งานพัฒนาศักยภาพแกนนำเครือข่ายตำบลร่วมขับเคลื่อนวิสัยทัศน์สงขลา

  • photo  , 960x540 pixel , 68,174 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 71,926 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 60,699 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 74,189 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 59,145 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 51,421 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 59,674 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 71,397 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 59,319 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 68,237 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 67,731 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 67,822 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 65,820 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 53,029 bytes.

มูลนิธิชุมชนสงขลา พัฒนาศักยภาพแกนนำเครือข่ายตำบลภายใต้โครงการบูรณาการสร้างสุขภาพอนามัยภาคประชาชนที่ได้รับการสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ร่วมนำเสนอแนวทางกิจกรรมที่จะต่อยอดงานธรรมนูญตำบลน่าอยู่

ตอบสนองเป้าหมายวิสัยทัศน์สงขลา ๒๕๗๐ ดังนี้

๑)ด้านสังคมเป็นสุข

-ทต.ท่าช้าง ตั้งใจทำเรื่องธนาคารเวลา เพื่อดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง และประสบปัญหาสุขภาพจิตไม่สามารถอยู่ร่วมในสังคม โดยให้ผู้สูงอายุที่ช่วยตัวเองได้ไปดูแลคนที่ช่วยตัวเองไม่ได้ เชื่อมโยงกับงานจัดการขยะ การจัดการธนาคารน้ำใต้ดิน การปลูกผักปลอดสารพิษ

-ทม.ปาดังเบซาร์ ต่อยอดงานด้านผู้สูงวัยทางกาย จิต/การส่งเสริมวัฒนธรรม การอยู่ร่วมกันทางสังคมพหุวัฒนธรรม กิจกรรมที่จะดำเนินการเน้นการดูแลกลุ่มเปราะบาง สร้างเครือข่ายให้มากขึ้น(วางเป้า ๒๐๐ คน) ลงเยี่ยมผู้ป่วย ค้นหากลุ่มเปราะบางอื่นๆ เช่น บัตรประชาชน การติดตั้งสัญญาณเพื่อช่วยดูแลผู้สูงอายุที่อยู่คนเดียว การฟื้นฟูกลองยาว

-ต.คูหา ได้ทำ care plan ดูแลผู้สูงอายุ/คนพิการ มีแผนให้กับ cg,cm ลงดูแลเคส นำงบไปทำกิจกรรมเยี่ยมบ้าน เยี่ยมซ้ำ และเสริมงานสภาเยาวชน ในการทำศูนย์เรียนรู้การจัดการขยะ

-ต.ปากรอ ดูแลผู้สูงอายุ/กลุ่มเปราะบาง ที่อยู่ติดบ้าน ขยับกิจกรรมปลูกผักสวนครัวรั้วสุขภาพ ไปจำหน่ายศูนย์เด็กเล็กและอบต.

-ต.ท่าชะมวง ต่อยอดงานจัดการขยะและการดูแลกลุ่มเปราะบาง ในการจัดการข้อมูล และปรับพฤติกรรมผู้สูงอายุที่สูบบุหรี่

-ต.ควนโส ต่อยอดงานผู้สูงอายุและคนพิการที่ติดเตียง จำเป็นต้องมีคนดูแล ที่ต้องมีนักกายภาพและนักจิตวิทยา ประสานกองทุนฟื้นฟูฯปรับสภาพบ้าน(เห็นปัญหาการมีบ้านที่ควรสอดคล้องกับคนพิการ)

๒)ด้านสิ่งแวดล้อมยั่งยืน

-ต.โคกม่วง ต่อยอดเรื่องการจัดการขยะที่สามารถลดขยะลงได้จำนวนมาก ด้วยพื้นที่เห็นเป็นปัญหาร่วม บวกกับการมีถนนไร้ถัง ทอดผ้าป่าขยะรีไซเคิล และการเข้มงวดกับขยะจากต่างถิ่นที่มีทิ้งในพื้นที่ เน้นทำกิจกรรมโรงเรียนผู้สูงอายุ

-ต.พะตง เน้นการจัดการขยะ มีประชากรแฝงมาก โรงงานมาก มีแรงงานต่างด้าว กิจกรรมจะทำน้ำหมักชีวภาพและปลูกผักอินทรีย์ ๓ ชุมชนโดยร่วมกับสวนผักคนเมือง

-ต.แค จะทำกิจกรรมจัดการขยะ ขยะแลกบุญที่มัสยิด ขยายเครือข่ายไปยังเยาวชนทำขยะ eco brick แลกไข่

-ต.ท่าประดู่ ต่อยอดการจัดการขยะ จัดกิจกรรมทอดผ้าป่าขยะและเกษตรสุขภาพ(จัดเก็บเมล็ดพันธุ์ผักเองและวางแผนการผลิต)

๓)ด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์

-ต.ควนลัง พัฒนามาตรฐาน PGS ในกลุ่มเกษตรกร ทำกิจกรรมรถโมบายเคลื่อนที่จำหน่ายผลผลิตอินทรีย์ จัดทำกล่องผักหมุนเวียน

-ต.บ่อยาง สร้างรายได้ด้วยการทำข้าวสวยนึ่งให้กลุ่มเปราะบางที่มีรายได้น้อย ทำน้ำหมักชีวภาพและน้ำส้มหมัก และโรงเรียนรวมมิตร(๓ วัย)ในชุมชน

จะเห็นได้ว่าแต่ละตำบลเริ่มเชื่อมโยงงานด้านสังคมเข้ากับสิ่งแวดล้อมและนำไปสู่การสร้างรายได้ การแลกเปลี่ยนกิจกรรมร่วมกันทำให้เกิดการส่งต่อความรู้จากการปฎิบัติ และนำมาสู่การเป็นเครือข่ายการทำงานร่วมกัน

ชาคริต โภชะเรือง รายงาน

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน