"โควิด19 กับช่วงเปลี่ยนผ่านสำคัญ"

by punyha @2 มี.ค. 65 13:27 ( IP : 171...230 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์ , 4PW
  • photo  , 1366x768 pixel , 86,999 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 191,548 bytes.
  • photo  , 982x557 pixel , 67,022 bytes.
  • photo  , 976x553 pixel , 48,820 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 176,914 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 175,706 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 175,544 bytes.
  • photo  , 1366x768 pixel , 73,085 bytes.

"ช่วงเปลี่ยนผ่านสำคัญ"

โควิดโอไมครอนกำลังจะเปลี่ยนผ่านเป็นโรคประจำถิ่น 2-4 เดือนจากนี้  คือแนวคิดสำคัญที่ฝ่ายนโยบายรัฐกำหนดมา จากฐานการเก็บข้อมูลผู้ป่วยและลองใช้ระบบบริการทางสาธารณสุขเพิ่มทางเลือกที่จะเข้ามารองรับเสริมระบบเดิมที่มีอยู่

ซึ่งแต่ละพื้นที่กำลังแปลงนโยบายไปสู่การปฎิบัติ(รอความชัดเจนจากทีมระบบสาธารณสุขสื่อสารอีกครั้ง)

เฉพาะในพื้นที่อำเภอหาดใหญ่ มีผู้ป่วยกลุ่มสีเขียวที่จะต้องเข้าสู่ระบบ HI นี้ 98.50% เป็นกลุ่มไม่แสดงอาการ นั้นหมายความว่ากลุ่มเหล่านี้มีทั้งรู้ตัวและไม่รู้ตัว อาจจะผ่อนคลายมาตรการดูแลตัวเอง ปะปนใช้ชีวิตเช่นคนปกติ ความคิดว่าโอไมครอนไม่มีอันตราย ซึ่งจะมีผลทำให้ตัวเลขการติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น เกิดการแพร่เชื้ออย่างรวดเร็วมากขึ้น และส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยในกลุ่มสีเขียวที่มีอาการ หรือพัฒนาตัวเองจากกลุ่มเขียวกลายเป็นเหลือง และส่งผลต่อประชากรกลุ่มเหลือง-แดงที่จำเป็นจะต้องได้รับการดูแลจะไม่สามารถเข้าถึงระบบบริการ บุคลากรในระบบสาธารณสุขจะมามะรุมมะตุ้มดูแลกับกลุ่มสีเขียวนี้มากขึ้นไปด้วย

ประเด็นคือ กลุ่มผู้ป่วยสีเขียวที่ไม่แสดงอาการนี้ กำลังจะถูกดูแลในแบบไหน เพื่อไม่ให้เป็นภาระของระบบเกินไป และไม่ทำให้เกิดความรู้สึกผ่อนคลายตัวเองจนไปแพร่เชื้อให้คนอื่นโดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง

ภาวะสมดุลระหว่างการทำให้การติดเชื้อเป็นไปอย่างปกติไม่เพิ่มสูงอย่างรวดเร็ว กับการเข้าถึงผู้ป่วยเหลือง-แดง กลุ่มเสี่่ยง ของระบบสาธารณสุขและการดูแลตนเองของประชาชน จะเป็นจุดสำคัญที่สุดในช่วงสองเดือนนี้ ซึ่งประชาชนควรจะต้องรับรู้

ทีม Hatyai sandbox สรุปประเด็นสำคัญที่ควรดำเนินการเพื่อรองรับสถานการณ์ดังกล่าวก็คือ

1.การสื่อสารกับสังคม เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าใจสถานการณ์ที่เป็นจริงรวมถึงรับรู้แนวทางปฎิบัติที่เปลี่ยนแปลงจากเดิม หากติดเชื้อแล้วสามารถดูแลตัวเองได้ เพื่อไม่ให้พัฒนาจนกลายเป็นผู้ป่วยเหลือง/แดง รู้ว่าอาการระดับใดจึงควรเข้าพบแพทย์ รวมถึงระบบบริการให้มีความพร้อมในการดูแล หรือกระจายจุดบริการให้ทั่วถึง สังคมเองควรจะมีระบบช่วยเหลือดูแลกลุ่มเปราะบางที่ช่วยตัวเองไม่ได้ เช่น ผู้ป่วยที่อยู่คนเดียว คนจน

แนวปฎิบัติดังกล่าวควรสื่อสารออกมาผ่านช่องทางหรือสื่อที่หลากหลายให้สามารถเข้าถึงประชาชนในแต่ละกลุ่ม ทั้งให้ผู้รู้จัดทำ clip สั้นๆอธิบายอาการ แนวทางปฎิบัติที่เหมาะสม

หรือเชิงนโยบาย จัดหาหรือให้แต่ละบ้านควรมีชุดยาสามัญประจำบ้านสำหรับรับมือโควิด หรือมีเครือข่ายตาสัปรด มีครัวกลางในการดูแลกลุ่มเสี่ยงหรือผู้ป่วยที่ช่วยตัวเองไม่ได้ในชุมชน ส่งต่อความช่วยเหลือกับหน่วยงาน

ทั้งนี้จะมีความร่วมมือกับกขป.เขต 12 เชิญสื่อ/เพจดัง/ตัวแทนหน่วยงานแต่ละองค์กรในสังคมเข้ามาร่วมรับรู้สถานการณ์ และแนวปฎิบัติ สื่อเรื่องราวดีๆที่เกิดขึ้นในช่วงการรับมือ กระตุ้นความร่วมมือในการดูแลกันและกัน

2.ความร่วมมือกับสสอ./รพ.หาดใหญ่/ทน.หาดใหญ่ / เส้นด้ายหาดใหญ่ ร่วมขยาย Call center ที่จะมีศูนย์แม่ข่ายอยู่ที่เจบีหาดใหญ่ เปิดศูนย์ย่อยอีก 4 จุด ได้แก่

1.ศูนย์ ม.อ. ณ ชั้น 4 คณะพยาบาลศาสตร์ ม.อ.โดยทีมคณะพยาบาลร่วมกับทีม HCG ของ iMedcare มูลนิธิชุมชนสงขลาดูแล เน้นบริการในช่วงกลางวัน

2.i-style จะเป็นจุดเปิดให้อาสาสมัครทั้งใน ม.อ. ทีมเส้นด้ายและอื่นๆเข้าออกได้สะดวก

3.ม.หาดใหญ่ (กำลังประสาน)

4.เครือข่ายโรงเรียน(จะประสานกับวรพัฒน์) ระบบ call center นี้(รวมกับที่อื่นๆอีกหลายจุด เช่น ทน.หาดใหญ่ รพ.สต. รพ.ฯลฯ) จะเป็นด่านหน้าสำคัญในการชี้แจงกับประชาชน ช่วยตอบคำถาม รวมถึงช่วยคัดกรอง ทำให้ผู้ป่วยเข้าระบบได้เร็วขึ้น หรือประสานส่งต่อผู้ป่วยเหลือง-แดงเข้าสู่ระบบได้เร็วขึ้น

ปัจจุบันมีความต้องการที่ถูกถามมากๆคือ ความต้องการใบรับรองแพทย์และผลตรวจ RT-PCR

Relate topics

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน