ภาคีเครือข่ายเยี่ยมเยียนชุมชนแหลมสนอ่อน เมืองบ่อยาง
วันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน 2565 เป็นอีก 1 วันและอีก 1 ความภาคภูมิใจ ของชาวชุมชนแหลมสนอ่อน
ที่ภาคภูมิใจในความเป็น " คนแหลมสนอ่อน" และ " คนเมืองบ่อยาง สงขลา" เมื่อ ดร.นพ. วิรุฬ ลิ้มสวาท ผู้อำนวยการสำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะทำงานที่เดินทางมาในพื้นที่ชุมชนแหลมสนอ่อน ได้บอกเล่าให้ภาคีเครือข่ายหลักของชุมชนคือ มูลนิธิชุมชนสงขลาและเทศบาลนครสงขลาโดยกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
รวมถึงชุมชนเครือข่ายอีก 6 ชุมชนได้รับทราบว่า มี 4 พื้นที่ชุมชนในประเทศไทยที่ได้เกิดการสร้าง" นวัตกรรมทางสังคม" ขึ้นมาในระยะที่มีการระบาดโควิด - 19 โดยชุมชนคิดเอง ทำเอง และทำอย่างต่อเนื่อง จนสามารถยกย่องให้เป็นพื้นที่ต้นแบบได้และจะได้รับการต่อยอด ทำงานร่วมกันเป็นระยะเวลาต่อเนื่องถึง 5 ปี นับตั้งแต่ปี 2565 เป็นต้นไป
สำหรับ 4 พื้นที่ชุมชนต้นแบบดังกล่าวข้างต้น มีดังนี้
ภาคเหนือ ชุมชนในจังหวัดเชียงใหม่
ภาคอีสาน ชุมชนในจังหวัดขอนแก่น
ภาคกลาง ชุมชนในกรุงเทพมหานคร
ภาคใต้ ชุมชนแหลมสนอ่อน จังหวัดสงขลา
อนึ่งหน่วยงานระดับชาติที่ชุมชนแหลมสนอ่อนและชุมชนเครือข่ายจะได้ทำงานร่วมกันในระยะต่อไปคือ
1.สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ ( สวสส.) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข
2.สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) หน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของนายกรัฐมนตรี
3.ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ ( TCELS )หน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
ในการนี้ชาวชุมชนแหลมสนอ่อนและชุมชนเครือข่าย ใคร่ขอขอบพระคุณมูลนิธิชุมชนสงขลาและภาคีเครือข่ายทุกหน่วยทุกองค์กรที่ได้มีส่วนเข้ามาเติมเต็มให้กับพวกเรา " คนเมืองบ่อยาง สงขลา"
บุณย์บังอร ชนะโชติ บันทึกเรื่องราว
Relate topics
- "kickoff รถรับส่งผู้ปวยตำบลควนโส"
- "รถเติมสุขอำเภอนาทวี"
- "รถเติมสุขอำเภอสะบ้าย้อย"
- "พัฒนาระบบรถรับส่งผู้ป่วยพบแพทย์ตำบลคูหา"
- "ประชุมทีมเครือข่ายเกษตรสุขภาพจังหวัดสงขลา"
- "พัฒนาระบบบริการรถรับส่งผู้ป่วยพบแพทย์ อบต.บาโหย"
- พัฒนาPlatform รองรับบริการรถรับส่งสาธารณะจ.สงขลา
- กลางเดือนมีนาคม 2568 ดีเดย์เริ่มทดลองวิ่งรถบริการ
- การเก็บข้อมูลเพื่อปรับสภาพบ้านคนพิการติดเตียง
- "เครือข่ายเกษตรสุขภาพจังหวัดสงขลา" ประชุมแกนคณะทำงานครั้งที่ 1/2568