คำถาม ๗ ข้อ : แผนการปลูกผักรายบุคคล
คำถาม ๗ ข้อ : แผนการปลูกผักรายบุคคล
ปีนี้มูลนิธิชุมชนสงขลาปรับวิธีการสนับสนุนการปลูกผักแบบสวนผักคนเมืองใหม่ ให้กับชุมชนเมืองหาดใหญ่และเมืองบ่อยาง ๕๐ กว่าคน เพื่อให้สามารถตอบสนองกลุ่มเป้าหมายได้ตรงความเป็นจริง และผู้สนใจสามารถวางแผนการปลูกผักของตนได้อีกด้วย
โดยมีขั้นตอนดังนี้
๑)สื่อสารหาผู้สนใจ เน้นเป็นชุมชน หลายชุมชนรวมตัวกันจะทำให้กระตุ้น สร้างแรงบันดาลใจ และเชื่อมโยงเป็นเครือข่าย
๒)จุดประกายแนวคิด แนวทางการปลูกผักแบบสวนผักคนเมืองที่มูลนิธิชุมชนสงขลาและทีมวิทยากร นำโดยครูไก่ วุฒิศักดิ์ เพ็ชรมีศรีสะสมประสบการณ์มา มุ่งหวังผล ๔ ประการ คือ สุขภาพ เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม สอดประสานไปด้วยกัน
ผ่านกิจกรรมการดูงาน/ห้องเรียนสวนผักคนเมือง หรือนำเสนอผ่าน PPT ภาพตัวอย่างรูปแบบการปลูกที่หลากหลาย เทคนิคการปลูก ความรู้เหล่านี้ทำให้สมาชิกเข้าใจแนวคิด จุดประกาย และรู้ว่าความรู้พื้นฐานที่ต้องรู้มีอะไรบ้าง
พร้อมชี้แจงแนวทางการสนับสนุน การบริหารงบประมาณ การจัดการการเงิน ใบเสร็จ/ใบสำคัญรับเงิน หลักฐานประกอบการเบิกจ่ายงบประมาณ
๓)ให้ผู้สนใจ วิเคราะห์สภาพแวดล้อม จัดทำแผนการผลิตรายบุคคลหรือกลุ่ม ผ่านคำถาม ๗ ข้อ ได้แก่
๑.ชื่อ ที่อยู่ เบอร์ติดต่อ
๒.ปลูกที่ไหน บริเวณใด อาทิ หน้าบ้าน ข้างบ้าน ดาดฟ้า ระเบียง (โดนแดดอย่างน้อยครึ่งวัน) พร้อมภาพถ่าย
๓.พืชผักที่ต้องการปลูก มีทั้งผักสวนครัว ผักหมุนเวียนตามฤดูกาล
๔.ปลูกแบบใด อย่างไร อาทิ สวนผักแนวตั้ง ขั้นบันได ปลูกในกระถาง ล้อยาง
๕.วัสดุอะไรในบ้่านหรือรอบบ้านที่สามารถนำมาปรับใช้ได้ อาทิ เศษผัก ผลไม้ ใบไม้แห้ง ขวด กระถาง ชั้นวางที่ไม่ได้ใช้แล้ว ฯลฯ
๖.ปัจจัยการผลิตที่ต้องการสนับสนุน อาทิ ดิน ปุ๋ย ชุดทำน้ำหมักชีวภาพ อุปกรณ์ใช้ในการพรวนดิน รดน้ำ ผสมดิน ฯลฯ
๗.ความรู้ที่ต้องการให้เพิ่มเติม อาทิ การปรุงดินพร้อมปลูก การทำปุ๋ยก้อน/การเลี้ยงไส้เดือน การทำน้ำหมักชีวภาพ การเพาะต้นกล้า การทำสารไล่แมลง
๔)สร้างช่องทางสื่อสาร ผ่านกลุ่มไลน์ เพื่อให้ส่งข้อมูลมาให้ทีมกลาง กลุ่มไลน์จะช่วยทำให้ทุกคนที่เข้าร่วมตื่นตัว รู้จักใช้การสื่อสารทางสังคม มีการลงข้อมูลภาพ รายงานกิจกรรมความเคลื่อนไหว ลงภาพการปลูกผัก ผลผลิต และยังใช้สอบถามปัญหาการผลิตกับครูพี่เลี้ยงที่อยู่ในกลุ่มอีกด้วย
กลุ่มไลน์ยังสามารถประสานผู้สนใจคนอื่นๆในชุมชนได้เข้ามาร่วมเรียนรู้ เกิดการขยายเครือข่ายคนปลูกผักในเขตเมืองอีกด้วย (จากจุดเริ่มต้น ๕๐ กว่าคนจะขยายตัวเป็นหลักร้อยในเวลาไม่นาน)
ความโปร่งใส ทำงานเป็นขั้นตอน เหล่านี้จะช่วยเสริมกิจกรรมกลุ่ม ภาพกิจกรรมการผลิต ก่อน หลัง จะทำให้เห็นความเปลี่ยนแปลงได้ชัดเจนอีกด้วย
๕)ห้องเรียนสวนผักคนเมือง นำข้อมูลความต้องการของสมาชิกทั้งหมด ประมวลผล นำมาสู่การหนุนเสริมปัจจัยการผลิต เมล็ดพันธุ์ และความรู้พื้่นฐานที่ตรงความต้องการ
เหล่านี้คือสิ่งที่ดำเนินการผ่านโครงการบูรณาการสร้างสุขภาพอนามัยภาคประชาชนจังหวัดสงขลา
ขอบคุณองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลาที่สนับสนุนงบประมาณ
Relate topics
- จดหมายข่าวโครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง (SUCCESS) ฉบับที่ 1 - 10
- ก้าวที่ 1 ของ iMedCare ธุรกิจเพื่อสังคมของสงขลา"
- "แผนผังภูมินิเวศ"
- เครือข่าย SUCCESS เมืองควนลังร่วมงานส้มโอเมืองควนลังปี 2567
- "ทีม iMedCare วิถีผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน"
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 11 - 21
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 1 - 10
- "iMed@home ระบบกลุ่ม"
- สมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลาชูวาระ "พลิกโฉมพลังพลเมืองสงขลาเพื่อสังคมสุขภาวะที่ยั่งยืน"
- กิจกรรมรับบริจาคโลหิตประชารัฐสงขลาประจำเดือนตุลาคม 2567