ความเข้าใจพื้นฐานต่อโรคโควิด ตอนที่ 20

by punyha @30 เม.ย. 63 12:16 ( IP : 171...141 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์ , มองมุมหมอ
  • photo  , 960x720 pixel , 98,762 bytes.
  • photo  , 960x466 pixel , 92,353 bytes.
  • photo  , 720x960 pixel , 94,580 bytes.
  • photo  , 720x959 pixel , 101,555 bytes.

ความเข้าใจพื้นฐานต่อโรคโควิด ตอนที่ 20

โควิด การผ่าตัดไม่สะดุด ด้วย RT-PCR ที่โรงพยาบาลสิชล

สถานการณ์โควิดที่ปั่นป่วนมาสองสามเดือนเต็ม ทำให้การจัดบริการในโรงพยาบาลหยุดชะงักไปมาก โดยเฉพาะกลุ่มที่ต้องทำหัตถการทางการแพทย์ เช่นการผ่าตัด หรือการรักษาที่ต้องการการ admit นอนโรงพยาบาลเพื่อรักษาต่อเนื่องเช่นโรคมะเร็ง ต่างก็ถูกเลื่อนนัดกันไปเกือบหมด ผลกระทบต่อผู้ป่วยนั้นย่อมมีพอสมควร ผู้ป่วยต้องทนเจ็บป่วยเจ็บปวดต่อไปก่อนในช่วงโควิด บางรายอาการแย่ลง บางรายรออย่างไม่รู้อนาคต ครั้นแพทย์จะนัดมาผ่าตัด แพทย์เองก็ไม่มั่นใจว่าผู้ป่วยมีเชื้อโควิดไหม ต้องแต่งตัวชุด PPE เข้าผ่าตัดก็เป็นไปได้ยาก เพราะไม่สะดวกในการผ่า งานผ่าตัดที่ละเอียดๆก็ทำไม่ได้

ที่โรงพยาบาลสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช นายแพทย์อารักษ์ วงศ์วรชาติ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสิชลเล่าให้ฟังว่า “ที่โรงพยาบาลสิชล เมื่อสามารถ set ระบบการตรวจ RT-PCR เพื่อหาเชื้อโควิดเองได้แล้ว นอกจากจะนำมาตรวจหาเชื้อในกลุ่มเสี่ยงแล้ว ที่สิชลยังได้เริ่มนัดคนไข้ที่มีคิวผ่าตัดที่ชงักไป กลับมา admit และตรวจ RT-PCR ทุกราย รอผล 3-5 ชั่วโมงก็ทราบผล หากผมเป็นลบก็สามารถผ่าตัดได้ ไม่เฉพาะผู้ป่วยผ่าตัด แต่รวมถึงผู้ป่วยคลอด ผู้ป่วยใน ICU ผู้ป่วยที่ต้องทำหัตถการที่แพทย์ต้องใกล้ชิดกับผู้ป่วย เมื่อเป็นเช่นนี้แพทย์พยาบาลก็มั่นใจขึ้น ผู้ป่วยก็ไม่เสียโอกาสในการรับการรักษา”

คุณหมออารักษ์ เล่าในเชิงความคุ้มค่าว่า “ RT-PCR ต้นทุนครั้งละไม่เกิน 2,000 บาท เมื่อเทียบกับว่าหากต้องผ่าตัดผู้ป่วยหนึ่งราย ต้องมีแพทย์ผ่าตัด 1 คน แพทย์ดมยา 1 คน พยาบาลผ่าตัด 2-3 คน พยาบาลดมยาอีก 1 คน ลูกจ้างส่งของ 1 คน รวมแล้วก็ 6-7 คน ใส่ชุด PPE ชุดละราว 500 บาท ในมุมมองเศราษฐศาสตร์แล้วคุ้มมาก ในมุมมองผู้ป่วยนั้นเขาดีใจอย่างที่สุด”

ผมเองก็ทราบข่าวจากเพื่อนแพทย์ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ว่า ที่จุฬาก็มีแนวปฏิบัติในทำนองเดียวกัน ตรวจ RT-PCR ทุกรายเพื่อให้การผ่าตัดและการดูแลผู้ป่วยโรคซับซ้อนสามารถเดินต่อได้ในช่วงโควิด

ทุกโรงพยาบาลต้องพิจารณากลับมาจัดบริการให้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด หากเราตื่นกลัวโควิดจนเกินไป ผู้ป่วยทั่วไป ผู้ป่วยอื่นๆที่รอคิวรักษา จะขาดโอกาสนี้ไป การจัดการที่ดีและรัดกุมจะช่วยลดความเสี่ยงลงได้

โรงพยาบาลสิชลคืออีกหนึ่งการบริหารจัดการระบบบริการในช่วงโควิดที่น่าชื่นชมยิ่งจนต้องบอกกล่าวครับ

ปล.รูปแรกแสดงการผ่าตัดที่ต้องใส่ชุด PPE เต็มรูปแบบ ซึ่งสิ้นเปลืองและไม่สะดวกมากๆ รูปต่อไปคือการผ่าตัดตามปกติหลังทราบผลตรวจด้วย RT-PCR

นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ  25 เมษายน 2563

Relate topics

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน