ปัญญาปฏิบัติ
"ปัญญาปฎิบัติ"
ระบบการทำงานนอกจากแยกส่วนต่างคนต่างทำ ต่างคนต่างก็มีกลุ่มพวกเฉพาะของตน ไม่กระจายตัวและคิดในมิติที่ครอบคลุมผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแล้ว ยังมีกับดักพื้นฐานอื่นอีกด้วย
วัฒนธรรมองค์กรที่ก่อตัวสะสมจนกระทั่ง "แช่แข็ง" ตัวเอง เป็นผลสืบเนื่องจากประเพณีปฎิบัติ กระทั่งละเลยการเชื่อมโยงหรือมองผลการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบ ทำให้เกิดช่องว่างและปัญหาในภาระงานที่เหลื่อมซ้อน หรือจำเป็นที่จะต้องส่งต่อ เชื่อมโยงกับคนอื่น
เป็นปัญหาวิธีการแปลงนโยบายไปสู่การปฎิบัติ ติด "คอขวด" การปฎิบัติ
อันอยู่บนฐานแนวระนาบ มากกว่าแนวดิ่ง
การเปลี่ยนพฤติกรรมจำเป็นที่จะต้องมีช่วงเปลี่ยนผ่าน การลงมือทำงานร่วมกันในบางพื้นที ใช้เวลาในการเรียนรู้คนอื่น วิธีการอื่น เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ใหม่ บางกิจกรรมที่มีลักษณะเป็น "ต้นแบบ" ครบวงจร จึงเป็นทางออกหนึ่งในการวางรากฐานการทำงาน ทำแนวระนาบในระดับปฎิบัติอย่างเดียวก็ไม่พอ ยังจำเป็นจะต้องผนวกกับระดับนโยบาย(ระดับ ๑ และ ๒ จำเป็นที่จะต้องลงมาถึงพื้นที่การทำงานระดับ ๓) มิเช่นนั้นจะไม่รับทราบปัญหาและช่องว่างที่เกิดขึ้น อันเป็นผลสืบเนื่องจากวัฒนธรรมการทำงานที่แแตกต่าง ซึ่งเป็นปัญหาระดับผู้ปฎิบัติ
ก่อนที่จะนำผลสำเร็จไปขยายผลต่อไป ความรู้และความจริงจากการลงมือทำจะสร้าง "ปัญญา" จากการปฎิบัติ การละเลยปัญหาดังกล่าว จึงส่งผลให้กรรมการระดับนโยบาย ที่ได้ชื่อว่าเป็น "บอร์ด" ในวันหนึ่งจึง "บอด" ไปจริงๆ
ชาคริต โภชะเรือง
Relate topics
- "kickoff รถรับส่งผู้ปวยตำบลควนโส"
- "รถเติมสุขอำเภอนาทวี"
- "รถเติมสุขอำเภอสะบ้าย้อย"
- "พัฒนาระบบรถรับส่งผู้ป่วยพบแพทย์ตำบลคูหา"
- "ประชุมทีมเครือข่ายเกษตรสุขภาพจังหวัดสงขลา"
- "พัฒนาระบบบริการรถรับส่งผู้ป่วยพบแพทย์ อบต.บาโหย"
- พัฒนาPlatform รองรับบริการรถรับส่งสาธารณะจ.สงขลา
- กลางเดือนมีนาคม 2568 ดีเดย์เริ่มทดลองวิ่งรถบริการ
- การเก็บข้อมูลเพื่อปรับสภาพบ้านคนพิการติดเตียง
- "เครือข่ายเกษตรสุขภาพจังหวัดสงขลา" ประชุมแกนคณะทำงานครั้งที่ 1/2568