"ภาคีเครือข่ายภาคพลเมืองสงขลาชู Songkhla Wallet พึ่งตนเองทางเศรษฐกิจ"
"ภาคีเครือข่ายภาคพลเมืองสงขลาชู Songkhla Wallet พึ่งตนเองทางเศรษฐกิจ"
หนึ่งในประเด็นสำคัญของงานวันพลเมือง ชู Songkhla Wallet หรือ "ถุงเงินสงขลา" เป็นเครื่องมือทางการเงินไม่ให้เงินบาทไหลออกจากต่างชาติ สร้างความเข็มแข็งให้กับสินค้า ร้านค้า ผู้ประกอบการในท้องถิ่น คนสงขลาใช้เงินสงขลา หาพื้นที่นำร่องดำเนินการ เป็น Sand box เริ่มจากผู้รับเงินเป็นกลุ่มชัดเจน มีความหนาแน่น เช่น พื้นที่เมืองเก่าสงขลา กลุ่มชุมชนตัวอย่าง หรือผ่านสมาคมสวัสดิการภาคประขาชน/องค์กรการเงิน หรือร้านค้า ชูแนวคิด Csr สงขลาช่วยสงขลา และสร้างจุดขายเป็นประสบการณ์หาได้เฉพาะสงขลา พร้อมศึกษาประวัติศาสตร์ตัวเงินที่เป็นวัตถุ นำมาแสดง ทำให้เห็นภาพรากของเงินสงขลาว่ามีมาก่อนแต่ปัจจุบันจะขับเคลื่อนเงินเป็น digital เพื่อลดต้นทุน ให้มีภาคีเครือข่าย สามารถนำมาใช้ในงานอีเวนต์มีพื้นที่ตั้งต้นเพื่อระบบเงินหมุนเวียนในชุมชน เสนอแนะร่วมสร้างเครือข่ายร้านค้าในการรับ coin ใช้ในการซื้อและถ้ามีส่วนลดให้ลดที่ coin มีตัวกลางในการซื้อขาย SK (ควบคุม ตั้งรหัส รัน wallet ผ่านแอพพลิเคชั่น) ใช้ เทคโนโลยีdigital กับผู้คนในยุคสมัย พร้อมกับมี Project นำร่องที่หาดใหญ่ คือหาดใหญ่ Deliveree โดยสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทยจ.สงขลาสร้างPlatform ใหม่/มาร์เกตเพส เพื่อป้องกันไม่ให้เงินไหลออกจากเมือง มีบริษัท inet ที่ร่วมพัฒนานำร่องช่วยพัฒนาระบบ พร้อมตั้งข้อสังเกตต่อโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมอย่างรุนแรง เช่น การพัฒนาพื้นที่จะนะเป็นอุตสาหกรรม การแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งด้วยมาตรการสิ่งก่อสร้าง ให้มีกระบวนการมีส่วนร่วมและคำนึงถึงความเสียหายจากผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
งานวันพลเมืองสงขลา ปี ๒๕๖๓ จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์สานพลังความร่วมมือขององค์กรภาคี ประกอบด้วยภาคประชาสังคม ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาควิชาการ องค์กรชุมชน ร่วม ๔๐ องค์กร ๒๓๓ คนเพื่อร่วมพัฒนาจังหวัดสงขลา ภายใต้แนวทางตามยุทธศาสตร์วิสัยทัศน์สงขลา ๒๕๗๐ เศรษฐกิจสร้างสรรค์ สิ่งแวดล้อมยั่งยืน และสังคมเป็นสุข และเป็นกิจกรรมนำเสนอผลการดำเนินงานขององค์กรภาคีต่างๆ และกำหนดวาระในการดำเนินการร่วมกัน โดยมีมูลนิธิชุมชนสงขลาเป็นองค์กรประสานงาน และมีองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลาสนับสนุนงบประมาณผ่านโครงการบูรณาการสร้างสุขภาพอนามัยภาคประชาชน และสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.) สนับสนุนงบประมาณในการจัดกิจกรรม
โดยเป็นกิจกรรมประจำปี จัดอย่างต่อเนื่อง ปีนี้ตรงกับวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๖๓เวลา ๐๘.๓๐-๑๔.๓๐ น. ณ ห้องเพิ่มพูน โรงแรมเบญจพรแกรนด์วิว ต.พะวง อ.เมือง จ.สงขลา
กิจกรรมสำคัญ ชม VTR นำเสนอ “ผลการดำเนินงานองค์กรภาคีเครือข่ายพลเมืองสงขลาประจำปี ๒๕๖๓” เสวนา “ร่วมขับเคลื่อนสงขลาหลังยุคโควิด ด้วย Songkhla digital money” โดย คุณพิชัย จงไพรัตน์ สมาพันธ์ SME ไทยจ.สงขลา และคุณชัยวุฒิ บุญวิวัฒนาการ
การประชุมกลุ่มในห้องย่อย “ความร่วมมือพัฒนาสงขลา ๒๕๖๔” เพื่อกำหนดเป้าหมายร่วม กลไกดำเนินงาน/เจ้าภาพหลักและภาคีความร่วมมือ และข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ประกอบด้วย
๑)Songkhla digital money วิทยากรห้องย่อย อ.พิชัย ศรีใส ภาคีเครือข่ายร่วมกำหนดแนวทางการสร้างความเข้มแข็งของพื้นที่ โดยการสร้างภูมิต้านทาน ลดความเสี่ยงจากเงินตราที่ไหลออกต่างประเทศ วางมาตรการเสนอแนะสร้างเครือข่ายความร่วมมือให้คนสงขลากินใช้ของคนสงขลาทำให้เงินหมุนเวียนอยู่ในพื้นที่
๒)เศรษฐกิจสร้างสรรค์ วิทยากรห้องย่อย คุณพิชยา แก้วขาว คุณเรณู ทิพย์มณี มุ่งเน้นการสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจฐานราก สร้างรายได้บนฐานทรัพยากร ภูมิปัญญา นวตกรรม
๓)สิ่งแวดล้อมยั่งยืน วิทยากรห้องย่อย คุณนิมิตร แสงเกต มุ่งเน้นการจัดการขยะ การดูแลสิ่งแวดล้อม ลดมลภาวะ การรับมือภัยพิบัติหรือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
๔)สังคมเป็นสุข วิทยากรห้องย่อย คุณชาคริต โภชะเรือง มุ่งเน้นการพัฒนาคน การดูแลคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบางทางสังคม ความมั่นคงทางอาหาร ลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ โดยมีนายประพันธุ์ ศรีสุวรรณ ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ให้ข้อเสนอแนะความร่วมมือและปิดงาน โดยนายชิต สง่ากุลพงศ์ ประธานมูลนิธิชุมชนสงขลา
ชาคริต โภชะเรือง รายงาน
บุญเลิศ อินสุวรรณโณ ภาพ
Relate topics
- จดหมายข่าวโครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง (SUCCESS) ฉบับที่ 1 - 10
- ก้าวที่ 1 ของ iMedCare ธุรกิจเพื่อสังคมของสงขลา"
- "แผนผังภูมินิเวศ"
- เครือข่าย SUCCESS เมืองควนลังร่วมงานส้มโอเมืองควนลังปี 2567
- "ทีม iMedCare วิถีผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน"
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 11 - 21
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 1 - 10
- "iMed@home ระบบกลุ่ม"
- สมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลาชูวาระ "พลิกโฉมพลังพลเมืองสงขลาเพื่อสังคมสุขภาวะที่ยั่งยืน"
- กิจกรรมรับบริจาคโลหิตประชารัฐสงขลาประจำเดือนตุลาคม 2567