กับดักการทำงาน
"กับดักการทำงาน"
๑)
ภายใต้โครงสร้่างการทำงานแนวดิ่ง(Top down) ที่จำลองแนวคิดแบบสังคมอุตสาหกรรม สั่งการณ์ตามลำดับชั้นบังคับบัญชา แยกส่วนตามอำนาจหน้าที่รับผิดชอบ ผนวกกับแรงเฉื่อยจากสังคมยุคเก่าที่เชื่อในผู้นำ มีอิทธิพลต่อการทำงานกระแสหลักของระบบการทำงานในปัจจุบัน
ส่งผลให้เกิด "กับดัก" ที่ข้ามไม่พ้นอยู่หลายประการ กล่าวคือ
๑.พื้นที่การทำงานจะลงไปไม่ถึงปลายทาง(๓) ระบบตัวบุคคลบวกกับการแยกส่วนจากกันทำให้เกิดภาวะกระจุกตัว มี "คอขวด" การทำงาน ติดอยู่ในพื้นที่ ๑ และ ๒ ต่างก็มี "พวก" ของตัวเอง มีกลุ่ม "ลูกค้า" เฉพาะของตัวเอง อันเป็นผลมาจากวัฒนธรรมการทำงานที่สะสมมานาน ทั้งรู้ตัวและไม่รู้ตัว จึงละเลยพื้นฐานที่มี "ผู้เล่น" จำนวนมาก มีอิสระ ไม่เข้าพวกใคร หรือพวกใครพวกมัน ไม่เคยได้รับประโยชน์ ไม่มีส่วนร่วม ไม่มีกระบวนการเชื่อมร้อยที่เป็นระบบ ผนวกกับสังคมที่แตกกระจายเป็นส่วนๆ หลากความคิด ความเชื่อ มีการข้ามพื้นที่ ไหลเลื่อนเกินมิติพื้นที่ปกครอง การพัฒนาใดๆจึงเกิดการกระจุกตัว ไม่ไปถึงปัญหาหรือกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการ สุดท้ายแม้จะเกิดตัวแบบเล็กๆกระจัดกระจายเต็มไปหมด สำเร็จได้จากงบประมาณและภาวะผู้นำที่ดีแต่ไม่สามารถปรับเปลี่ยนเชิงระบบ
๒.สภาพพื้นฐานของชุมชนแตกสลาย พังทลาย ที่ยึดโยงกันได้ก็ด้วย "บุญเก่า" บวกกับความสามารถส่วนบุคคลของภาวะผู้นำทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นรัฐ เอกชน ประชาสังคม นักวิชาการ ชุมชนมีแต่ชื่อ ทว่าความสัมพันธ์พื้นฐานผุกร่อน อ่อนแอ ภาวะฐานรากที่ทรุดโทรมเช่นนี้ทำให้ไม่เอื้อต่อการเติบโตด้วยตัวเอง แต่มีโอกาสจากเทคโนโลยี ภาวะโลกที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้คนตัวเล็กๆน้อยๆมีโอกาสได้ใช้ศักยภาพของตนได้เต็มที่ เราจึงเห็น "หน่ออิสระ" ผุดบังเกิดที่นั่น ที่โน่น ที่นี่ ด้วยตัวเองมากกว่าสภาพแวดล้อมหรือการพัฒนา ๓.ระบบการทำงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ ไม่ครบวงจร ขาดข้อมูลพื้นฐานรองรับ ขาดการติดตามประเมินผล การตรวจสอบ มีแต่ระบบย่อย แต่ขาดระบบหลัก และรวมศูนย์
ทางออกจึงไม่ใช่เดินไปในทิศทางหรือวิธีการเดิม แต่จำเป็นจะต้องเปลี่ยนแปลงใหม่
๒)
การสร้างระบบนิเวศการทำงาน หรือสนามพลัง (Platform) ที่เอื้อให้แต่ละชีวิตได้เติบโตภายใต้ความคิด ความเชื่อ และศักยภาพของตนจึงเป็นแนวทางใหม่
เริ่มด้วยการปรับกระบวนทัศน์ (Mindset) วิเคราะห์สภาพปัญหา ทำความเข้าใจภาวะที่เปลี่ยนแปลงไปของสังคม ถักทอเชื่อมโยงผู้คนที่มีส่วนได้ส่วนเสียในแต่ละเรื่องมาอยู่ในพื้นที่การทำงานเดียวกัน พร้อมกับวางรากฐาน ฟื้นฟูความสัมพันธ์ในฐานะสิ่งมีชีวิตร่วมโลก เห็นความสัมพันธ์ของตนเองกับผู้อื่นและสภาพแวดล้อม รวมไปถึงระบบที่โอบอุ้ม
ข้อมูล (Data) จากรายบุคคลและพื้นที่ อันเกิดจากการคิดร่วมกัน หาคำตอบร่วมกัน จะนำมาสู่การจัดทำกติกาหรือนโยบายที่ดีได้มากกว่านำข้อสรุปจากมุมมองใดมุมมองหนึ่งมาชี้นำ บวกกับกลไกการมีส่วนร่วมที่คำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จะมาช่วยกระชับและสร้างการเปลี่ยนแปลง
ระบบสนับสนุนดังกล่าว ประกอบด้วย ข้อมูล กลไก กติกา กองทุน เปรียบเสมือนระบบนิเวศที่พร้อมรองรับการเติบโตของสิ่งมีชีวิต
เปลี่ยนตัวเราจากผู้กระทำมาเป็นผู้สนับสนุน
เรื่องกลางๆเช่นนี้จึงเป็นสิ่งที่เข้ามาโอบอุ้มทุกอย่างที่แตกกระจายจากกันให้สามารถเติบโต มีชีวิตไปด้วยกัน
ชาคริต โภชะเรือง
Relate topics
- จดหมายข่าวโครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง (SUCCESS) ฉบับที่ 1 - 10
- ก้าวที่ 1 ของ iMedCare ธุรกิจเพื่อสังคมของสงขลา"
- "แผนผังภูมินิเวศ"
- เครือข่าย SUCCESS เมืองควนลังร่วมงานส้มโอเมืองควนลังปี 2567
- "ทีม iMedCare วิถีผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน"
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 11 - 21
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 1 - 10
- "iMed@home ระบบกลุ่ม"
- สมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลาชูวาระ "พลิกโฉมพลังพลเมืองสงขลาเพื่อสังคมสุขภาวะที่ยั่งยืน"
- กิจกรรมรับบริจาคโลหิตประชารัฐสงขลาประจำเดือนตุลาคม 2567