั้งเป็นนิติบุคคลเพื่อให้สามารถรับผิดชอบในการบริหารจัดการพื้นที่ ร่วมกันดูแลจัดการขยะ

1.4 ร่วมส่งเสริมให้เกิดกลไกอส.เพื่อช่วยดูแลกันเองในกลุ่มแรงงานต่างถิ่น ต่างชาติ ดูแลด้านสุขภาพ การสื่อสารเพื่อการเฝ้าระวังภัยน้ำท่วม และอื่นๆ

1.5 จัดตั้งวิสาหกิจชุมชนส่งเสริมการผลิตอาหาร/เกษตรเพื่อสุขภาพ การดูแลผู้ป่วยที่บ้าน เพื่อสร้างรายได้และการพึ่งตนเองในพื้นที่

2.เพื่อสนองตอบต่อชุมชนรูปแบบใหม่ที่มีทั้งคนในพื้นที่ แรงงานต่างถิ่น ต่างชาติ ให้สามารถอยู่ร่วมกันได้

2.1 กรณีชุมชนบ้านหลบมุม สร้างความเป็นชุมชนใหม่ที่มีแรงงานต่างชาติ บ้านเช่า เป็นส่วนหนึ่่งในการบริหารชุมชน เป็นกรรมการชุมชน แบ่งชุมชนเป็น 5 โซน บนพื้นฐานกิจกรรมทางศาสนาหรือสร้างความสัมพันธ์ต่อกัน ให้มีตัวแทนแรงงานต่างถิ่น ต่างชาติ มาเป็นกรรมการ มีการเก็บข้อมูลวิเคราะห์ผังชุมชน ค้นหากลุ่มเปราะบางที่จะต้องดูแล ค้นหากลุ่มตัวแทนอาชีพ พื้นที่ ช่วงวัย กลุ่มแม่เลี้ยงเดี่ยว ผู้สูงอายุ เกษตรกรให้เกิดการรวมตัว และสร้างกติกาเพื่อการอยู่ร่วมกัน ร่วมกันจัดการขยะเปียก ขยะรีไซเคิล

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน