การจัดทำแผนการผลิตของกลุ่มเกษตรสุขภาพหาดใหญ่
การจัดทำแผนการผลิตของกลุ่มเกษตรสุขภาพหาดใหญ่
วันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๖๔ นักศึกษาม.ทักษิณ ร่วมนำเสนอข้อมูลผลการศึกษา เป็นกิจกรรมส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนนโยบายเกษตรและอาหารสุขภาพจังหวัด โดยใช้การวิจัยศึกษารูปแบบการวางแผนการผลิตเพื่อสนับสนุนตลาดเกษตรอินทรีย์ โดยใช้กลุ่มตัวอย่างเกษตรสุขภาพอำเภอหาดใหญ่และตลาดรถเขียว แนวทางที่ได้จะนำไปขยายผลในแอพพลิเคชั่น Greensmile และการทำงานกับกลุ่มเกษตรกรอื่นต่อไป
กรณีศึกษา มีผู้ผลิต ๑๔ ราย ผู้บริโภค ๒๐ ราย ตัวแทนตลาดรถเขียว ๑ ราย โดยมีข้อค้นพบสำคัญก็คือ
๑)ผู้ผลิต มีรูปแบบการผลิตทั้งผักระยะสั้น ระยะยาว และผสมผสาน ผักที่ปลูกจะเน้นความต้องการจากตลาดได้แก่ คะน้า กวางตุ้ง ผักบุ้ง ผักกาดขาว ปลูกในแปลงผัก ผักยกแคร่ โรงเรือน และผสมผสาน น้ำที่ใช้มีทั้งน้ำบ่อ น้ำบาดาล น้ำประปาภูเขา สระน้ำ เกษตรกรบางส่วนมีตลาดของตัวเอง บางส่วนส่งตลาดรถเขียว บางส่วนส่งตลาดในชุมชน ปัญหาที่พบก็คือ ไม่มีการวางแผนการผลิตร่วมกัน ทำให้ผลผลิตบางช่วงขาดหายหรือมีไม่ต่อเนื่อง ปริมาณยังไม่เพียงพอ โดยเฉพาะหน้าฝน
๒)ผู้บริโภค วัยกลางคนถึงสูงวัย รักสุขภาพต้องการอาหารที่ปลอดสารพิษ จำนวน ๑๐-คนต่อครั้งก็จำหน่ายผลผลิตหมดแล้ว ส่วนใหญ่ซือไปบริโภคในครัวเรือน ซื้อครั้งละ ๑ กก/๑๐๐ บาทต่อคน เหตุผลที่มาซื้อกับตลาดรถเขียวเพราะมั่นใจในมาตรฐานการผลิต แต่ยังต้องการผลผลิตที่หลากหลาย เช่น ไข่ เนื้อ ผัก ผลไม้อื่นๆ
๓)ตลาดรถเขียว ผู้ผลิตที่ส่งสินค้าให้ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ตำยลควนลัง คูเต่า ด้วยความสะดวกในการรับส่ง ระยะทาง และราคา ตลาดรถเขียวจะมีตารางแสดงความต้องการผลผลิตรายเดือน สื่อสารกับกลุ่มผู้ผลิต การประชาสัมพันธ์ใช้กลุ่ม line และข้อมูลจาก แอพพลิเคชั่น greensmile เป็นฐานข้อมูล รวมถึงเป็นจุดนัดรับส่งผลผลิตผ่านตล่าดรถเขียว
ข้อค้นพบสำคัญ
๑.ข้อมูลที่ต้องการเพื่อประกอบการจัดทำแผนการผลิตของเกษตรกร ประกอบด้วย ข้อมูลพื้นฐานการผลิต(ปัจจัยการผลิต ได้แก่ พื้นที่/รูปแบบแปลง/ระบบน้ำ/แรงงาน/ผลผลิตแต่ละชนิด/ราคาฯลฯ)ตามปฎิทินแต่ละเดือน (จะนำไปลงแอพพลิเคชั่น ออกรายงานประกอบการจัดทำแผนการผลิตต่อไป)
๒.ประเภทของเกษตรกรที่พบ ประกอบด้วยบุคคลที่ผลิตแบบบริโภคในครัวเรือนตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง เกษตกรที่มีพื้นที่เป็นสวน เกษตรกรที่มีการรวมกลุ่มการผลิต และผู้ประกอบการ/ธุรกิจเพื่อสังคม
๓.รูปแบบการตลาดของกลุ่ม มีทั้งให้ผู้บริโภคมาซื้อถึงแปลง หรือเน้นตลาดในชุมชน เพื่อนบ้าน และผลิตเพื่อส่งตลาดกรีน ตลาดสด ตลาดรพ.
๔.รูปแบบกลางๆที่สามารถทำได้และควรส่งเสริม คือ การปลูกผักยกแคร่
๕.การวางแผนการผลิตให้ตลาดรถเขียว จำแนกเป็น ๒ ระดับ คือ
๕.๑ จัดการผลผลิตที่มีเพื่อส่งให้กับตลาดรถเขียวและอื่นๆ จะมีตารางปฎิทินรายเดือน ๑๒ เดือนให้เกษตรกรที่พร้อมดำเนินการลงข้อมูลผลผลิตในแปลงในแต่ละเดือน รวมถึงราคา และจำแนกผลผลิตที่พร้อมส่งตลา่ดรถเขียว
๕.๒ วางแผนการผลิตล็อตใหม่ โดยทดลองผักระยะสั้น คือ ต้นอ่อนทานตะวัน ที่ต้องการ ๒ กก.ต่อสัปดาห์ และผักระยะกลางคือ ผักบุ้งจีน ที่ต้องการ ๔ กก.ค่อสัปดาห์ และให้เกษตรกรวางแผนการปลูกไม่ไห้ซ้ำกัน รับผิดชอบคนละสัปดาห์ต่อเดือน
จัดตั้งกลุ่มไลน์เพื่อการสื่อสารการวางแผนผลผลิตโดยเฉพาะ ทดลองทำให้ครบวงจร สรุปบทเรียนแล้วค่อยขยายผลต่อไป
Relate topics
- จดหมายข่าวโครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง (SUCCESS) ฉบับที่ 1 - 10
- ก้าวที่ 1 ของ iMedCare ธุรกิจเพื่อสังคมของสงขลา"
- "แผนผังภูมินิเวศ"
- เครือข่าย SUCCESS เมืองควนลังร่วมงานส้มโอเมืองควนลังปี 2567
- "ทีม iMedCare วิถีผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน"
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 11 - 21
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 1 - 10
- "iMed@home ระบบกลุ่ม"
- สมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลาชูวาระ "พลิกโฉมพลังพลเมืองสงขลาเพื่อสังคมสุขภาวะที่ยั่งยืน"
- กิจกรรมรับบริจาคโลหิตประชารัฐสงขลาประจำเดือนตุลาคม 2567