"เครือข่ายเมืองสงขลายกระดับการทำงานคนจนเมือง"

by punyha @26 ก.ย. 64 11:20 ( IP : 124...227 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์ , โครงการ SUCCESS
  • photo  , 960x720 pixel , 152,484 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 143,823 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 149,064 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 123,776 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 129,557 bytes.
  • photo  , 640x1315 pixel , 155,549 bytes.

"เครือข่ายเมืองสงขลายกระดับการทำงานคนจนเมือง"

อำเภอเมือง สงขลา มีฐานคนจนเมืองอยู่จำนวนมาก ส่วนหนึ่งเข้าสู่โครงการบ้านมั่นคงเพื่อแก้ปัญหาที่อยู่อาศัย แต่ก็ยังมีผู้เดือดร้อนอีกจำนวนมาก เป็นปัญหาหนึ่งที่สะสมตัวมายาวนาน

บ่ายวันที่ 24 กันยายน 2564  ณ ที่ทำการกลุ่มออมทรัพย์ชุมชนแหลมสนอ่อน

มูลนิธิชุมชนสงขลา/สมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลา/โครงการ Success เข้าร่วมกับ พอช. นัดแกนนำเครือข่ายพัฒนาเมืองสงขลา 13 ชุมชนของเมืองสงขลา(ทน.สงขลา) ที่จะดำเนินการโครงการแก้ปัญหาความเดือดร้อนชุมชนผู้มีรายได้น้อยที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ภายใต้งบเร่งด่วนของรัฐบาลหารือแนวทางบริการจัดการ หลังได้รับอนุมัติงบประมาณ โดยสรุปบทเรียนการทำงานเดิม ยกระดับสร้างเครือข่ายการทำงาน และชุมชนใหม่ๆเข้าร่วม

1)โครงการเสนอโดยพอช. มีเงื่อนไขที่ต้องการสร้างความเปลี่ยนแปลงในการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่าย จึงจัดระบบการทำงานให้มีองค์กรความร่วมมือเข้ามาทำงานร่วมอย่างใกล้ชิด ในพื้นที่เมืองสงขลา เครือข่ายได้เสนอมูลนิธิชุมชนสงขลาเข้ามาร่วมดำเนินการ ทั้งนี้กิจกรรมโครงการระยะสั้นจะมีงบประมาณสนับสนุนไปยังชุมชนตามขนาดปัญหา ในการช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง พัฒนาคุณภาพชีวิต ที่อยู่อาศัย อาชีพ จำนวน 3.5 แสนบาท และมีงบสำหรับคณะทำงานเมืองเพื่อร่วมบริหารโครงการระยะยาว 1.5 แสนบาท

2)งบเ่ร่งด่วนนี้อนุมัติมาแล้วตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน ทีมงานเสนอให้มีการขยายเวลาดำเนินการไปถึงธันวาคม 2548 โดยงบจะโอนต่อให้ชุมชนโดยตรงตามจำนวนที่อนุมัติงวดเดียว แต่ให้ชุมชนเปิดบัญชีรองรับ เงื่อนไขเบิกจ่าย 2 ใน 3

3)แนวทางบริการจัดการ สรุปบทเรียนปรับปรุงการทำงานให้ดียิ่งขึ้นดังแนวทางต่อไปนี้

1.งานชุมชน มีข้อเสนอ

1.1 ทั้ง 13 ชุมชนปรับปรุงหรือให้มีคณะทำงานที่ประกอบด้วยแกนนำ ตัวแทนพื้นที่/ซอย/โซน กลุ่มวัย กลุ่มอาชีพ เครือข่ายภายในและภายนอก ให้สมดลทั้งการทำงาน การขับเคลื่อน การบริหารจัดการ มีทีมบริหารโดยเฉพาะการเงินที่ชัดเจน เพื่อวางพื้นฐานการทำงานระยะยาว

1.2 สร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชน ทั้งการสื่อสาร การประชุมชี้แจง เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับรู้แนวทางโครงการ วิเคราะห์กลุ่มอาชีพที่จะเป็นกลุ่มเป้าหมาย มาร่วมกำหนดกติกาการใช้งบประมาณ ที่ไม่ใช่เงินสงเคราะห์ให้เปล่าแต่จะต้องหมุนเงินกลับคืนมาเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องระยะยาว

1.3 บริหารจัดการโครงการอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ ภายใต้กิจกรรมที่เสนอเอาไว้ในโครงการ หากมีการแก้ไขให้ขออนุมัติจากคณะกรรมการเมือง พร้อมกับทีมบริหารจัดการเรื่องการเงิน ใบเสร็จ ภาพถ่ายกิจกรรม ใบลงทะเบียน ที่จะมีแบบฟอร์มโครงการให้นำไปใช้

1.4 จัดตั้งกลุ่ม line กลางเพื่อใช้ในการสื่อสารการทำงาน

1.5 นำเสนอความก้าวหน้า ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำงาน ร่วมแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างทางในการประชุมคณะกรรมการเมืองเป็นระยะ

1.6 มีทีมประเมินภายในโดยประสานงานสถาบันการศึกษามาเป็นทีมร่วมจัดการความรู้ ติดตามประเมินภายในแบบเสริมพลัง

2.งานกลางของเมือง ดำเนินการโดยคณะทำงานเมือง รับผิดชอบบริหารโครงการในภาพรวม/การติดตามประเมินผล จัดการความรู้ การพัฒนากลุ่มส่งเสริมอาชีพ/การตลาด การสำรวจข้อมูลที่อยู่อาศัย การทำงานกับด้านสื่อกับเยาวชน ที่ประชุมเสนอองค์กรเครือข่ายต่างๆ 12 เครือข่าย

ประกอบด้วย ทน.สงขลา พอช. สภาองค์กรชุมชนอำเภอเมือง พมจ./ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง สนง.ส่งเสริมสหกรณ์ ธนารักษ์/การรถไฟ/ที่ดิน/วัด/มัสยิด/ สมาคมสวัสดิการภาคประชาชนสงขลา สมาคมเครือข่ายสุขภาพผู้สูงอายุ สมาคมอาสาสร้างสุข มทร./ม.ราชภัฎ/ม.ทักษิณ มูลนิธิชุมชนสงขลา

โดยจะนัดหารือวางแนวทางดำเนินการนัดแรก 11 ตุลาคม 13.00 น. ณ ทน.สงขลา

หมายเหตุ 13 ชุมชนประกอบด้วย

1.แหลมสนอ่อน 2.แหลมทราย 3.วัดศาลาหัวยาง 4.ศาลาเหลืองเหนือ 5.มัสยิดบ้านบน 6.หัวป้อม 7.หลังวิทยาลัยอาชีวะ 8.เมืองใหม่พัฒนา 9.เก้าเส้ง 10.บ่อนวัวเก่า 11.นอกสวน 12.สวนหมาก 13.กุโบร์

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน