เวทีเติมเต็มข้อมูลโครงการศึกษาและประเมินความเปราะบางของชุมชนเมืองบ่อยาง

by punyha @27 พ.ค. 65 15:33 ( IP : 171...69 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์ , โครงการ SUCCESS
  • photo  , 960x720 pixel , 97,432 bytes.
  • photo  , 600x450 pixel , 53,583 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 87,996 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 83,571 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 86,588 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 80,446 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 97,361 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 67,371 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 78,425 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 98,115 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 92,443 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 90,043 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 87,764 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 81,549 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 90,787 bytes.

เวทีเติมเต็มข้อมูลโครงการศึกษาและประเมินความเปราะบางของชุมชนเมืองบ่อยางต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

วันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๖๕ ณ สำนักงานเทศบาลนครสงขลา อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา

โครงการศึกษาและประเมินความเปราะบางของชุมชนเมืองบ่อยางต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ได้มีการศึกษาข้อมูลเสร็จเรียบร้อยจึงได้จัดเวทีเติมเต็มข้อมูลจากหน่วยงานเพื่อคืนข้อมูลและเพื่อจัดกลไกการทำงานร่วมกัน วางแผนการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศร่วมกัน

หน่วยงาน/องค์กรที่เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย  ประปาส่วนภูมิภาคสงขลา  ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออก  เทศบาลนครสงขลา ชุมชนแหลมสนอ่อน ชุมชนสนามบิน  ชุมชนบาลาเซาะห์เก้าแสน ชุมชนศาลาเหลือง เหนือ

ชุมชนบ่อยางมีชุมชนย่อยๆ ๕๕ ชุมชน ปัญหาร่วมของพื้นที่คือที่อยู่อาศัย/สิทธิครอบครองเรื่องที่ดินทำกินในการศึกษาเพื่อประเมินความเปราะบางคัดเลือกชุมชนที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย  ๔  ชุมชนคือ

ชุมชนแหลมสนอ่อน  ชุมชนสนามบิน ชุมชนบาลาเซาะห์เก้าแสน และชุมชนศาลาเหลืองเหนือ

โดยชุมชนดังกล่าวเป็นชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม อุณหภูมิที่ร้อนขึ้นและปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง

วิธีการในการศึกษา  โดยการจัดทำแบบสอบถามครัวเรือน ๑๐๐ ครัวเรือน  แบบสัมภาษณ์กลุ่มเปราะบาง(กลุ่มพิการและเปราะบางทางสังคมอื่นๆ ๑๐ ครัวเรือน  สัมภาษณ์หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ๒๒ หน่วย  สำรวจข้อมูลด้วย ตัวเอง และศึกษาจากเอกสาร/ข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต

ผลการศึกษา

๑)แรงงานนอกระบบได้รับผลกระทบมากที่สุดในช่วงหน้าฝนคือมอเตอร์ไซค์รับจ้าง ประมง จากกลุ่มบาลาเซาะเก้าแสน และกลุ่มแม่ค้าแผงลอย ได้รับผลกระทบหลักๆ คือขาดรายได้ ซึ่งหากทราบสถานการณ์ฝนตกน้ำท่วมล่วงหน้าจะสามารถรับมือและปรับตัวได้

๒)จำนวนสมาชิกในครัวเรือนมุสลิมมีจำนวนมากกว่า อยู่กันแออัด ๖-๗ คน จำนวนสมาชิกในครัวเรือน ซึ่งผลการศึกษาที่เด่นชัดมีการพึ่งพากันเองได้ อาศัยการช่วยเหลือจากหน่วยงานค่อนข้างน้อย

๓)ชุมชนส่วนใหญ่เกือบ ๑๐๐ % แทบไม่มีส่วนร่วมในการวางแผนแก้ปัญหาหรือรับมือต่อภัยพิบัติ ที่ไม่มีส่วนร่วมส่วนใหญ่เกิดจากหน่วยงานทำงานแยกส่วนต่างคนต่างทำ ขาดการประสานงานร่วมกับชุมชน

๔)ชุมชนแหลมสนอ่อนพบกับลมแรงและพายุในหน้ามรสุม ชุมชนเก้าแสนพบกับปัญหาการกัดเซาะตลิ่ง ชุมชนสนามบินและชุมชนศาลาเหลืองเหนือได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมขัง จากข้อมูลคือปริมาณน้ำฝนมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ น้ำท่วมหนักในปี ๒๕๕๐ และ ๒๕๖๓

๕)ผู้หญิงได้รับผลกระทบมากกว่าผู้ชาย แต่ผู้หญิงมีบทบาทและมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาครัวเรือนและชุมชนค่อนข้างมาก

๖)ชุมชนมีการสร้างเครือข่ายเพื่อรับมือและจัดทำแผนเพื่อการเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

๗)ผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กรณีน้ำท่วมและน้ำแล้งคือ น้ำกินน้ำใช้มีไม่เพียงพอ กระทบต่ออาชีพ น้ำท่วมบ้านเรือนใช้ชีวิตลำบาก การสัญจรไม่สะดวก ผลกระทบจากอุณหภูมิหรือความร้อน หากร้อนมากๆ ชุมชนจะเข้าไปอาศัยพักเล่นในวัด ครัวเรือนอาศัยอยู่กันแบบแออัด ประชากรครึ่งหนึ่งเป็นประชากรแฝงที่เข้ามาอยู่ในพื้นที่ ผู้ติดเตียงหรือผู้พิการมี อสม.ช่วยดูแลตามสภาพ

ข้อเสนอแนะจากหน่วยงาน

๑)ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออก  ในขณะนี้มีการทำงานร่วมกับเครือข่ายชาวนาในพื้นที่อำเภอรัตภูมิ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  และมีแผนในการเสริมสร้างความรู้ให้กับประชาชนและเครือข่ายในการเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

๒)กองสาธารณสุข เทศบาลนครสงขลา เทศบาลมีโครงการความมั่นคง ในการแก้ปัญหาด้านที่อยู่อาศัย ซึ่งพื้นที่ที่เป็นพื้นที่ของธนารักษ์หรือการรถไฟทางเทศบาลไม่มีอำนาจหน้าที่ในการออกบ้านเลขที่ให้ได้ นอกจากนี้เทศบาลได้มีการสนับสนุนในเรื่องของการจัดการขยะร่วมกับชุมชน

๓)สำนักงานประปาส่วนภูมิภาคสงขลา มีบทบาทในการอำนวยความสะดวกในการบริการน้ำเพื่อบริโภคในเขตเทศบาลนครสงขลาจำนวน ๒๐,๐๐๐ ราย ปัญหาที่พบคือไม่มีน้ำประปาใช้ ซึ่งอาจเป็นกลุ่มที่ไม่มีบ้านเลขที่ที่ประปาไม่สามารถจ่ายน้ำให้ได้ น้ำประปาไม่ไหล และคุณภาพของน้ำประปา ซึ่งมีปัญหาน้ำแดง แก้ปัญหาโดยการล้างท่อให้บ่อยขึ้น ปัญหาท่อแตกชำรุดซึ่งจะทำให้น้ำในบางครัวเรือนไม่ไหลในขณะที่มีการซ่อมน้ำ

ข้อเสนอแนะต่อทิศทางการทำงานต่อไป

๑)สร้างจิตสำนึกเพื่อสร้างความตระหนักในการจัดการและแก้ปัญหาขยะในชุมชนเมือง โดยเริ่มจากครัวเรือนเป็นหลัก

๒)สื่อสารกันทางไลน์กลุ่มของประปาภูมิภาคสงขลา โดยประปาภูมิภาคสงขลาจะเชิญชวนผู้นำชุมชนเข้าร่วมเพื่อสื่อสารสถานการณ์หรือแลกเปลี่ยนกันต่อไป

ปราณี  วุ่นฝ้าย รายงาน

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน