ความร่วมมือระหว่าง SUCCESS เมืองภาคใต้กับ กขป.เขต12

by punyha @12 ก.ค. 65 10:07 ( IP : 171...179 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์ , โครงการ SUCCESS
  • photo  , 960x540 pixel , 410,222 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 400,078 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 325,206 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 204,616 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 243,627 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 324,198 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 300,187 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 403,105 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 457,464 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 297,298 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 290,246 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 219,664 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 248,296 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 248,071 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 257,601 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 164,781 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 183,354 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 164,929 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 170,874 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 267,690 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 192,484 bytes.

ความร่วมมือระหว่าง SUCCESS เมืองภาคใต้กับ กขป.เขต12

วันที่ 11 กรกฎาคม 2565  ประชุมร่วมกันระหว่างทีมกลาง TEI มูลนิธิชุมชนสงขลาและแกนนำ 6 เมืองโครงการ SUCCESS ภายใต้การสนับสนุนจากสหภาพยุโรปในพื้นที่ภาคใต้ คือ บ่อยาง พะตง ควนลัง ปาดังเบซาร์ จ.สงขลา โตนดด้วน จ.พัทลุง ละงู จ.สตูล ในเรื่องสำคัญดังนี้

1.เมืองบ่อยางบอกเล่าสถานการณ์ปัญหาการเช่าที่กับธนารักษ์ที่ต้องหาข้อสรุปกับจังหวัด เทศบาล และความขัดแย้งในชุมชนแหลมสนอ่อนด้วยกัน รวมถึงการแก้ปัญหาไม่ต่อสัญญาเช่าของชุมชนสนามบินที่จะมีการหาที่ว่างในชุมชน และการแก้ปัญหาสหกรณ์เก้าเส้ง

2.ความก้าวหน้าการเสริมหนุนเครือข่าย โดยร่วมกับศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออก พัฒนาศักยภาพและสร้างช่องทางสื่อสารเพื่อเฝ้าระวังอุทกภัยปีนี้ให้กับเครือข่ายเมืองในโครงการ จะมีการอบรมแกนนำเมืองละ 20 คน เริ่มที่เมืองในสงขลา/พัทลุง และร่วมมือในการใช้ข้อมูลอุตุฯในการลดผลกระทบต่ออาชีพในชีวิตประจำวัน อาทิ ประมง เกษตร รับจ้าง และหาวิธีประเมินผลกระทบต่ออาชีพในเชิงเศรษฐศาสตร์เพื่อให้เห็นมูลค่าและคุณค่าของผลที่ได้

3.จากการลงเยี่ยมพื้นที่ทั้ง 5 เมือง สิ่งที่จะต้องขยับต่อ คือนำข้อมูลระดับชุมชนและเมืองไปสู่การวางแผนรับมือสิ่งที่เกิดในอนาคต ซึ่งเป็นช่องว่างที่ไม่ได้หารือกับหน่วยงานมากนักเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงของเมืองและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

กิจกรรมที่จะดำเนินการต่อไป

1) กิจกรรมปีที่ 3 หลังจากนี้ คือ จัดทำยุทธศาสตร์เมือง นำข้อมูลการประเมินความเปราะบางของเมืองยกระดับจัดทำยุทธศาสตร์เมือง(วิสัยทัศน์ เป้าหมาย ภาคียุทธศาสตร์ แผนปฎิบัติการและข้อเสนอกิจกรรม/โครงการที่เกี่ยวข้องกับการดูแลกลุ่มเปราะบางทางสังคม/เพศสภาพ และประเด็นสำคัญของเมือง) และจัดทำร่างข้อเสนอโครงการนำร่อง ให้แล้วเสร็จ 1สค.-31 ตค.65 ทั้งนี้ภาคใต้ได้ข้อสรุปจัดทำยุทธศาสตร์ระดับเมือง โดยประสานยุทธศาสตร์ร่วมในระดับจังหวัดร่วมกับเครือข่ายสมัชชาสุขภาพจังหวัด(ทั้งสงขลา/พัทลุง/ตรัง) ประเด็นร่วมระดับจังหวัด จะประสานความร่วมมือกับ คณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน (กขป.)เขต 12  และนำประเด็นร่วมระหว่างภาคใต้และอิสานเป็นยุทธศาสตร์ระดับชาติร่วมกับ TEI และที่ปรึกษา โดยทีมแต่ละเมืองร่วมกับมูลนิธิชุมชนสงขลา จัดทำแผนปฎิบัติการให้แล้วเสร็จภายในเดือนกรกฏาคมนี้ ภายใต้งบประมาณเมืองละ 3 หมื่นบาท

2)ทีมประเมินโครงการ ลงพื้นที่ 6 เมืองประเมินผลการทำงานเบื้องต้น ปลายสิงหาคม

3)จัดประชุมใหญ่ระหว่างภาคใต้และภาคอิสาน ณ จังหวัดสงขลา ระหว่างวันที่ 3-7 ตุลาคม 2565

วันที่ 3 ตุลาคม แลกเปลี่ยนกิจกรรมการประเมินความเปราะบางของเมืองภาคใค้และภาคอิสาน

วันที่ 4 ตุลาคม ร่วมกับที่ปรึกษาระดับชาติ กำหนดแนวทางเสนอแนะเชิงนโยบายระดับชาติ

วันที่ 5 ตุลาคม เครือข่ายนานาชาติ SUCCESS แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับแกนนำ 12 เมือง และลงพื้นที่

วันที่ 6 ตุลาคม แกนนำ 12 เมืองพบผู้เชี่ยวชาญประเมินผลโครงการเบื้องต้น

วันที่ 7 คุลาคม แกนนำ 12 เมืองพบเครือข่ายนักวิชาการ หารือความร่วมมืองานวิจัยและพัฒนา

คาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมราว 50 คนต่อวัน แกนนำเมืองละ 3 คน

4)พัฒนาโครงการนำร่อง จัดทำข้อเสนอโครงการร่วมกับสมาคม/มูลนิธิที่จะเป็นเจ้าภาพเสนอโครงการให้แล้วเสร็จภายใน มกราคม 2566 และเริ่มปฎบัติการโครงการนำร่อง มีค.66-มีค.67

5)ร่วมนำเสนอผลการประเมินความเปราะบางของเมืองในพื่้นที่สงขลาเพื่อหารือความร่วมมือระดับจังหวัดภายใต้ยุทธศ่าสตร์ "สิ่งแวดล้อมยั่งยืน" ในงานวันพลเมืองสงขลา ช่วงกันยายนนี้ และนำเสนอผลการประเมินตีพิมพ์ในหนังสือผีเสื้อขยับปีก เล่ม 9

ทั้งนี้การทำงานยังเน้นการเรียนรู้และสื่อสารสาธารณะ การประชุมประจำเดือน จะมีทุกวันที่ 5 ของเดือนต่อไป โดยเน้นการเรียนรู้ตัวอย่างกิจกรรมการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อจุดประกายความคิดจัดทำโครงการนำร่อง

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน