สิ่งแวดล้อมยั่งยืน
สิ่งแวดล้อมยั่งยืน"
วันที่ ๒๗ กรกฏาคม ๒๕๖๕ เวลา ๐๙.๐๐-๑๒.๐๐ น.
เครือข่ายความร่วมมือการพัฒนานโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม จังหวัดสงขลา ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมขับเคลื่อนวิสัยทัศน์สงขลา ๒๕๗๐ "เศรษฐกิจสร้างสรรค์ สิ่งแวดล้อมยั่งยืน สังคมเป็นสุข"
จุดเน้นงานด้านสิ่งแวดล้อมยั่งยืน ณ ห้องประชุมมูลนิธิชุมชนสงขลา
๑.ขอบเขตเนื้อหาที่ร่วมแลกเปลี่ยน
๑.๑ ลักษณะงานที่กำลังดำเนินการในปัจจุบัน มีตั้งแต่พื้นที่ระดับเมือง เรื่องที่น่าสนใจก็คือ การพัฒนาเครื่องมือวัดคุณภาพอากาศของมทร.ศรีวิชัย ปัจจุบันติดตั้งอยู่ในพื้นที่ทน.สงขลา การประเมินความเปราะบางของเมืองที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเมืองควนลัง พะตง บ่อยาง และปาดังเบซาร์ ได้เห็นปัญหาการเข้าไม่ถึงสิทธิ์/ข้อมูลหรือการทำแผนของกลุ่มเปราะบางที่ได้รับผลกระทบ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มากับรูปแบบการตกของฝนที่เปลี่ยนไป มีการถมที่เปลี่ยนทางน้ำ การทำให้ระบบน้ำผิวดินเพื่อการเกษตรหายไปจากโครงการระบายน้ำท่วม การเป็นเมืองที่มีโรงงานคนต่างถิ่น ต่างชาติ มาอยู่แต่ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของชุมชน การเป็นเมืองชายแดนที่มีรถบรรทุกรถส่งสินค้าจอดรถสร้างมลภาวะให้กับโรงเรียนและเด็กเล็ก เหล่านี้คือปัญหาใหม่ บริบทใหม่ที่สังคมควรรับรู้
๑.๒ การมีส่วนร่วมของวัด/มัสยิด ในการอนุรักษ์ และความร่วมมือช่วยเหลือดูแลชุมชน เช่น กรณีการถวายเทียนทางน้ำของชุมชนวัดคลองแห ร่วมอนุรักษ์คลองอู่ตะเภา การทอดผ้าป่าขยะรีไซเคิล "กองทุนขยะมีบุญ" และสร้างกติกาเปลี่ยนพวงหรีดมาเป็นข้าวสารอาหารแห้งช่วยเหลือชุมชนของวัดในตำบลโคกม่วง
๑.๓ ปัญหาอันเกิดจากการบุกรุก การเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศจากทุนใหญ่ หรือผู้มีอิทธิพล ไม่ว่าจะเป็นเขาคูหา หัวเขาแดง จะนะ การเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ที่ดินจากเพื่อการเกษตรและความมั่นคงทางอาหาร ที่อยู่อาศัยมาเป็นเพื่อโครงการขนาดใหญ่ จะทำให้เกิดปัญหาการใช้น้ำ การทำลายพื้นที่สีเขียว มลภาวะ และปัญหาทางสังคมควบคู่กับรายได้ทางเศรษฐกิจ
๒.รูปแบบการทำงานในลักษณะเครือข่าย มีตั้งแต่เครือข่ายระดับตำบล ภูมินิเวศ และจังหวัด อาทิ เครือข่ายอนุรักษ์และพัฒนาลุ่มน้ำรัตภูมี เครือข่ายสวนผักคนเมืองหาดใหญ่ เครือข่ายระดับตำบล อันเป็นพื้นฐานความเข้มแข็งที่จะต้องมองให้ครอบคลุมด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคม
ทั้งนี้ในการเคลื่อนไหวเพื่อสิ่งแวดล้อมยั่งยืน อยู่บนฐานของการแย่งชิงทรัพยากร รวมถึงแนวคิดการพัฒนา เป็นสงครามวาทกรรมที่จะต้องปะทะต่อรองกันและกัน
๓.ทิศทางอนาคต เครือข่ายควรกำหนดเป้าและการวัดผลให้ชัด เพื่อตอบให้ได้ว่าความยั่งยืนนั้นคือสิ่งใด อย่างไร
อาทิจะต้องประกอบด้วยกระบวนการเรียนรู้ การมีส่วนร่วม ความสามารถการส่งต่อไปถึงคนรุ่นหลัง เป็นต้น
ทั้งนี้ภาคีเครือข่ายที่มาร่วมประชุมประกอบด้วย
๑)เทศบาลตำบลโคกม่วง
๒)สมาคมพิทักษ์สิทธิเขาคูหา
๓)มทร.ศรีวิชัย
๔)โครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมืองพะตง
๕)โครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมืองควนลัง
๖)โครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมืองบ่อยาง
๗)ศูนย์ประสานงานพหุภาคีจังหวัด
๘)เครือข่ายธรรมนูญตำบลน่าอยู่ตำบลแค
๙)สถานีวิทยุ ม.อ.หาดใหญ่
๑๐)เครือข่ายอนุรักษ์และพัฒนาลุ่มน้ำรัตภูมี
๑๑)โครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมืองปาดังเบซาร์
๑๒)มูลนิธิชุมชนสงขลา
๑๓)ม.ราชภัฎสงขลา
๑๔)มูลนิธิอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ
๑๕)สวนไผ่คนเมืองคลองแห
๑๖)มูลนิธิเครือข่ายเมืองภาคใต้เพื่อการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
Relate topics
- "kickoff รถรับส่งผู้ปวยตำบลควนโส"
- "รถเติมสุขอำเภอนาทวี"
- "รถเติมสุขอำเภอสะบ้าย้อย"
- "พัฒนาระบบรถรับส่งผู้ป่วยพบแพทย์ตำบลคูหา"
- "ประชุมทีมเครือข่ายเกษตรสุขภาพจังหวัดสงขลา"
- "พัฒนาระบบบริการรถรับส่งผู้ป่วยพบแพทย์ อบต.บาโหย"
- พัฒนาPlatform รองรับบริการรถรับส่งสาธารณะจ.สงขลา
- กลางเดือนมีนาคม 2568 ดีเดย์เริ่มทดลองวิ่งรถบริการ
- การเก็บข้อมูลเพื่อปรับสภาพบ้านคนพิการติดเตียง
- "เครือข่ายเกษตรสุขภาพจังหวัดสงขลา" ประชุมแกนคณะทำงานครั้งที่ 1/2568