รับมือหยุดโควิดสงขลา

  • photo  , 960x805 pixel , 148,450 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 53,770 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 47,668 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 60,939 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 59,825 bytes.

รับมือหยุดโควิด สงขลา

โรคระบาดโควิด-19 กำลังลุกลามทำลายล้างมวลมนุษยชาติอย่างหนักหน่วง ผู้คนเจ็บไข้ได้ป่วยล้มตายกันอย่างใบไม้ร่วง

ประเทศไทย เราคนไทยก็ตกตกอยู่ในชะตากรรมเดียวกัน ภัยพิบัตินี้ได้กำลังรุกคืบเข้ามาใกล้ตัวเราอยู่ทุกเวลา ยิ่งโรคร้ายนี้ได้เปลี่ยนกลายตัวที่เป็นอันตรายยิ่งขึ้นมันสามารถเข้าทำลายร่างกายให้ดับสลายในเวลาอันรวดเร็ว อย่างที่เป็นกันอยู่นี้

เช่นนี้แล้วเรา ทั้งหลาย จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้อง”ช่วยกันพา ชีวิตให้รอด”

สงขลา ก็เป็นเช่นเดียวกัน เชื้อโรคได้ระบาดลุกลามไปทั่วโดยเฉพาะพื้นที่เขตเมืองและอุตสาหกรรม ซึ่งมีผลต่อเนื่องให้เกิดการระบาดขยายตัวเข้าสู่ระบบครัวเรือนและชุมชนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้

ภาวการณ์เช่นนี้ ชุมชนคนฐานรากต้อง”รวมใจกัน รับมือ”ภัยพิบัตินี้ ให้ได้

เคยมีบทเรียน”การรวมใจรับมือภัยพิบัติ”ในทางประวัติศาสตร์ ครั้งเสียกรุงครั้งที่ 2 (2310)ชาวบ้านบางระจัน ได้ลุกขึ้นต่อสู้ปกป้องครอบครัว ชุมชน อย่างเต็มกำลัง จนสามารถรับมือยันข้าศึกไว้ได้ในระดับหนึ่ง แม้ถึงที่สุดแล้วกรุงศรีณก็ต้องล่มสลายไปก็ตาม  แต่วีรกรรมของชุมชนคนชาวบ้าน ก็ให้บทเรียนอันเป็นตัวอย่างที่ดีให้เราได้เรียนรู้

ยุทธศาสตร์บ้านบางระจัน จึงน่าจะนำมาศึกษา ปรับใช้ให้เหมาะกับสภาพความเป็นจริงของสงขลาเราได้

พิจารณาแล้ว สร้างมุมมองมองในเชิงปรากฏการณ์ จะเห็นได้ว่าความสับสนอลหม่านในกรุงศรีฯครั้งนั้น ดูเหมือนจะมีลักษณะคล้ายคลึงกันมากกับสถานการณ์ความขัดแย้ง วุ่นวายในเมืองหลวงกรุงเทพมหานครฯ ในเวลานี้และหากจะดูให้ลึกลงไปถึงระบบโครงสร้างของรัฐแล้ว ก็เห็นจะไม่ต่างกัน ที่ต่างกันก็เพียงเวลา ระบบโครงสร้างที่เป็นอยู่ ก็ขีดจำกัดอยู่ไม่น้อยเช่นเดียวกัน ดังนั้น เราเองจะมานั่งคอยแต่อาศัยสรรพกำลังจากรัฐส่วนกลางอย่างเดียวก็อาจสายเกินแก้ ไปเสียแล้ว

เช่นนี้แล้ว ชาวบ้าน ชาวสงขลามา”รวมใจกันรับมือ”เพื่อความอยู่รอดของเราคนสงขลาและชนชาวไทยทั้งหลายกันเถิด

บันทึกท้ายบทผู้ยกร่าง

บทบันทึกนี้ ร่างขึ้นมาจากคำอำนวยการของผู้อาวุโส เพื่อการทบทวนบทเรียนผลสำเร็จในการปฏิบัติการรับมือกับภัยพิบัติทีมูลนิธิชุมชนสงขลา ได้ลงมือทำงานกับชุมชน ว่า 10 ปี  ที่ผ่านมา

ภัยพิบัติครั้งนี้จะรุนแรงใหญ่หลวงยิ่งนัก เราคนสงขลา ทุกภาคส่วนจึงมิอาจนิ่งดูดาย การรวบรวมประสบการณ์และบทเรียน ออกมาช่วยกัน ”รับมือ” กับภัยพิบัติครั้งนี้เป็นสิ่งจำเป็น และต้องมุ่งมั่นให้รอดพ้นผ่านไปให้ได้

พิชัย ศรีใส

กรรมการมูลนิธิชุมชนสงขลา

อดีตคณะกรรมการบริหารสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(2550-2558)

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน