"SUCCESS เมืองปาดังเบซาร์"
"SUCCESS เมืองปาดังเบซาร์"
วันที่ 26 ตุลาคม 2564 ประชุมคณะทำงานเมืองปาดังเบซาร์ กิจกรรม 1.3 ในสถานการณ์วิกฤตโควิดในพื้นที่ จึงจัดแบบ onsite และ on Zoom รอบนี้มีบุคลากรทางสถานศึกษา นักพัฒน์ของทม.ปาดังเบซาร์ คณะทำงานเข้าร่วม
มีข้อสรุปสำคัญดังนี้
1.ทบทวนที่มาของโครงการ กำหนดบทบาทการทำงานร่วมกันในส่วนของคณะทำงานจากหน่วยงานที่จะขอเป็นที่ปรึกษาและหนุนช่วยการทำงาน ให้คณะทำงานประสานเชื่อมโยงไปตามระบบการทำงานของแต่ละองค์กร เสนอให้เพิ่มผู้แทนผู้สูงอายุ สตรี เด็กและเยาวชน
2.มองภาพพัฒนาการเมืองปาดังเบซาร์จากอดีตสู่ปัจจุบันและอนาคต
เมืองปาดังเบซาร์เดิมอยู่ในตำบลทุ่งหมอ ต่อมาแยกตัวออกมา ประกอบด้วย 2 อปท.ในพื้นที่ 11.22 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ติดชายแดนมาเลเซีย ชื่อนี้แปลว่าทุ่งใหญ่ มีหญ้าไว้เลี้ยงสัตว์ ภูมิประเทศเป็นที่ราบเชิงเขา ลาดเอียง เป็นเมืองหน้าด่านที่พลุกพล่านไปด้วยการขนส่งสินค้า ทั้งนำเข้าจำพวก กระเทียม น้ำมัน ขนม (อดีตขนส่งกันด้วยมอเตอร์ไซด์ ผ่านทางภูเขา) สินค้าส่งออกจำพวกไม้ยาง เฟอร์นิเจอร์ ผ่านรถตู้คอนเทรนเนอร์ ผู้คนเดินทางไปมาระหว่างพรมแดน ประชากรวัยแรงงานข้ามแดนไปทำมาหากินในประเทศมาเลเซีย
ชุมชนมี 3 รูปแบบ ได้แก่
1)เขตหน้าด่าน จะเป็นพื้นที่การศึกษา การขนส่ง ที่อยู่อาศัย มีท้้งวัด มัสยิด ด่าน โรงเรียน เป็นที่อยู่ของชุมชนพุทธ ส่วนนี้จะเป็นเป้าหมายของโครงการในการศึกษา ประกอบด้วย 2 ชุมชนสำคัญ ประสบปัญหามลภาวะจากการขนส่งสินค้า ฝุ่น อุบัติเหตุ โรคทางเดินหายใจ
2)เขตเศรษฐกิจ เป็นพื้นที่ค้าขาย ที่มีทั้งชาวจีน มุสลิม ปัจจุบันวัยแรงงานถูกผลักดันให้กลับมาจากมาเลเซียด้วยปัญหาโควิด
3) เขตชุมชนติดชายแดน เป็นพื้นที่ทำสวน ทำเกษตร ชุมชนมุสลิมอยู่อาศัย วิถีชุมชนเป็นแบบพหุวัฒนธรรม ทั้งไทยพุทธ มุสลิม คริสต์ จีน อาศัยร่วมกันมานาน
แนวโน้มการพัฒนา เป็นพื้นที่ใกล้ชิดกับเขตเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งปาดังเบซาร์จะต้องเชื่อมโยงเพื่อผลักดันใช้ประโยชน์และลดผลกระทบที่อาจเกิด การพัฒนาควรมีการวางผังเมืองร่วมกันเพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนา รวมถึงโครงการมอเตอร์เวย์ที่มีการผลักดันแต่ยังไม่เกิด การพัฒนาด้านเศรษฐกิจพึ่งพาประเทศมาเลเซียเป็นหลัก
3.ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ปัญหาหลักคือภาวะอุณหภูมิที่สูงขึ้นทั้งจากปัจจัยธรรมชาติและจากฝีมือมนุษย์ ส่งผลให้เกิดมลภาวะในพื้นที่ ฝุ่น PM.2.5 ทั้งจากการเผาไหม้ข้ามแดนจากประเทศอินโดนีเซีย การเผาไล่แมลง การขนส่ง การจราจร และการจัดการขยะ ส่วนการเกิดอุทกภัย พบปัญหาเพียงการระบายน้ำไม่ทันในบางช่วงด้วยปัญหาขยะอุดตันท่อระบายน้ำ
4.บทเรียนจากโควิด สะท้อนจุดอ่อนสำคัญของระบบเมืองได้แก่ การทำงานในภาพรวมที่จำเป็นจะต้องมีกลไกประสานเชื่อมโยง ทุกส่วนที่เกี่ยวข้องทำงานอยู่กับการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า แยกส่วนจากกัน ไม่กระจายอำนาจ มีแนวปฎิบัติที่ต้องการปรับปรุง และมีส่วนร่วม ประชาชนเข้าไม่ถึงข้อมูลในภาพรวมและแนวปฎิบัติที่ชัดเจน ครบวงจร
ในส่วนเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครมีความเสี่ยงในการทำงาน อสม.ยังเป็นกลไกสำคัญที่มีบทบาทในการหนุนช่วยชุมชน
5.การทำงานต่อไป ปรับเพิ่มคณะทำงานในเอกสารโครงการ ให้ผู้รับผิดชอบโครงการยกร่างแนวคำถาม แบบสอบถาม ช่วยกันดูความสมบูรณ์กับทีมเล็ก/สถานศึกษา ก่อนนำเข้าที่ประชุมคณะทำงานเติมเต็ม
Relate topics
- จดหมายข่าวโครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง (SUCCESS) ฉบับที่ 1 - 10
- ก้าวที่ 1 ของ iMedCare ธุรกิจเพื่อสังคมของสงขลา"
- "แผนผังภูมินิเวศ"
- เครือข่าย SUCCESS เมืองควนลังร่วมงานส้มโอเมืองควนลังปี 2567
- "ทีม iMedCare วิถีผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน"
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 11 - 21
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 1 - 10
- "iMed@home ระบบกลุ่ม"
- สมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลาชูวาระ "พลิกโฉมพลังพลเมืองสงขลาเพื่อสังคมสุขภาวะที่ยั่งยืน"
- กิจกรรมรับบริจาคโลหิตประชารัฐสงขลาประจำเดือนตุลาคม 2567