"SUCCESS ภาคใต้"
"SUCCESS ภาคใต้"
วันที่ 20 เมษายน 2564
นัดแกนนำเมือง 6 เมืองของภาคใต้ ได้แก่ เมืองละงู เมืองโตนดด้วน เมืองบ่อยาง เมืองควนลัง เมืองพะตง เมืองปาดังเบซาร์ ประชุมทางไกลผ่านระบบ Zoom นำเสนอโครงการประเมินความเปราะบางของเมืองฯ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จะดำเนินการในปีที่ 2 ของโครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อการเปลี่ยนแปลงเมือง(SUCCESS) โดยการสนับสนุนของสหภาพยุโรป และมีสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยรับผิดชอบ ร่วมกับมูลนิธิชุมชนสงขลา
โดยภาพรวมแต่ละเมืองมีบริบท จุดเด่นแตกต่างกัน
1)เมืองละงู ทำงานในขอบเขตเมืองลุ่มน้ำละงู จ.สตูล สภาพเมืองกำลังพัฒนาจากชุมชนเกษตรเป็นชุมชนเมือง ชุมชนการท่องเที่ยว เน้นพื้นที่กลางน้ำ 3 ชุมชน ศึกษาผลกระทบจากการบริหารจัดการน้ำ กลุมเป้าหมายจะเป็นกลุ่มอาชีพ กลุ่มผู้ป่วย คนพิการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แกนนำหลักได้แก่ เครือข่า่ยรับมือภัยพิบัติ อสม.
2)เมืองโตนดด้วน จ.พัทลุง พื้นที่หลักอยู่ที่ต.โตนดด้วนและใกล้เคียง ศึกษาผลกระทบจากการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชุมชนเกษตรกรรม การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ กลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มเกษตรกร กลุ่มคนพิการ ผู้ป่วยติดเตียง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แกนนำหลักได้แก่ องค์กรชุมชน อสม.
3)เมืองบ่อยาง พื้นที่หลักอยู่ที่ทน.สงขลา ผลกระทบมีทั้งการกัดเซาะชายฝั่ง อุณหภูมิที่สูงขึ้น น้ำท่วมขัง เน้นกลุ่มคนจนเมือง ศึกษาในพื้นที่ 4 ชุมชน กับกลุ่มอาชีพ กลุ่มคนพิการ ผู้ป่วยติดเตียง เด็กนอกระบบ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เครือข่ายหลักคือศูนย์บ่อยางพึ่งพาตนเอง สมาคมเครือข่ายผู้สูงอายุ
4)เมืองควนลัง บริบทเป็นชุมชนชานเมือง เน้นพื้นที่ทม.ควนลัง และใกล้เคียง ศึกษาผลกระทบจากน้ำท่วม น้ำแล้ง การบริหารจัดการน้ำ ใน 2 ชุมชน และกลุ่มเป้าหมาย ครัวเรือนใช้น้ำ กลุ่มอาชีพ คนพิการ ผู้ป่วยติดเตียง แรงงานต่างด้าว และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แกนนำหลักคือเครือข่ายเกษตรสุขภาพตำบล
5)เมืองพะตง บริบทเป็นชุมชนเกษตรกรรมและโรงงาน พื้นที่หลักอยู่ที่ทต.พะตงและอบต.พะตง ศึกษาผลกระทบจากการบริหารจัดการน้ำ อุณหภูมิที่สูงขึ้น ใน 1 ชุมชน กลุ่มเป้าหมายแม่เลี่้ยงเดี่ยว เด็กเล็ก กลุ่มเกษตรกร ผู้สูงอายุ คนพิการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แกนนำหลักคือสภาองค์กรชุมชน เครือข่ายท้องถิ่น โรงงาน โรงเรียน
6)เมืองปาดังเบซาร์ บริบทเป็นเมืองหน้าด่าน ติดชายแดน พื้นที่หลักอยู่ที่ทม.ปาดังเบซาร์ ศึกษาใน 2 ชุมชนหน้าด่าน ศึกษาผลกระทบจากอุณหภูมิที่สูงขึ้นจากมลภาวะ การขนส่ง หมอกควันข้ามแดน กลุ่มเป้าหมาย เด็กเล็ก คนพิการ ผู้ป่วย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แกนนำหลักคือ ชมรมบุหลันแดง ประธานชุมชน ท้องถิ่น
ใช้เวลาศึกษา 10 เดือน(พค.64-กพ.65) งบ1.1 แสนบาท โดยปรับใช้เครื่องมือการดำรงชีวิตอย่างยั่งยืน การพัฒนาเมืองเพื่อรองรับผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การประเมินความพร้อมของท้องถิ่น ฯลฯ เพื่อให้เห็นความเปราะบางของเมืองจากภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอาการและการพัฒนาที่มีผลต่อกลุ่มชายขอบต่างๆ
การให้องค์กรประชาสังคมได้มีโอกาสศึกษาเรียนรู้สภาพปัญหาอย่างลึกซึ้งและรอบด้านจะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ สามารถมีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางพัฒนา และสานพลังความร่วมมือในการแก้ปัญหาของเมืองอย่างเป็นระบบ
Relate topics
- จดหมายข่าวโครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง (SUCCESS) ฉบับที่ 1 - 10
- ก้าวที่ 1 ของ iMedCare ธุรกิจเพื่อสังคมของสงขลา"
- "แผนผังภูมินิเวศ"
- เครือข่าย SUCCESS เมืองควนลังร่วมงานส้มโอเมืองควนลังปี 2567
- "ทีม iMedCare วิถีผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน"
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 11 - 21
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 1 - 10
- "iMed@home ระบบกลุ่ม"
- สมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลาชูวาระ "พลิกโฉมพลังพลเมืองสงขลาเพื่อสังคมสุขภาวะที่ยั่งยืน"
- กิจกรรมรับบริจาคโลหิตประชารัฐสงขลาประจำเดือนตุลาคม 2567