"ความมั่นคงอาหารในครัวเรือน EP 1 พ.ศ.2565"

  • photo  , 960x720 pixel , 137,554 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 119,793 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 172,322 bytes.
  • photo  , 1080x810 pixel , 179,027 bytes.
  • photo  , 1080x810 pixel , 142,513 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 133,423 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 129,465 bytes.
  • photo  , 960x1280 pixel , 215,169 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 136,967 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 152,654 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 131,274 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 157,747 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 220,680 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 158,001 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 194,661 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 159,455 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 147,691 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 120,836 bytes.
  • photo  , 960x1280 pixel , 205,159 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 136,842 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 72,271 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 91,420 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 91,468 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 88,653 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 76,264 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 78,053 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 75,355 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 52,636 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 56,651 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 106,532 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 46,505 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 92,647 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 78,506 bytes.

"ความมั่นคงอาหารในครัวเรือน EP 1/2565"

ประเดิมปีใหม่ กิจกรรมห้องเรียนสวนผักคนเมืองเดือนมกราคม สัญจรมาเยือนสวนลุงนุ้ยป้าสาว สมาชิกกว่า 30 คนร่วมถอดบทเรียนการส่งเสริมการปลูกผักแบบคนเมืองมาเกือบสิบปี เพื่อยกระดับการดำเนินกิจกรรม พบกระบวนการสำคัญ ที่จะนำมาประกอบการสนับสนุนคือ

1.เป้าหมาย ในการส่งเสริมหรือแนวคิดสำคัญของสมาชิกในการผลิต ที่จะต้องชัดเจนว่าตนเองต้องการเป้าหมายใด ประกอบด้วย

1.1 เป้าหมายเพื่อการบริโภคในครัวเรือนหรือในชุมชน ในลักษณะของการแบ่งปันมากกว่าเชิงพาณิชย์ สมาชิกส่วนใหญ่มีแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเป็นชนชั้นกลางที่สนใจด้านสุขภาพ มีฐานะมั่นคง ต้องการคุณค่าในชีวิตที่มากกว่ารายได้ ประกอบด้วยข้าราชการเกษียณ ผู้สูงอายุที่ต้องการบริโภคอาหารสุขภาพ เป็นผู้ป่วยหรือมีครอบครัวล้มป่วยต้องการอาหารสุขภาพ และเชื่อมั่นในแนวทางเกษตรอินทรีย์ ต้องการปลูกเพื่อแบ่งปัน ไม่ต้องการมาตรฐานหรือระบบการผลิตมาควบคุม กลุ่มเหล่านี้จะเป็นปัจเจก มีความเป็นตัวของตัวเอง ส่วนใหญ่ถูกยกระดับเป็นจุดเรียนรู้ มีชื่อสวนหรือแบรนด์เฉพาะของตน

กลุ่มนี้ต้องการเพื่อน ต้องการการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หรือถ่ายทอดความรู้ ต้องการเติมเต็มคุณค่าในชีวิต

1.2 เป้าหมายเพื่อสร้างรายได้ กลุ่มนี้จะจำแนกเป็นอีก 2 ประเภท ได้แก่ 1)กลุ่มรายย่อยหรือรวมตัวกันเป็นชมรม กลุ่ม เริ่มมีระบบมาตรฐาน PGS เข้าไปให้การรับรอง บางส่วนยกระดับเป็นวิสาหกิจชุมชน ชักชวนเกษตรกรจากกลุ่มประเภทที่ 1 ที่มีผลผลิตเหลือพอมาจำหน่าย กลุ่มนี้ส่วนหนึ่งมีตลาดประจำ ปริมาณผลผลิตมีไม่มากนัก และบางส่วนต้องการระบบตลาดที่ไม่ผูกมัดประจำ จำหน่ายก็ต่อเมื่อมีผลผลิต สามารถหาตลาดของตัวเอง หรือมีตลาดส่งตรง หรือผ่านตลาดเขียว ตลาดรถเขียว 2)กลุ่ม GAP ผลิตในระดับปลอดภัย กลุ่มเหล่านี้จะมีเกษตรกรรุ่นใหม่ เอกชน เริ่มคิดเป็นผู้ประกอบการ มีรายได้ประจำจากการผลิต และต้องการตลาดประจำ บางกลุ่มมีการรวมตัวกันเป็นนิติบุคคล หรือวิสาหกิจที่สามารถเป็นคู่ค้ากับภาครัฐ

กลุ่มนี้ต้องการการรวมกลุ่มในพื้นที่ไม่ห่างกันนัก เพื่อทำแผนการผลิตร่วม เนื่องจากเป็นรายย่อยกระจัดกระจายกันคนละทิศละทาง พร้อมวางระบบการขนส่งการรวบรวมผลผลิต และการตลาดล่วงหน้า รวมถึงตลาดประจำ

2.ความรู้พื้นฐานที่พึงมี ในส่วนของเกษตรกรเองจำเป็นจะต้องเรียนรู้โครงสร้างของดิน การทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยน้ำ รูปแบบการปลูก เมล็ดพันธ์ การจัดการศัตรูพืช การตลาด และรวมถึงงบประมาณสำหรับการจัดการการผลิต ปัจจัยการผลิต สามารถปรับประยุกต์ทุนหรือสภาพแวดล้อมให้สอดคล้องกับเป้าหมาย

3.ระบบสนับสนุนจากภาคส่วนต่างๆ เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกหรือช่วยลดต้นทุนการผลิต มีตั้งแต่ทีมพี่เลี้ยงให้คำปรึกษาแก้ปัญหาการผลิต การตลาด รวมไปถึงการส่งเสริมการรวมกลุ่ม/การวางแผนการผลิต การสร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันและกัน การพัฒนาศักยภาพ การสนับสนุนปัจจัยการผลิตพื้นฐาน(ดิน ปุ๋ย น้ำ พลังงาน น้ำหมัก เมล็ดพันธ์ุ โรงเรือน มาตรฐาน บรรจุภัณฑ์) การตลาด และที่สำคัญต้องการนโยบายเพื่อกระตุ้นการผลิต เพื่อทำให้เกษตรกรทั้ง 3 ประเภทปรับตัว ปรับเปลี่ยนการผลิตขยายผลผลิต

เป้าหมายนี้สำคัญมากๆสำหรับกำหนดกลุ่มเป้าหมายและการออกแบบการสนับสนุนเพราะมีฐานคิดที่แตกต่างกัน แม้สุดท้ายเกษตรกรเองจะสามารถปรับเปลี่ยนฐานคิด ปรับตัวให้ต่างจากเดิมก็ตาม

สำหรับสวนลุงนุ้ยป้าสาว อยู่ในพื้นที่ 3 งาน ทต.ควนลัง ป้าสาวเริ่มจากความสนใจประกอบกับทำงานที่เกี่ยวข้องการกับการก่อสร้าง เริ่มจากปรับพื้นที่ กำหนดโซนปลูกผักกับไม้ยืนต้นตามสภาพดินและความสวยงาม เริ่มด้วยการจัดการดินพร้อมปลูก การเพาะต้นกล้า นำไปสู่การจัดการแปลงบนดิน ต่อมาปรับรูปแบบเป็นปลูกแบบยกแคร่ ปลูกผักอายุสั้น สร้างระบบนิเวศให้กับแปลงผัก มีทั้งปลูกเดี่ยว ปลูกผสมผสานอย่างหลากหลายชนิดผักในแปลงเดียวกัน มีไม้ดอกผสมผสาน มีไม้ยืนต้นเป็นแนวกันชน ปรับสภาพดินไปในตัว ทำให้พบปัญหาแมลงรบกวนน้อย ดินที่่เตรียมโครงสร้างมาดีทำให้เก็บความชื้นได้มาก มีระบบน้ำเท่าที่จำเป็น ต่อมาได้รับการสนับสนุนจากมทร.ศรีวิชัย นำโรงเรือนระบบปิดมาให้ทดลองใช้ ปัจจุบันได้ทำร้านกาแฟพร้อมกับลูกสาว นำผลผลิตมาแปรรูปเป็นน้ำปั่่นผัก น้ำผลไม้อีกด้วย

ทั้งนี้ในห้องเรียนยังได้เสนอแนะแนวทางการส่งเสริมการปลูกผักสามัญประจำครัว ซึ่งประกอบด้วยผักสวนครัว และผักหมุนเวียนตามฤดูกาล โดยคำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการ นำหลักการ "สร้างระบบนิเวศขนาดเล็กในแปลงผัก" กับ "ผัก 5 สี" มายกร่างชนิดผัก รูปแบบการผลิตอีกด้วย

หมายเหตุ ห้องเรียนสวนผักคนเมืองหาดใหญ่ โดยมูลนิธิชุมชนสงขลา จะมีประจำทุกวันอาทิตย์สุดท้ายของเดือน ช่วงเช้าโดยสัญจรไปยังแหล่งเรียนรู้ในพื้นที่ พร้อม Live สดผ่านเฟชบุ๊คกลุ่มสวนผักคนเมือง

#ผักเปลี่ยนเมือง

#ความมั่นคงอาหารในเขตเมือง

#ไม่มีที่ก็ปลูกผักได้

ขอบคุณภาพจาก คุณครูประยูร ส่งแสงอ่อน สวนเบญจพฤกษ์

ชมย้อนหลัง

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน