บันทึกการศึกษาปัญหาพิเศษนักศึกษามหาวิทยาลัยทักษิณปี 2563-2564 (ตอนที่ 1)
27 มกราคม 2564
วันแรกของการลงพื้นที่ศึกษาปัญหาพิเศษเรื่อง "การศึกษาและพัฒนาแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการตลาด ของตลาดรถเขียวและเครือข่ายเกษตรสุขภาพจังหวัดสงขลาในพื้นที่อำเภอหาดใหญ่"
ในวันนี้กลุ่มของผมได้มีการวางแผนว่าจะเริ่มศึกษาจากเกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่ตำบลคูเต่าก่อนเนื่องจากเป็นพื้นที่ที่อยู่ไกล และไม่มีใครในกลุ่มคุ้นชินเส้นทาง อีกอย่างหากพบปัญหาในการลงศึกษาก็จะมีเวลาพอที่จะแก้ไขปัญหานั้นได้ทัน
โดยกลุ่มเป้าหมายที่กลุ่มผมลงศึกษาวันนี้ได้แก่ พี่ปู ครูตุ๊ และป้าเถี้ยน ซึ่งเป็นสมาชิกจากกลุ่มเกษตรอินทรีย์คูเต่า ที่อยู่ในเครือข่ายเกษตรสุขภาพจังหวัดสงขลา โดยใช้การสัมภาษณ์เพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการผลิตและการขายผลิตของแต่ละคน ตั้งแต่การวางแผนการปลูก จนถึงการส่งผลผลิตให้ตลาด
สิ่งที่ได้จากการศึกษาในครั้งนี้คือการได้ทำความรู้จักกับกลุ่มเป้าหมายและได้เข้าใจถึงกระบวนการผลิตของแต่ละคนตั้งแต่การวางแผนจนถึงการขายผลผลิต
ประเด็นน่าสนใจที่ได้จากการศึกษาในวันนี้คือ กลุ่มเกษตรกรไม่ได้มีการวางแผนการปลูกผักร่วมกันอย่างเป็นระบบ โดยเป็นผลจากหลายปัจจัย เช่น ความชอบ ความถนัด และข้อจำกัดที่แตกต่างกันของแต่ละคน แต่เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาผลผลิตที่มีความซ้ำซ้อนและล้นตลาดจนเกินไป เกษตรกรในกลุ่มจึงใช้วิธีการสำรวจดูผลผลิตของสมาชิกแต่ละคนและเลี่ยงการปลูกผักในชนิดเดียวกันให้มากที่สุด
Takdanai Chuwang ทีมฝึกงานมูลนิธิชุมชนสงขลา
Relate topics
- จดหมายข่าวโครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง (SUCCESS) ฉบับที่ 1 - 10
- ก้าวที่ 1 ของ iMedCare ธุรกิจเพื่อสังคมของสงขลา"
- "แผนผังภูมินิเวศ"
- เครือข่าย SUCCESS เมืองควนลังร่วมงานส้มโอเมืองควนลังปี 2567
- "ทีม iMedCare วิถีผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน"
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 11 - 21
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 1 - 10
- "iMed@home ระบบกลุ่ม"
- สมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลาชูวาระ "พลิกโฉมพลังพลเมืองสงขลาเพื่อสังคมสุขภาวะที่ยั่งยืน"
- กิจกรรมรับบริจาคโลหิตประชารัฐสงขลาประจำเดือนตุลาคม 2567