ร่วมคิด ร่วมคุย ร่วมทำ ร่วมพัฒนาเมืองสู้โควิดอย่างยั่งยืน บทเรียนเฟส ๑ Hatyai sandbox ตอนที่ ๓
วันที่ ๙ กันยายน ๒๕๖๔
"ยกที่ ๑ หาดใหญ่ Sandbox Plus"
เปิดแถลงข่าวกันไปแล้ว วันที่ ๙ กันยายน ๒๕๖๔ เวลา ๐๙.๐๐ น. นายจารุวัฒน์ เกลี้ยงเกลา ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ให้เกียรติเป็นประธานจัดแถลงข่าวกิจกรรม Hatyai Smart & Clean ณ ห้องประชุมเทศบาลนครหาดใหญ่ โดยมีนายสาคร ทองมุณี นายกเทศมนตรีนครหาดใหญ่ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่อำเภอหาดใหญ่ และผู้แทนองค์กรความร่วมมือกว่า 30 องค์กรเข้าร่วม
ร่วมสร้างต้นแบบเมืองปลอดภัยอย่างยั่งยืน สมดุลด้านสาธารณสุข เศรษฐกิจและสังคม ประกาศใช้พื้นที่เมืองหาดใหญ่เป็นจุดทดสอบปฏิบัติการ(Sandbox) ชูแนวคิดเปิดเมืองอย่างยั่งยืนให้กับประชาชนในพื้นที่และต่างเมืองมาใช้บริการ Hatyai Sandbox Plus แตกต่างจากภูเก็ต sandbox ที่เน้นรับนักท่องเที่ยวต่างชาติและเป็นพื้นที่ปิด ขณะที่เมืองหาดใหญ่เป็นเมืองเปิดมีลักษณะทางกายภาพคล้ายกับหัวเมืองเศรษฐกิจของประเทศคือมีทางเข้าออกหลายทาง การริเริ่มเชิงนโยบายนี้จะเปิดประเด็นสาธารณะต่อแนวทางการอยู่ร่วมกับโควิดอย่างปลอดภัยไปด้วย
เปิดกิจกรรมแรก “Hatyai Smart & Clean สถานที่ปลอดภัย สำหรับคนที่ปลอดภัย นำ ๖ ร้านอาหารและเครื่องดื่มเฟสที่ 1 ที่จะดำเนินกิจกรรมแรก ร่วมแถลงข่าวโดยมีร้านต้นแบบ จำนวน ๖ ร้านประกอบด้วย
๑.ร้านอาหารไทยเจ๊เล็ก ๒.ร้านทัศปัณเบคชอป ๓.ร้านเลอริช ๔.ร้านป่ายาง ๕.ร้านกาแฟพันธุ์ไทย สาขา(เขตแปด) ๖.ร้านสะหวา
สาธิตการใช้มาตรการภายใต้เงื่อนไขการบริการแบบใหม่ New Normal Service พนักงานต้องได้รับการฉีดวัคซีน หรือการตรวจ ATK ตามเกณฑ์ที่กำหนด หากยังไม่ได้รับวัคซีน ต้อง ATK ทุก ๓ วัน หากได้รับ ๒ เข็มจะต้องตรวจ ATK ทุก ๗ วัน พร้อมการดำเนินมาตรการของสถานประกอบการตามนโยบาย ศบค. และคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดสงขลา และใช้แอพพลิเคชั่น OneChat เพื่อแสดงสถานะ การฉีดวัคซีน หรือ ATKของพนักงาน และสามารถแสดงเป็นสถานที่ปลอดภัยในแผนที่ของ OneChat
ในส่วนของลูกค้าที่เข้ามานั่งรับประทานอาหารในร้าน สำหรับเฟสที่ ๑ จะต้องแสดงสถานะการฉีดวัคซีนที่ต้องได้รับวัคซีนครบ ๒ เข็ม หรือมีผลตรวจโควิด ผ่าน RT-PCR หรือ ATK เป็นลบ ในระยะเวลา ๓ วัน (๗๒ ชั่วโมง) ก่อนเข้ารับบริการ ลูกค้าสามารถประเมินความพึงพอใจและมีส่วนร่วมในการตรวจสอบมาตรการการให้บริการผ่านแอพพลิเคชั่น OneChat ได้อีกด้วย
"หาดใหญ่ Sandbox Plus ไม่ได้เปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติแบบภูเก็ต"
นี้คือสาระสำคัญที่เข้าใจคลาดเคลื่อนที่สุดของโครงการนี้ เมื่อเอ่ยถึง Sandbox ขึ้นมาหลายคนนึกเชื่อมโยงประสบการณ์กับภูเก็ตทันที ทำให้จินตนาการไปว่าหาดใหญ่กำลังจะเปิดเมืองรับนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาแบบภูเก็ต พาลตำหนิว่าทำไปได้อย่างไรทั้งที่ผู้ติดเชื้อก็ยังมากอยู่ เดี๋ยวจะทำให้เมืองเราแย่ไปกันใหญ่ ทั้งที่กลุ่มเป้าหมายหลักของโครงการนี้ก็คือคนหาดใหญ่ด้วยกัน หรือคนไทยด้วยกัน
อย่าลืมว่า Sandbox คือแนวทางหนึ่ง ที่เรานำมาใช้ในกรณีต้องการทดสอบอะไรสักอย่าง ลองผิดลองถูกจนมั่นใจก่อนที่จะขยายผลทำจริง ใครนำไปใช้กับกิจกรรมใดก็ได้
ที่สำคัญ ลืมนึกไปว่าปัจจุบันเรากำลังเปิดเมืองตามนโยบายรัฐบาลอยู่แล้ว คนหาดใหญ่กินเที่ยวกันเอง หรือคนต่างจังหวัดที่เป็นคนไทยด้วยกันนี่แหละ แต่หาได้เคร่งครัดตามมาตรการที่กำหนด กรณีนี้ต่างหากที่จะทำให้เกิดการปิดเมืองตามมาอีกเมื่อไรก็ได้
ขณะที่เรียกหาวัคซีน แต่ยังไม่แน่นอนว่าจะมาได้เมื่อไร หรือมาก็คงไม่มากพอรองรับประชากรของหาดใหญ่ที่มีทั้งประชากรตามทะเบียนราษฎร์ ประชากรแฝงทั้งลูกจ้างต่างถิ่น คนต่างจังหวัด นักศึกษา ไม่นับแรงงานต่างชาติอีกไม่น้อย ตัวเลข ๗๐% ดูเหมือนว่าไม่เพียงพอต่อการสร้างภูมิคุ้มกันเสียด้วยซ้ำ
ความร่วมมือในการส่งเสียงว่าคนหาดใหญ่ต้องการนโยบายเปิดเมืองที่ยั่งยืนจากแต่ละภาคส่วนโดยไม่รอนโยบาย และมีพื้นที่ตัวอย่าง "สถานที่ปลอดภัย สำหรับคนที่ปลอดภัย" ทั้ง ๖ แห่งนี้ต่างหากเล่าที่จะเป็นทางออกในท่ามกลางข้อจำกัดทำให้ผู้มีอำนาจหันมามอง และสนองตอบต่อสิ่งที่เราต้องการ
วันที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๖๔
"กิจกรรมหาดใหญ่ Smart&Clean สถานที่ปลอดภัยสำหรับคนปลอดภัย"
ผ่านไป ๑ วันหลังแถลงข่าว ทีมงานนัดสรุปบทเรียนและติดตามงาน มีข้อสรุปสำคัญ
๑)ยังมีความเข้าใจกิจกรรมหาดใหญ่ Sandbox Plus ไปเทียบเคียงกับภูเก็ต sandbox โดยไม่ได้ดูรายละเอียด เห็นแต่ข้อความ มีข้อเสนอแนะทางแก้
๑.ให้ทำสื่ออธิบายเปรียบเทียบความต่างให้ชัดเจน
๒.ชูกิจกรรมหาดใหญ่ Smart&Clean ตามด้วยร้านอาหารและเครื่องดื่ม หรืออื่นๆขึ้นมานำเสนอเป็นคำสำคัญแทน
๓. นำเสนอ ๗ ข้อดีของหาดใหญ่ Sandbox Plus ๕ ข้อดีของการเข้าร้านค้านำร่อง
๒)กรณีร้านค้า จะสรุปอีกครั้งวันอาทิตย์ มีข้อเสนอแนะสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายที่ผ่านการฉีดวัคซีนโดยตรงในช่วงสัปดาห์หน้าที่จะมีผู้มาฉีดวัคซีนเข็มที่ ๒ ณ จุดบริการฉีดวัคซีน เช่น เซนทรัลเฟสติวัล สนามจิระนคร เพิ่มไวนิลติดหน้าร้าน ในส่วนร้านค้าใหม่ที่จะมาเข้าร่วมบางส่วนกังวลใจกลัวลูกค้าน้อย กลัวเสียลูกค้า
กรณี ATK เพื่อลดค่าใช้จ่าย ทางเทศบาลจะเปิดศูนย์บริการตรวจฟรีให้ ๔ แห่งตั้งแต่วันที่ ๑๔ กันยายนนี้ และทางทีมงานได้ประสานจัดหา ATK มาให้ในราคา ๑๐๐ บาทต่อชิ้น จำนวน ๑,๐๐๐ ชิ้นมาช่วยเหลือร้านค้า ใช้เงินกองทุนที่ปัจจุบันมีผู้บริจาคมา ๔ ราย จำนวน ๒ แสนบาท
ให้กองทุนไปเปิดบัญชีเปิดรับบริจาคและหารือกับกองทุนเมืองที่ท่านสมพร ใช้บางยาง จะดำเนินการร่วมกันอีกครั้ง
๓)ความสะดวกในการใช้งานแอพ OneChat จะปรับให้สามารถดาวน์โหลดติดตั้งให้ง่ายขึ้น หรือสะแกนผ่าน Qrcode ในร้าน
๔)การประชาสัมพันธ์ ทีมได้หารือทำความเข้าใจกับทีม PR ของเทศบาลนครหาดใหญ่ และสามารถใช้ช่องทางสื่อของเทศบาลในการประชาสัมพันธ์ ได้แก่ เฟชบุ๊ค lineOA vdo wall หน้าพลาซ่า ป้ายบิลบอร์ด ๔ มุมเมือง หรือสัมภาษณ์ในรายการวิทยุ
๕)ได้ประสานท่านอธิการบดี ม.อ. ทราบว่าทางมอ.ยินดีสนับสนุนโครงการเต็มที่
๖)เริ่มรับสมัครเฟส ๒ ผ่าน google form ลงทะเบียนเอาไว้ก่อนในทุกประเภทสถานประกอบการที่ ศบค.อนุญาต
นัดประชุมอีกครั้งวันอาทิตย์ นัด ๖ ร้านค้ามาสรุปผลการดำเนินกิจกรรมในช่วง 3 วันแรก
วันที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๖๔
คำชี้แจง กรณีงานแถลงข่าว โครงการ "Hatyai Sandbox Plus พื้นที่ทดสอบการเปิดเมืองอย่างยั่งยืน" มีผู้ติดเชื้อโควิด-๑๙ มาร่วมงานจำนวน ๑ คน
![คำชี้แจง]
(https://www.facebook.com/HatyaiSandBoxPlus/photos/a.107390205020012/111679867924379/?cft[0]=AZXHuZJOyPcMBb3iNK1jcXO3vggHc6z-i2FdyXpoowHZ5BQu-1e-Md9MaReLZTqVw1QAXYNjOrsEqOQdisRfdZZSJoZiYgklYR1ZMcNtRln3NIVAp1l7yl6uzskjWFluQiY6ErCrzIJyvYUAS4jT&tn=EH-R "ชื่อภาพ")
วันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๖๔
ช่วงเช้า วงคุย "Hatyai Care ชุมชนปลอดภัย ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง"
กิจกรรม Hatyai Care เป็น ๑ ในกิจกรรม หาดใหญ่ Sandbox Plus นัดประชุมทีมนัดแรก กำหนดเป้าหมายการดำเนินงาน
องค์กรความร่วมมือที่จะเสริมเทศบาลนครหาดใหญ่ เบื้องต้นประกอบด้วย หอการค้าจังหวัดสงขลา พมจ. คณะพยาบาลศาสตร์ ม.อ. ศูนย์อาสาสมัคร ม.อ. มูลนิธิชุมชนสงขลา สมาคมอาสาสร้างสุข สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทยสงขลา
กำหนดเป้าหมายระยะสั้น
๑.ช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ในกลุ่มผู้ประกอบการหรือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด ทั้งคนหาดใหญ่ ประชากรแฝง กลุ่มแรงงานนอกระบบ กลุ่มยากจน เปราะบาง กลุ่มตกงาน
๑.๑ สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทยสงขลาร่วมกับสมาคมอาสาสร้างสุขจัดทำแคมเปญคูปองอาหารปันอิ่ม ทั้งอาหารปรุงสุก อาหารแห้ง ส่งเสริมการแบ่งปันช่วยเหลือคน "จนแจ๊กๆ" และเสี่ยงสูงที่ถูกกักตัวจากโควิด(HI) ผ่านแอพพลิเคชั่น OneChat พร้อมไรเดอร์ส่ง เพื่อให้ชุมชนที่ได้รับผลกระทบสามารถดำรงชีวิตได้อย่างมั่นคง
๑.๒ ศูนย์อาสาสมัคร มอ. บัณฑิตอาสา ร่วมกับชุมชนแออ้ดริมทางรถไฟ(เช่น ป้อมหก โชคสมาน ต้นโด จันทร์วิโรจน์ ลงสำรวจช่วยเหลือกลุ่มคนได้รับผลกระทบ จัดระบบส่งต่อความช่วยเหลือ เช่น ส่งข้อมูลประสานขอวัคซีน จัดตั้งครัวกลาง
๑.๓ ประสานให้เกิดกองทุนกลางของเมือง เพื่อช่วยสมทบกรณีการช่วยเหลือเยียวยากลุ่มเปราะบางทั้งภาคเอกชน/ประชาชน มีระบบคัดกรองผู้ที่จำเป็นต้องช่วยเหลือ ส่งมอบเวชภัณฑ์ ยา อุปกรณ์ทางการแพทย์ในกรณีที่มีการติดเชื้อในชุมชนอย่างรุนแรง
๒.สร้างงาน สร้างรายได้ ให้กับประชาชนที่ว่างงาน
๒.๑ ร่วมกับคณะพยาบาลศาสตร์ มอ. รับสมัครผู้ดูแลที่บ้าน(Home care giver) เข้าสู่ระบบการดูแลผู้อยู่ในภาวะพึ่งพิงที่บ้าน ของ iMedcare เพื่อลดช่องว่างการให้บริการผู้อยู่ในภาวะพึ่งพิงในเขตเมือง และได้รับการพัฒนาศักยภาพผ่านหลักสูตรที่มีมาตรฐาน
๒.๒ ประสานส่งต่อผู้ผลิตอาหารสุขภาพ วัตถุดิบผลิตอาหารสุขภาพ จากเกษตรกรรอบพื้นที่เมืองหาดใหญ่เข้าสู่โรงครัวโรงแรม โรงพยาบาล ร้านอาหาร สร้างรายได้ ฟื้นฟูเศรษฐกิจในกลุ่มเกษตรกรและแรงงานนอกระบบ
๓.เป้าหมายระยะยาว
๓.๑ สร้างจุดประสานงาน มีระบบข้อมูลกลาง(Data center)ที่สะท้อนความต้องการการช่วยเหลือโดยบูรณาการงานข้อมูลจากแต่ละองค์กร(ONeChat/iMed@home/TPMap/JHCIS ฯลฯ) นำเสนอในรูปแบบที่เข้าถึงได้ง่าย เช่น แผนที่(Gogle map) รายงานข้อมูลสำคัญ เพื่อประกอบการจัดทำแผนอย่า่งมีส่วนร่วม
๓.๒ ร่วมกับคณะพยาบาลศาสตร์มอ. สสส.สำนัก ๓ ทน.หาดใหญ่ พัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนในพื้นที่ ๙ ชุมชนต้นแบบ
เชิญชวนองค์กร เครือข่าย ชาวหาดใหญ่ที่สนใจร่วมดำเนินงาน ช่วยฟื้นฟูเมืองหาดใหญ่ด้วยกัน
ช่วงค่ำ วงคุย "หาดใหญ่ Sandbox Plus เฟส ๒"
ประชุมทีมยุทธศาสตร์ มีข้อสรุปสำคัญตามนี้
๑)คุณสมพร สิริโปราณานนท์ แจ้งผลการเข้านำเสนอโครงการหาดใหญ่ Sandbox Plus ร่วมกับนายกเทศมนตรีนครหาดใหญ่ในที่ประชุมคณะกรรมการควบคุมโรคจังหวัดสงขลา ได้รับความเห็นชอบอนุมัติให้ดำเนินการ ให้รีบขับเคลื่อนเพิ่มกลุ่มเป้าหมายในเฟสที่ ๒ ให้มากขึ้นพร้อมเร่งจัดส่งรายชื่อ เพื่อขอสนับสนุนวัคซีนและส่งโครงการเข้าสู่ส่วนกลางเพื่อขออนุมัติวัคซีน ATK สนับสนุนการดำเนินการให้ครอบคลุมพื้นที่ ส่วนคณะกรรมการที่เสนอผ่านกรอ.ให้รอผู้ว่าฯท่านใหม่ลงนามแต่งตั้งต่อไป
๒)จัดทำแบบสอบถามความสมัครใจเข้าร่วมโครงการเฟส 2 โดยเพิ่มสถานประกอบการได้แก่ ศูนย์การค้าขนาดใหญ่ ร้านอาหาร(ควรหาร้านที่สามารถเล่นดนตรีในที่โล่งเข้าร่วมด้วย) ร้านเสริมสวย สปา/นวดแผนไทย สถานที่ออกกำลังกาย โรงแรม (กลุ่มเหล่านี้ได้รับการอนุญาตจากศบค.และเป็นกลุ่มที่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้ดี)โดยทางหอการค้าจังหวัดจะเป็นผู้รวบรวมข้อมูลรายชื่อพนักงานแต่ละองค์กรเพื่อจัดส่งสสจ.ต่อไป
๓)การดำเนินการต่อไป
๑.นัดสรุปบทเรียนร้านค้าเฟส ๑ ในส่วนของมาตรการสถานที่ปลอดภัย สำหรับคนปลอดภัย เพื่อปรับใช้ก่อนดำเนินการในเฟสที่ ๒ ในช่วงต้นเดือนตุลาคม
๒.นัดผู้ไปแถลงข่าวตรวจ ATK อีกครั้งวันพุธเวลาบ่ายสอง ณ ศูนย์สาธารณสุขเพชรเกษม(ตรงข้ามโรงพักหาดใหญ่)
๓.นัดประชุมทีมวันพฤหัสบดีที่ ๑๖ กันยายน ๑๘.๐๐ - ๒๐.๐๐ น. ร่วมพิจารณาคำชี้แจงผลการตรวจ ATK รายงานสาธารณะอีกครั้ง พร้อมหารือการเตรียมขยับเฟส 2
4.ประสานกลุ่มท่องเที่ยวเพื่อเตรียมความพร้อมรองรับนโยบายการเปิดท่องเที่ยวช่วง ๑๕ ตุลาคม นัดหารือองค์กรที่เกี่ยวข้อง วันศุกร์ที่ ๑๗ กันยายน เวลา ๑๘.๐๐ - ๒๐.๐๐ น.
วันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๖๔
คณะทำงานร่วมแถลง ฯ ข่าว เมื่อวันที่ ๙ กันายน ๒๕๖๔ ตรวจหาเชื้อโควิด๑๙
ผลเป็นลบ ปลอดภัย ไร้โควิด
สรุปบทเรียนเฟส ๑
"Hatyai Sandbox ไม่เหมือน ภูเก็ต Sandbox"
จุดริเริ่มเปิดเมืองอย่างปลอดภัย Smart&clean ในพื้นที่เปิดเพื่อคนท้องถิ่นและคนไทยด้วยกัน
โครงการ Hatyai Sandbox Plus เกิดขึ้นจากความร่วมมือของภาคเอกชน ภาคประชาสังคมจิตอาสาร่วม ๓๐ องค์กร ที่ต้องการมีส่วนร่วมในการรับมือวิกฤตโควิด-๑๙ ที่กระทบต่อเมืองหาดใหญ่อย่างหนัก ท่ามกลางข้อจำกัดที่มีไม่ว่าจะเป็นวัคซีน ตัวเลขการติดเชื้อยังคงเพิ่มสูง การปิดเมืองก็ทำให้เกิดผลกระทบต่อรายได้ การทำมาหากินของประชาชน จำเป็นที่จะต้องมีทางออกที่เป็นทางเลือกสำหรับเมือง
จึงชักชวนภาคส่วนที่เกี่ยวข้องนำแนวคิดการสร้างจุดทดสอบ(Sandbox) มาปรับใช้ในการเปิดเมืองอย่างปลอดภัย
มีวัตถุประสงค์สำคัญดังนี้
๑.เพื่อทดสอบและเป็นต้นแบบ การแปลงนโยบายสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ตามนโยบาย ศบค.
๒.เพื่อทดสอบและเป็นต้นแบบ การสร้างกลไกการเปิดเมืองอย่างยั่งยืน โดยรักษาสมดุลด้านสาธารณสุข เศรษฐกิจและสังคม
๓.เพื่อออกแบบกลไก กระบวนการและมาตการที่เหมาะสมสำหรับการเปิดเมืองอย่างยั่งยืน
โดยมีเป้าหมายสำคัญ ๓ ประการด้วยกัน คือ
๑.ด้านสาธารณสุข:ต้องการลดการแพร่เชื้อและเสียชีวิต
๒.ด้านเศรษฐกิจ: ให้มีการฟื้นฟูและขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้อย่างต่อเนื่อง
๓.ด้านสังคม: ชุมชนปลอดภัย เราจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
ที่สำคัญ ไม่ได้เปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ กลุ่มเป้าหมายคือคนหาดใหญ่ คนไทยด้วยกัน
โดยมีกิจกรรมแรกที่เริ่มดำเนินการ คือ Hatyai Smart & Clean สถานที่ปลอดภัย สำหรับคนที่ปลอดภัย นำ ๖ ร้านอาหารและเครื่องดื่มเฟสที่ ๑
ประกอบด้วย ๑.ร้านอาหารไทยเจ๊เล็ก 2๒ร้านทัศปัณเบคชอป ๓.ร้านเลอริช ๔.ร้านป่ายาง ๕.ร้านกาแฟพันธุ์ไทย สาขา(เขต ๘) ๖.ร้านสะหวา มาตรการสร้างความปลอดภัยจะเป็น New Nornal Service ตัวอย่างต้นแบบพื้นที่
สถานบริการ มีการให้บริการแบบ new Normal มีการคัดกรองสถานะสุขภาพ(Health profile)ในส่วนผู้ใช้บริการ เจ้าหน้าที่ พนักงาน สถานประกอบการ
๒.กิจกรรม Hatyai Care ชุมชนปลอดภัย ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ในกลุ่มผู้ประกอบการหรือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด จะเริ่มจัดทำแคมเปญคูปองอาหารปันอิ่ม ทั้งอาหารปรุงสุก อาหารแห้ง ส่งเสริมการแบ่งปันช่วยเหลือคน "จนแจ๊กๆ" และเสี่ยงสูงที่ถูกกักตัวจากโควิด(HI) ผ่านแอพพลิเคชั่น OneChat พร้อมไรเดอร์ส่ง สร้างงาน สร้างรายได้ ให้กับประชาชนที่ว่างงาน รับสมัครผู้ดูแลที่บ้าน(Home care giver) เข้าสู่ระบบการดูแลผู้อยู่ในภาวะพึ่งพิงที่บ้าน ของ iMedcare เพื่อลดช่องว่างการให้บริการผู้อยู่ในภาวะพึ่งพิงในเขตเมือง และได้รับการพัฒนาศักยภาพผ่านหลักสูตรที่มีมาตรฐาน
๓.Hatyai Found กองทุนพัฒนาเมืองหาดใหญ่อย่างยั่งยืน ระดมทุนจากการรับบริจาคช่วยลดต้นทุนให้กับสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ อำนวยความสะดวกเสริมงานของระบบราชการ ช่วยให้โครงการเดินหน้าไปได้ กำลังจะเริ่มเฟสที่ ๒ เร็วๆนี้
ร่วมให้ข้อเสนอแนะ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
FB: Hatyai sandbox+
https://www.facebook.com/HatyaiSandBoxPlus/
ฝากกดไลค์ กดแชร์ และกดติดตามเพจด้วยนะคะ
Relate topics
- มาลองสู้กับความเจ็บป่วยทางสังคมสักตั้ง!!
- จดหมายข่าวโครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง (SUCCESS) ฉบับที่ 1 - 10
- ก้าวที่ 1 ของ iMedCare ธุรกิจเพื่อสังคมของสงขลา"
- "แผนผังภูมินิเวศ"
- เครือข่าย SUCCESS เมืองควนลังร่วมงานส้มโอเมืองควนลังปี 2567
- "ทีม iMedCare วิถีผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน"
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 11 - 21
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 1 - 10
- "iMed@home ระบบกลุ่ม"
- สมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลาชูวาระ "พลิกโฉมพลังพลเมืองสงขลาเพื่อสังคมสุขภาวะที่ยั่งยืน"