"ความร่วมมือกับ WWF"
"ความร่วมมือกับ WWF"
บอมและทีมงานของ WWF กองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (World Wide Fund for Nature - WWF)มาชวนมูลนิธิชุมชนสงขลาร่วมโครงการลดขยะพลาสติกในเขตเมืองใหญ่ของสงขลาคือ ทน.หาดใหญ่และทน.สงขลา ได้หารือกันเบื้องต้น
1.แนวทางที่คาดว่าจะดำเนินการร่วมกัน ประกอบด้วย
1.1 กิจกรรมลดพลาสติกระดับชุมชน ซึ่งทั้งสองพื้นที่ มูลนิธิฯมีเครือข่ายชุมชนที่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้แก่ เครือข่ายพัฒนาเมืองสงขลา/ศูนย์บ่อยางพึ่งพาตนเอง/คณะทำงานโครงการ Successเมืองบ่อยาง และชุมชนริมทางรถไฟทน.หาดใหญ่ที่ได้ MOU ร่วมกัน
-เป้าหมาย พัฒนาธุรกิจเพื่อชุมชนสร้างความเข้มแข็งและความยั่งยืนในการทำงานระยะยาว
-วิธีการ พัฒนากลไกคณะทำงานของเมือง กำหนดกติกา/ข้อตกลงในการจัดทำธุรกิจเพื่อชุมชนร่วมลดขยะพลาสติก การบริหารจัดการขยะพลาสติก/ขยะรีไซเคิล/ขยะเปียก การสร้างผลิตภัณฑ์ทดแทน
-มีชุมชนเป้าหมายในการกำหนดผังชุมชน จัดตั้งเครือข่ายแต่ละซอย/โซน ครัวเรือนคัดแยกขยะ สมาชิกที่ร่วมจะมีการแบ่งปันรายได้คืนตามหุ้นส่วน: พลาสติกเครดิต(ระดมหุ้นผ่านเงินที่ได้จากการขายขยะพลาสติกหรืออื่นๆ) จัดเครือข่ายซาเล้งคนจนเมือง(คิดชื่อใหม่)จัดระบบรับส่งเป็นกติการ่วมในแต่ละวัน/สัปดาห์ กำหนดจุดรวบรวมขยะรีไซเคิลของเมือง นำขยะมาเพิ่มมูลค่า นำกลับมาใช้ใหม่ ฯลฯ สร้างช่องทางสื่อสารภายในด้วยการพัฒนาเป็นแอพพลิเคชั่นเฉพาะในการบริหารจัดการให้ครบวงจร สมาชิกเข้าถึงข้อมูลของตนเอง
เสริมด้วยกิจกรรมสวนผักคนเมือง ลดรายจ่าย เพิ่มพื้นที่ผลิตอาหารจากขยะเปียกในชุมชน
-ร่วมกับเครือข่ายรัฐ อปท. เอกชน โรงเรียน สร้างกลยุทธ์ในการทำงาน
1.2 การขับเคลื่อนเชิงนโยบาย ด้วยขยะพลาสติกมีหลายส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งรัฐ ท้องถิ่น เอกชน วิชาการ ประชาสังคม ที่จะต้องมาดูกลยุทธ์ร่วมกันต่อไป เช่น การนำขยะพลาสติกมาอัดเป็นกล่อง ทำเตียงลม พลาสติกเครดิต
2.รอนัดหารือร่วมกับทีมอย่างเป็นทางการและฟังผลการศึกษาข้อมูลเบื้องต้น ร่วมกำหนดเป้าหมาย แนวทางดำเนินการ และจัดทำโครงการร่วมกับเครือข่ายต่อไป
หมายเหตุ การพัฒนาให้ชุมชนเข้มแข็ง พึ่งตนเองได้ จำเป็นจะต้องมีระบบการทำงานขององค์กรที่เข้มแข็ง มีธรรมาภิบาล พร้อมกับพึ่งตนเองด้วยการมีแผนหรือกติกาชุมชนของตน มีธนาคารชุมชนเป็นกองทุนหมุนเวียน, มีธุรกิจเพื่อชุมชนของตน ซึ่งนอกจากการบริหารจัดการขยะรีไซเคิลแล้ว(ปัจจุบันกำลังจะดำเนินการได้แก่ iMedCare ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน iGreenSmile จัดส่งวัตถุดิบอาหารปลอดภัย)
ตัวอย่าง ชุมชนเมืองบ่อยาง จัดระบบตามแนวทางที่ว่า ในช่วงโควิดได้จัดตั้งครัวกลาง บริจาคอาหารผ่านปิ่นโตตุ้มตุ้ย และจำหน่ายอาหารในราคาถูก ทั้งลดขยะ และสร้างรายได้ พบว่าในชุมชนมีทุนหรืออุปกรณ์ เครื่องมือต่างๆที่สามารถนำมาต่อยอดและเติมเต็มกันและกันหากมีการทำงานในรูปแบบเครือข่าย ในภาพคือมีอุปกรณ์ครัวกลาง ที่จะนำมาใช้ประโยชน์ มีหม้อหุงข้าวแต่ฝาหม้อชำรุด แต่ก็พบว่าอีกชุมชนมีการทำธุรกิจของใช้มือสอง จึงสามารถนำสิ่งที่แต่ละฝ่ายมีมาเติมเต็มกันได้
#ร่วมสร้างเศรษฐกิจสร้างสรรค์ สิ่งแวดล้อมยั่งยืน สังคมเป็นสุข
Relate topics
- "kickoff รถรับส่งผู้ปวยตำบลควนโส"
- "รถเติมสุขอำเภอนาทวี"
- "รถเติมสุขอำเภอสะบ้าย้อย"
- "พัฒนาระบบรถรับส่งผู้ป่วยพบแพทย์ตำบลคูหา"
- "ประชุมทีมเครือข่ายเกษตรสุขภาพจังหวัดสงขลา"
- "พัฒนาระบบบริการรถรับส่งผู้ป่วยพบแพทย์ อบต.บาโหย"
- พัฒนาPlatform รองรับบริการรถรับส่งสาธารณะจ.สงขลา
- กลางเดือนมีนาคม 2568 ดีเดย์เริ่มทดลองวิ่งรถบริการ
- การเก็บข้อมูลเพื่อปรับสภาพบ้านคนพิการติดเตียง
- "เครือข่ายเกษตรสุขภาพจังหวัดสงขลา" ประชุมแกนคณะทำงานครั้งที่ 1/2568