วงกลาง success 6 เมืองภาคใต้ประจำเดือนมีนาคม 2565
วงกลาง success 6 เมืองภาคใต้ประจำเดือนมีนาคม 2565
วันที่ 7 มีนาคม 2565 วงกลางประจำเดือนของแกนนำ 6 เมืองภายใต้โครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง(success) รอบนี้แลกเปลี่ยนสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 การเกิดอุทกภัยในช่วงหน้าร้อน และความก้าวหน้าการดำเนินกิจกรรม 1.3 ในรอบเดือน
มีประเด็นสำคัญๆดังนี้
1.แกนนำหลักส่วนใหญ่เกี่ยวพันกับโควิดทั้งในฐานะองค์กรรับผิดชอบหรือเป็นทีมงาน หรือเป็นผู้ป่วย การแพร่ระบาดรอบนี้กระจายไปทุกแห่ง แต่ละเมืองมีรูปแบบรับมือเป็นไปตามบริบทของตนและมีส่วนกระทบกับการดำเนินงาน
2.เมืองโตนดด้วน เมืองควนลัง เมืองบ่อยาง ได้เก็บข้อมูลชุมชน สัมภาษณ์หน่วยงาน(ยกเว้นบ่อยาง)และเริ่มประมวลผลข้อมูลแล้ว ส่วนพะตง ละงู ปาดังเบซาร์ เก็บข้อมูลชุมชนแล้ว กำลังเก็บข้อมูลจากหน่วยงาน
3.บทเรียนจากควนลัง และโตนดด้วนในการสัมภาษณ์หน่วยงาน หากทีมงานแสดงความตั้งใจและเห็นว่าเป็นประโยชน์สาธารณะ และมีข้อมูลรวมถึงการประสานงานกับหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะได้รับความร่วมมือได้มาก และเป็นโอกาสในการต่อรองหรือทำงานร่วมกันแก้ปัญหา
4.สถานการณ์น้ำท่วมหน้าแล้งสะท้อนความปรวนแปรไม่แน่นอนของสภาพอากาศ คำถามสำคัญคือเราจะรับมือและปรับตัวกันอย่างไร ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงาน ภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เราจะใช้แนวทางเดิมหรือปรับแผนรองรับอย่างไร ประชาชนเองจะเตรียมตัวอย่างไร
ภายใต้การดำเนินโครงการ การสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กรประชาสังคมเพื่อให้เป็นหนึ่งในฐานหลักการรับมือ ให้มีความแข็งแรงในการทำงาน การบริหารจัดการ และมีการเชื่อมร้อยเป็นเครือข่ายเสริมหนุนกันและกันจะเป็นทางออกสำคัญ รวมถึงการใช้ระบบนิเวศแบบลุ่มน้ำขนาดย่อย การใช้พื้นที่เป็นฐานจะถักทอเชื่อมประสานกับการทำงาน'แนวดิ่ง'ของภาครัฐที่อำนาจจัดการรวมศูนย์อยู่ส่วนกลาง
5.ทีมกลางขยายเวลาไปอีก 1 เดือน ทุกเมืองจะต้องทำกิจกรรมให้แล้วเสร็จภายใน 30 เมษายนนี้ และส่งรายงานและรายงานการเงินผ่านมูลนิธิชุมชนสงขลา 15 พฤษภาคม ในการณ์นี้มูลนิธิชุมชนสงขลาจะลงพื้นที่ช่วยเสริมหนุนระหว่างทางมากขึ้น โดยเฉพาะเมืองที่ยังไม่ประมวลผลข้อมูล ให้นำข้อมูลเข้าสู่โปรแกรม spss แปรผลเชิงปริมาณ และนัดประชุมกลุ่มย่อยประมวลผลในเชิงคุณภาพ แต่ละเมืองควรจัดเวทีคืนข้อมูลให้กับหน่วยงานและชุมชนที่เกี่ยวข้องหลังสงกรานต์ และนัดหมายไปปิดโครงการด้วยกันในช่วงปลายเดือนเมษายน ณ จังหวัดสตูล โดยนำผลของการศึกษาไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมเสนอแนะแนวทางหรือประเด็นสำคัญของแต่ละเมืองที่จะนำมาขยายผล และจัดการงานเอกสารการเงินร่วมกัน
6.กิจกรรมปีที่ 3 จะเน้นการผลักดันผลการศึกษาเข้าสู่ยุทธศาสตร์ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและการสื่อสารกับสังคม นำข้อเสนอไปสู่กิจกรรมนำร่องในปีที่ 4
7.นัดหมายครั้งต่อไป 5 เมษายน เวลา 09.00-12.00 น.
ชมคลิปย้อนหลัง
Relate topics
- "kickoff รถรับส่งผู้ปวยตำบลควนโส"
- "รถเติมสุขอำเภอนาทวี"
- "รถเติมสุขอำเภอสะบ้าย้อย"
- "พัฒนาระบบรถรับส่งผู้ป่วยพบแพทย์ตำบลคูหา"
- "ประชุมทีมเครือข่ายเกษตรสุขภาพจังหวัดสงขลา"
- "พัฒนาระบบบริการรถรับส่งผู้ป่วยพบแพทย์ อบต.บาโหย"
- พัฒนาPlatform รองรับบริการรถรับส่งสาธารณะจ.สงขลา
- กลางเดือนมีนาคม 2568 ดีเดย์เริ่มทดลองวิ่งรถบริการ
- การเก็บข้อมูลเพื่อปรับสภาพบ้านคนพิการติดเตียง
- "เครือข่ายเกษตรสุขภาพจังหวัดสงขลา" ประชุมแกนคณะทำงานครั้งที่ 1/2568