รับมือเชิงรุกต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเมืองโตนดด้วน
รับมือเชิงรุกต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเมืองโตนดด้วน
จากสถานการณ์น้ำท่วมใหญ่ในปี ๕๓ ในพื้นที่อำเภอควนขนุน น้ำท่วมใหญ่ในพื้นที่ บางพื้นที่ไฟดับ ๑๐ กว่าวัน การสื่อสารต่างๆ ไม่สามารถสื่อสารได้ การใช้บ่อน้ำตื้นได้ฟื้นกลับมาใช้เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ชุมชนได้รับผลกระทบด้านอาหารน้อยเนื่องจากเป็นชุมชนเกษตรที่ยังพึ่งพาตนเองได้ โดยรวมชุมชนก็ไม่ถึงกับเดือดร้อนมากนัก
ปัจจุบันสถานการณ์ความรุนแรงด้านภัยพิบัติต่างๆ จะมีความรุนแรงมากขึ้น จะมีกลไกในการดูแลกันเอง และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องต้องนำไปสู่การวางแผนเพื่อรองรับการช่วยเหลือชุมชนได้อย่างไร ?
พื้นที่โตนดด้วนมีต้นทุนที่ดีคือ มีคลองทุกหมู่บ้าน โดยมีคลอง ๑๑ สาย แต่คลองเก็บน้ำ โจทย์ที่สำคัญคือ ชุมชนโตนดด้วนได้ลุกขึ้นมาทำอะไรกับการจัดการน้ำบ้างหรือแล้วหรือยัง ?
ในการจัดการระหว่างการนำน้ำจากภายนอกคือจากพื้นที่ทะเลน้อยกับการจัดการน้ำในพื้นที่ อะไรจะเป็นไปได้มากกว่า
ตอนนี้ภัยคุกคามที่เป็นน้ำท่วมมีน้อยลง เนื่องจากมีการแก้ปัญหาโดยระบบชลประทาน แต่สิ่งที่น่าสนใจคือ ถ้าฝนตกหนักจริงๆ ในพื้นที่มีตรงไหนบ้างที่อาจท่วมขัง เพื่อสามารถวางแผนการจัดการน้ำท่วม ในกรณีน้ำแล้งคือการหาพื้นที่สาธารณะ การฟื้นฟูบ่อน้ำตื้นและการจัดทำฝายมีชีวิต/ฝายน้ำล้น การทำธนาคารน้ำใต้ดิน และหากมีการทำข้อมูลค่าใช้จ่ายด้านน้ำต่างๆ เช่น น้ำดื่ม น้ำใช้ น้ำทางการเกษตร จะทำให้ชุมชนเกิดความตระหนักในการพึ่งพาหรือจัดการน้ำด้วยตนเองมากขึ้น
บันทึกจากเวทีเติมเต็มข้อมูลโครงการศึกษาประเมินความเปราะบางของชุมชนเมืองโตนดด้วนต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
วันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๖๕ ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโตนดด้วน
ปราณี วุ่นฝ้าย บันทึกเรื่องราว
Relate topics
- จดหมายข่าวโครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง (SUCCESS) ฉบับที่ 1 - 10
- ก้าวที่ 1 ของ iMedCare ธุรกิจเพื่อสังคมของสงขลา"
- "แผนผังภูมินิเวศ"
- เครือข่าย SUCCESS เมืองควนลังร่วมงานส้มโอเมืองควนลังปี 2567
- "ทีม iMedCare วิถีผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน"
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 11 - 21
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 1 - 10
- "iMed@home ระบบกลุ่ม"
- สมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลาชูวาระ "พลิกโฉมพลังพลเมืองสงขลาเพื่อสังคมสุขภาวะที่ยั่งยืน"
- กิจกรรมรับบริจาคโลหิตประชารัฐสงขลาประจำเดือนตุลาคม 2567