สมัชชา PM๒.๕ สงขลา ปฎิบัติการพลเมืองตื่นรู้ ร่วมใจรับมือPM๒.๕ จ.สงขลาด้วยแนวทาง Green&Health

  • photo  , 1706x959 pixel , 175,006 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 119,239 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 102,163 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 102,819 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 64,851 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 58,078 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 53,583 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 76,813 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 81,451 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 59,148 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 55,025 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 49,425 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 51,224 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 79,670 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 57,847 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 60,849 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 41,398 bytes.
  • photo  , 960x1440 pixel , 87,939 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 45,697 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 42,857 bytes.
  • photo  , 960x1440 pixel , 120,203 bytes.
  • photo  , 960x1440 pixel , 103,907 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 71,681 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 79,565 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 114,886 bytes.
  • photo  , 1706x959 pixel , 163,477 bytes.
  • photo  , 1706x959 pixel , 155,568 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 61,282 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 55,272 bytes.

"สมัชชา PM๒.๕ สงขลา ปฎิบัติการพลเมืองตื่นรู้ ร่วมใจรับมือPM๒.๕ จ.สงขลาด้วยแนวทาง Green&Health"

วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.) โดยการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จับมือภาคีเครือข่ายในจังหวัดสงขลา นำโดยสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค ๑๖ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปภ.จังหวัด มูลนิธิชุมชนสงขลา เครือข่ายท้องถิ่น ภาคประชาชน สมาคมอาสาสร้างสุข ทสม. เครือข่ายเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อมเพื่อสุขภาพ ฯลฯ

จัดประชุมสมัชชาจังหวัด เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมสานพลังคนไทย “พื้นที่” สู้วิกฤติมลพิษอากาศ ด้วยการจัดสมัชชาพื้นที่ ๖ แห่ง สงขลาเป็นหนึ่งในพื้นที่ดำเนินการ ชวนเครือข่ายภาคส่วนต่างๆ ร่วม ๑๐๐ ชีวิตจากภาคส่วนต่างๆ ร่วมทำ ร่วมเสนอแนะ ภายใต้ประเด็นการป้องกันปัญหา ข้อมูลและเผยแพร่ การปฏิบัติตนในวิกฤติการแก้ไขปัญหา และการติดตาม ประเมินผลที่มีต่อปัญหา PM๒.๕

การจัดสมัชชาครั้งนี้เพื่อสร้างพื้นที่การพูดคุยและสร้างการมีส่วนร่วม (constructive dialogue) และแสวงหา Common goals เพื่อริเริ่มกลไกความร่วมมือสู่การขับเคลื่อนที่ยั่งยืน ด้วยกรอบแนวคิดทุกนโยบายห่วงใยสุขภาวะ (HiAPs)

แม้จะไม่ใช่ปัญหาสำคัญเร่งด่วน แต่สงขลาก็พบปัญหา PM๒.๕ สำคัญๆ ประกอบด้วย ๑.จากแหล่งกำเนิดหมอกควันจากประเทศอินโดนีเซีย โดยเฉพาะปี ๒๕๕๘ ที่หนักที่สุด ๒.การเผาไหม้ของป่าพรุบางนกออก ๓.มลภาวะจากการจราจร ในเขตเมือง และ๔.มลภาวะจากการประกอบอุตสาหกรรม โดยเฉพาะจากโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ โรงงานต่างๆ

กิจกรรมเริ่มด้วยการทักทาย กล่าวต้อนรับ ชี้แจงวัตถุประสงค์โดย นายสินธพ อินทรัตน์ อบต.ท่าข้าม นายชิต สง่ากุลพงศ์ ประธานมูลนิธิชุมชนสงขลา

เปิดการประชุม “พลเมืองตื่นรู้...ร่วมใจรับมือ PM๒.๕ จ.สงขลา”โดย นายธนัญชัย วรรณสุข ผอ.สนง.สิ่งแวดล้อมภาค ๑๖

กล่าวแนะนำความเป็นมาของโครงการ “รวมพลังพลิกวิกฤติ PM๒.๕ สู่โอกาสการพัฒนา Healthy Thailand”โดย นพ.วีระศักดิ์ พุทธาศรี รองเลขาธิการสนง.คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.)

“ผลกระทบต่อสุขภาพจากPM2.5” โดย พญ.ปิยาณี กษิรวัฒน์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

"แนวทางรับมือระดับจังหวัด" โดยนายมนัส ศิริรัตน์ ผู้แทนจากสนง.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด

จากนั้นเข้ากลุ่มย่อย ๔ ห้อง ระดมความเห็นในการสร้างความร่วมมือและเสนอเชิงนโยบาย ชูมาตรการเด่น


๑)ห้องย่อย "หมอกควันข้ามแดน" วิทยากรหลัก ศ.ดร.พีระพงศ์ ทีฆสกุล

๑.ผลักดันข้อตกลงอาเชี่ยนให้มีผลในทางปฎิบัติ โดยเฉพาะรัฐบาลประเทศอินโดนีเซียให้มีความจริงใจในการแก้ปัญหา

๒.ระดับจังหวัด ขยายพื้นที่เก็บข้อมูล PM๒.๕ ระดับอำเภอในพื้นที่เสี่ยง โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อบจ.สงขลา ร่วมมือกันจัดให้มี Low cost senser ประมวลผลระดับพื้นที่ร่วมกับกรมควบคุมมลพิษ นำข้อมูลสื่อสารให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลผ่านช่องทางต่างๆ โดยเฉพาะทางอินเตอร์เน็ต หรือมีสายด่วนเฉพาะกิจ และสร้างเอกภาพการสื่อสารขณะเกิดภัย มีการออกประกาศ สื่อสารกับสาธารณะอย่างต่อเนื่อง ทันเหตุการณ์

๓.ร่วมกับพื้นที่ตำบล ชุมชน อปท.จัดทำแผนเผชิญเหตุอย่างมีส่วนร่วม มีข้อมูลกลางรายงานผลกระทบจากหน่วยงานและสร้างข้อตกลงมาตรการในการรับมือ


๒)ห้องย่อย "เผาไหม้ในที่โล่ง" วิทยากรหลัก ปลัดภิติพัฒน์ หนูมี นำเสนอกรณีไฟไหม้ป่าพรุ เสนอแนะมาตรการ

๑.รักษาความชื้นของป่า เช่น ให้มีคลองรอบ ๆ โดยเฉพาะตรงกลางป่า มีการขุดลองคูคลองที่มีอยู่แล้วหรือขอใช้พื้นที่ข้าง ๆ ทำแก้มลิง

๒.สำรวจพื้นที่เพื่อดูว่ามีแหล่งน้ำพอหรือไม่ หากไม่พอให้เติม พร้อมติดตั้งเครื่องสูบน้ำตามจุดที่เหมาะสม ดูแล รักษาระดับน้ำให้เหมาะสม

๓.ใส่ประตูน้ำตามคูคลองแขนงรอบ ๆ ป่า เพื่อกักเก็บน้ำไว้ชั่วคราวในช่วงแล้ง

๔.ส่งเสริมให้มีการเตรียมแผนก่อนเกิดเหตุไฟไหม้ สร้างการมีส่วนร่วม สำนึกสาธารณะ จัดให้มีหน่วยลาดตระเวน หอไฟสังเกตการณ์ สร้างเครือข่ายในชุมชน ให้มีคนคอยสอดส่องและโทรแจ้งเหตุ และปรับข้อกฎหมายเพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างสมบูรณ์ในการดูแลป่ารอบบ้าน

๖.กรณีเผาไหม้ในที่โล่ง ให้มีมาตรการในการจัดการขยะ เช่น คัดแยกขยะ รณรงค์ให้ใช้สารชีวภาพ ใช้น้ำหมักเพิ่มความเร็วในการย่อยสลาย ออกระเบียบ กติกา หรือธรรมนูญชุมชนในการเผาไหม้ในที่โล่ง ขับเคลื่อนร่วมกับ อปท. และหน่วยงาน เครือข่ายที่เกี่ยวข้อง


๓)ห้องย่อย "มลภาวะจากสถานประกอบการ" วิทยากรหลัก นางสาวศิริลักษณ์ วิศวะรุ่งโรจน์ สนง.อุตสาหกรรมจังหวัด เน้นมาตรการจัดการขยะ การเผาไหม้ ผลกระทบจากโรงงาน

๑.เก็บข้อมูลพื้นฐานด้านสุขภาพ ระยะ ๕ ปีครั้ง เพื่อเปรียบเทียบ ผลกระทบต่อสุขภาพ

๒.สร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องผลกระทบต่อมลพิษต่าง ๆ ให้กับประชาชนอย่างทั่วถึง

๓.สร้างธรรมาภิบาลในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน เปิดเผยข้อมูล ให้ประชาชนเข้าถึงและตรวจสอบได้ ๒๔ ชม.โดยขยายผลรูปแบบพะตง/ควนลังโมเดลในการแก้ไขปัญหา (ต่อความสูงของปล่องควันให้สูงพอที่จะลดปัญหา/คณะกรรมการธรรมาภิบาลที่มีภาครัฐ เอกชน ประชาชน ท้องถิ่น)

๔.มีการติดตั้งระบบเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อมทางอากาศอย่างต่อเนื่อง ใช้ควบคุมกับโรงงานขนาดเล็กด้วย


๔)ห้องย่อย "มลภาวะจากการจราจร" วิทยากรหลัก อ.ชลัท ทิพากรเกียรติ มทร.ศรีวิชัย

๑.สวล.๑๖ เป็นเจ้าภาพอบรมการตรวจวัดควันดำ เน้น รถกระบะสี่ล้อเล็ก (รถกระบะส่วนบุคคล) โดยบูรณาการอุปกรณ์ร่วมกับ กรมควบคุมมลพิษ และ จะเชิญ จราจร จ.สงขลา และ ขนส่ง จ.สงขลา ร่วมเรียนรู้และปฏิบัติการ โดยจะเป็นพี่เลี้ยงให้เป็นเวลา ๑ ปี

๒.เสนอให้ ม.สงขลานครินทร์ ร่วมกับ เทศบาลนครหาดใหญ่ ขยายการบริการรถบัสไฟฟ้าเข้าสู่เขตเมืองชั้นใน เช่นไปที่ ตลาดกิมหยง สถานีรถไฟ เป็นต้น

๓.เสนอให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น อบจ.สงขลา เทศบาลนครสงขลา เทศบาลนครหาดใหญ่ ร่วมกับ ตำรวจจราจรและเจ้าหน้าที่ขนส่ง ตั้งด่านตรวจควันดำ รถแต่ง

๔.องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยเฉพาะเทศบาลนครหาดใหญ่ กวดขันและส่งเสริม เรื่องทางเท้า และ การปั่นจักรยาน รวมถึง การใช้ขนส่งมวลชนในพื้นที่เมือง

๕.เสนอระดับชาติ ลดค่าใช้จ่าย ค่าธรรมเนียมและภาษี เกี่ยวกับ รถไฟฟ้า การปรับปรุง/เปลี่ยนเครื่องยนต์จากน้ำมันเป็นไฟฟ้า การซื้ออุปกรณ์ตรวจวัดคุณภาพอากาศส่วนบุคคล/หน่วยงาน


นอกจากนั้นมีข้อเสนอในภาพรวม

๑.ให้มีมาตรการก่อนเกิดภัยมีการแจ้งเตือนล่วงหน้า สร้าง Platform ที่ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลรายวันได้ และน่าเชื่อถือ โดยขยายผลต้นแบบที่มอ.ได้วิจัยไว้ ครอบคลุมในจุดที่เป็นพื้นที่เสี่ยงสำคัญ ได้แก่ โรงเรียน โรงพยาบาล สถานที่ออกกำลังกาย และกำหนด Green zone ในจุดสำคัญ เช่น สถานที่ออกกำลัง สถานที่ท่องเที่ยว สร้างพื้นที่อากาศบริสุทธิ์(เช่น ต.สะท้อน) เป็นจุดขายรับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ผลักกันนโยบายในระดับเมือง Greencity มีข้อตกลงกับชุมชนเลิกเผาขยะจากครัวเรือน หรือให้มี Safety zone กรณีเกิดภัย

๒. สร้างความร่วมมือในการรับมือระดับพื้นที่ลดปัญหามลภาวะจากแหล่งกำเนิด อาทิ แก้ปัญหาไฟไหม้ป่าพรุบางนกออก ต.ควนโส ด้วยการจัดทำแผนเผชิญเหตุ การจัดทำข้อตกลงหรือธรรมนูญกับชุมชน พิทักษ์ฐานทรัพยากรสำคัญในป่าพรุที่มีผึ้้งหลวงหายาก หรือกรณีตำบลปาดังเบซาร์ที่เป็นพื้นที่ในหุบเขา รับปัญหาไฟป่าจากอินโดฯและการเผาอ้อยจากมาเลเซีย รวมถึงจากการขนส่งสินค้า ทำให้นักเรียน ชุมชนได้รับผลกระทบ ที่จะต้องมีมาตรการเฝ้าระวัง แจ้งเตือน การมีข้อตกลงกับรถขนส่งข้ามพรมแดน

หลังจากได้ข้อเสนอแนะจากเวทีแล้ว คณะทำงานจะสรุปข้อเสนอ ส่วนที่ต้องการการสนับสนุนเชิงนโยบายจะนำเข้าสู่การผลักดันกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเข้าพบผู้ว่าราชการจังหวัด ควบคู่กับการสร้่างความร่วมมือในมาตรการที่ร่วมมือกันได้ โดยไม่ต้องรอ


ขอบคุณภาพจาก คุณบุญเลิศ อินสุวรรณโณ และภาคีเครือข่าย

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน