ประชุมเชิงปฎิบัติการสานพลังเครือข่ายพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบางทางสังคม จ.สงขลา
วันที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๖๓ ณ ศูนย์บริบาลผู้สูงอายุ อบจ.สงขลา
เครือข่าย ๔PW หรือสมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลา ร่วมกับ กขป.เขต ๑๒ มูลนิธิชุมชนสงขลา และภาคีเครือข่าย
จัดประชุมเชิงปฎิบัติการสานพลังเครือข่ายพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบางทางสังคม จ.สงขลา
เป็นหนึ่งในกิจกรรมขับเคลื่อนการพัฒนานโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมยุทธศาสตร์การสร้างสังคมเป็นสุข: การดูแลคุณภาพชีวิตกลุ่มคนยากลำบากและเปราะบางทางสังคม
ผู้เข้าร่วม ๗๓ คน ประกอบด้วยองค์กรความร่วมมือ ได้แก่ สนง.คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.) อบจ.สงขลา/กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพ พมจ. สสจ. ประกันสังคมสงขลา สสว.๑๑ คณะพยาบาลศาสตร์ มอ. คณะนิติศาสตร์ ม.ทักษิณ สมาคมคนพิการ สาขาสภาผู้สูงอายุฯ มูลนิธิเพื่อนหญิง เครือข่ายผู้ติดเชื้อ เครือข่ายแรงงานนอกระบบ เหล่ากาชาดจังหวัด สมาคมอาสาสร้างสุข เครือข่ายบัณฑิตอาสาสู้ภัยโควิด มอ. ศูนย์บ่อยางสงขลาพึ่งพาตนเอง ชมรมเพื่อนช่วยเพื่อนคนพิการ ชมรมคนนาทวีไม่ทอดทิ้งกัน
ข้อสรุปสำคัญ
๑.สร้างความร่วมมือ เปิดพื้นที่การทำงานเป็นเครือข่ายในภาพรวมจังหวัด
๑.๑ องค์กรภาคประชาสังคม(สมาคม/มูลนิธิ/ชมรมคนพิการ/ผู้สูงอายุ)ทำงานร่วมกัน จัดเวทีกลางแลกเปลี่ยนเรียนรู้ mapping สภาพปัญหา/ศักยภาพ กรณีศึกษา ร่วมจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตเฉพาะกลุ่่มตามโอกาส
๑.๒ ปีหน้าจะร่วมกันจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุร่วมกับพมจ. ร่วมกับคณะพยาบาลมอ.ในการทำงานเรื่องผู้สูงอายุ ร่วมกับกองทุนฟื้นฟูฯ ทำงานกับศูนย์สร้างสุขฯ และอื่นๆ
๑.๓ ขยายกลุ่มเป้าหมายไปยังกลุ่มเปราะบางทางสังคมอื่นๆ
๒.ดาวน์โหลดแอพฯ ฝึกปฎิบัติการใช้งานและจัดตั้ง Admin ผู้ใช้ข้อมูลกลางในแอพฯ iMed@home ที่จะเป็น open platform ของแต่ละองค์กร
๒.๑ อนุมัติสิทธิ์เฉพาะผู้มีหน้าที่โดยตรงในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล สามารถดูและแก้ไขข้อมูล ประสานส่งต่อข้อมูลเพื่อจัดทำแผนและเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง โดยมุ่งเน้นการทำงาน ๒ ระดับ คือ ระดับตำบล มีการพัฒนากลไกระดับพื้นที่ จัดทำแผนฯตำบลและแผนรายบุคคล การจัดทำกติกา/กองทุนกลาง การเยี่ยมบ้านเพื่อสำรวจความต้องการและติดตามผลการแก้ปัญหา และร่วมกับกองทุนฟื้นฟู/พมจ./สสจ.จัดระบบข้อมูลให้เป็นฐานเดียวกันโดยกองทุนฯอบจ.เป็นเจ้าภาพจัดหา saver กลางของภาครัฐที่จะนำ data พื้นฐานของแต่ละองค์กรเข้ามาในระบบเดียวกัน
๒.๒ ขยายผลไปยังผู้นำศาสนาทั้งพุทธ คริส อิสลาม ในการใช้ระบบเยี่ยมบ้านรายงานกิจกรรม
๒.๓ ข้อมูลที่จะทำร่วมกัน จะอยู่บนฐานผู้ใช้และผู้ปฎิบัติมาทำงานบน platform เดียวกัน
๓.จัดตั้งกลุ่ม line iMed@สงขลา เพื่อเป็นช่องทางสื่อสารกลาง
ชาคริต โภชะเรือง รายงาน
Relate topics
- จดหมายข่าวโครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง (SUCCESS) ฉบับที่ 1 - 10
- ก้าวที่ 1 ของ iMedCare ธุรกิจเพื่อสังคมของสงขลา"
- "แผนผังภูมินิเวศ"
- เครือข่าย SUCCESS เมืองควนลังร่วมงานส้มโอเมืองควนลังปี 2567
- "ทีม iMedCare วิถีผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน"
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 11 - 21
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 1 - 10
- "iMed@home ระบบกลุ่ม"
- สมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลาชูวาระ "พลิกโฉมพลังพลเมืองสงขลาเพื่อสังคมสุขภาวะที่ยั่งยืน"
- กิจกรรมรับบริจาคโลหิตประชารัฐสงขลาประจำเดือนตุลาคม 2567