"จังหวะก้าว iMedCare"

  • photo  , 960x720 pixel , 112,444 bytes.
  • photo  , 960x1050 pixel , 109,202 bytes.
  • photo  , 1366x768 pixel , 70,773 bytes.
  • photo  , 1705x960 pixel , 124,455 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 122,557 bytes.
  • photo  , 1567x1045 pixel , 141,294 bytes.
  • photo  , 1080x1080 pixel , 132,032 bytes.
  • photo  , 858x1907 pixel , 29,708 bytes.
  • photo  , 858x1907 pixel , 83,820 bytes.

"จังหวะก้าว iMedCare"

ในฐานะผู้พัฒนาระบบ มูลนิธิชุมชนสงขลาและดร.แสงอรุณ อิสระมาลัย คณะพยาบาลศาสตร์

วันที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๖๔ นัดหมายหารือร่วมกับคณบดี เพื่อวางจังหวะก้าวความร่วมมือในการนำ Platform iMedCare ไปขยายผล โดยมีแนวทางดังนี้

๑.จดอนุสิทธิบัตร เพื่อให้สามารถสร้างหลักประกัน เป็นเจ้าของแนวคิดแนวทางการพัฒนา Platform นี้ และสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับ อุทยานวิทยาศาสตร์และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่ต่อไปจะมาหนุนเสริมกลไกการตลาด และแบ่งปันผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น

๒.Platform นี้จะมีรูปแบบการบริหารจัดการ พัฒนาไป ๓ รูปแบบ กล่าวคือ ระยะที่ ๑ ดำเนินการในรูปแบบคู่ขนานกับ ระหว่างพื้นที่เมือง และชานเมือง/ชนบท โดยดำเนินการในลักษณะหุ้นส่วนความร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้อง เน้นการกระจายพื้นที่ กระจายความรับผิดชอบ และเติบโตไปด้วยกัน

๒.๑ รูปแบบธุรกิจเพื่อชุมชน/สังคม เสริมหนุนระบบบริการสุขภาพในสังคมสูงวัยที่อาจจะมีช่องว่าง ต้องการการเติมเต็ม โดยมูลนิธิชุมชนสงขลาในฐานะผู้ดูแลโปรแกรม การพัฒนาระบบเทคโนโลยีและสร้างกระบวนการความร่วมมือในระดับชุมชน/ตำบล ส่วนคณะพยาบาลจะดูแลในส่วนของมาตรฐานการบริการ การออกใบรับรอง การพัฒนาบุคลากร ผู้ดูแลที่บ้าน(Home Care Giver)

-เป้าหมาย ระดับตำบล ร่วมกับอปท./กองทุนสุขภาพตำบล/LTC กขป.เขต ๑๒ และภาคีเครือข่าย พัฒนาบุคลากร จัดทำแผนบริการ/ธรรมนูญสุขภาพ จัดระบบการให้บริการ โดยทำงานร่วมกับ CM ในพื้นที่ เติมเต็มระบบบริการในพื้นที่ที่ต้องการ เน้นการรองรับสังคมสูงวัย ดูแลกลุ่มเปราะบางทางสังคม

-ระดับจังหวัด บูรณาการข้อมูลและทิศทางร่วมกับกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัด นำข้อมูลการให้บริการเข้าสู่ระบบข้อมูลกลางระดับจังหวัด

ในส่วนนี้จะเน้นความร่วมมือ นำงบประมาณจากแผนงานโครงการจากภาครัฐ ท้องถิ่นที่มีไปเสริมหนุนต้นทุนการดำเนินงาน ผ่านการ MOU ร่วมกัน

๒.๒ การบริการในเขตเมืองผ่านธุรกิจระดับพรีเมี่ยม มุ่งเน้นกลุ่มลูกค้าที่มีกำลังจ่ายค่าบริการ โดยจับมือกับภาคเอกชนที่ให้บริการอยู่แล้ว พัฒนาบุคลากรให้ผ่านมาตรฐาน ยกระดับคุณภาพการบริการ และประสิทธิภาพในการให้บริการด้วย Platform นี้ โดยมูลนิธิชุมชนสงขลาและคณะพยาบาลฯจะแสวงหาพันธมิตรในการร่วมงาน ทั้งที่เป็นเอกชนและวิสาหกิจชุมชน และภาคประชาสังคมระดับจังหวัดมาร่วมดำเนินการ โดยมี Admin รวมถึง CM ของตนเอง

ทั้งสองรูปแบบจะมีการแบ่งปันรายได้ที่เกิดขึ้นร่วมกันอย่างเป็นธรรม ไม่ได้มุ่งแสวงหากำไร แต่ให้สามารถดูแลระบบ และลดช่องว่างการเข้าถึงบริการให้กับกลุ่มเป้าหมาย ผ่านการเป็นแฟรนไชส์

ช่วงแรกจะดำเนินการในพื้นที่ภาคใต้เป็นหลัก หรือบางจังหวัดที่มีเครือข่ายร่วมดำเนินการ ระยะที่ ๒ จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล รูปแบบบริษัท เพื่อเตรียมตัวระดมหุ้นผ่านสู่ตลาดหลักทรัพย์ หรือบริษัทมหาชน ซึ่งสามารถขยายธุรกิจไปได้ในระดับนานาชาติ โดยเน้นการขาย Platform


iMedCare ระบบดูแลผู้ป่วยที่บ้านและพัฒนาบุคลากรผู้ดูแลที่บ้าน(HCG)ได้รางวัลนวตกรรมดิจิตอลลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ในการนำเสนอในงานมหกรรมนวตกรรมการแพทย์และสุขภาพ ณ อุทยานวิทยาศาสตร์แห่งชาติ เมื่อวันที่ ๘-๙ ธันวาคม ๒๕๖๔ ที่ผ่านมา

นำเสนอโดย ผศ.ดร.แสงอรุณ อิสระมาลัย

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน