สวนป้าเถี้ยน ห้องเรียนสวนผักคนเมิืองสัญจรประจำเดือนมกราคม 2563

  • photo  , 960x642 pixel , 57,844 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 143,305 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 88,214 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 87,601 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 114,817 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 87,295 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 155,087 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 115,534 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 132,135 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 120,254 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 123,661 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 141,433 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 116,445 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 103,671 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 110,330 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 109,109 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 90,935 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 131,336 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 117,008 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 116,855 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 114,782 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 97,087 bytes.
  • photo  , 528x960 pixel , 109,154 bytes.
  • photo  , 528x960 pixel , 82,372 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 99,710 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 81,612 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 97,689 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 94,919 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 97,762 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 73,768 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 63,070 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 76,829 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 77,803 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 89,388 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 89,686 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 82,140 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 102,770 bytes.
  • photo  , 960x642 pixel , 123,108 bytes.
  • photo  , 960x642 pixel , 118,525 bytes.
  • photo  , 960x642 pixel , 78,304 bytes.
  • photo  , 960x642 pixel , 70,697 bytes.
  • photo  , 960x642 pixel , 81,299 bytes.
  • photo  , 960x642 pixel , 112,035 bytes.
  • photo  , 960x642 pixel , 121,038 bytes.
  • photo  , 960x642 pixel , 76,739 bytes.
  • photo  , 960x642 pixel , 125,859 bytes.
  • photo  , 960x642 pixel , 151,466 bytes.
  • photo  , 960x642 pixel , 156,163 bytes.
  • photo  , 960x642 pixel , 155,768 bytes.
  • photo  , 960x642 pixel , 98,529 bytes.

"สวนป้าเถี้ยน"

ห้องเรียนสวนผักคนเมืองหาดใหญ่สัญจรประจำเดือนมกราคม จัดทัวร์สุขภาพลงเยี่ยมแปลงสวนป้าเถี่ยน ม.๙ ต.คูเต่า สมาชิกเครือข่ายเกษตรสุขภาพจังหวัดสงขลา เป็นอีกหนึ่งแปลงที่ได้รับใบรับรอง SGS-PGS

ป้าเถี้ยนและไก่-ลูกชาย เป็นสมาชิกกลุ่มเกษตรอินทรีย์คูเต่า รวมตัวกันปลูกผักอินทรีย์มาหลายปี ปู-วัลลภแกนนำเล่าว่าต.คูเต่าอยู่ปลายน้ำของลุ่มน้ำอู่ตะเภา ที่มีอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากร ผัก ผลไม้(ส้มโอ อ้อย ส้มเขียวหวาน) ปลากระบอก ปู อดีตเคยเป็นพื้นที่ปลูกข้าว ปัจจุบันเป็นนาร้างไปหมดแล้ว

ป้าเถี้ยนและไก่ เริ่มด้วยการปลูกผักคะน้า ผักบุ้ง จนชำนาญ ยกระดับแปลงการผลิตจากทำแปลงดินขุดด้วยจอบมากั้นแปลงด้วยอิฐบลอก ข้อดีก็คือ ดูแลง่ายเป็นระเบียบสวยงาม เวลารดน้ำปุ๋ยไม่ไหลออกจากแปลง แปลงผักที่นี่ผสมดินใหม่จากดินซื้อมาคลุกกับแกลบขี้ไก่ ลงพันธ์ผักจนเริ่มโตจากนั้นรดน้ำน้ำขี้วัว แยกผักที่เบียดแน่นออกไปลงแปลงใหญ่ที่ทำเป็นโรงเรือนต่างหาก โรงเรียนแห่งนี้ไก่ออกแบบเอง ทำโครงเหล็กดัดเป็นทรงโค้งครึ่งวงกลม คลุมพลาสติกขาวและสะแลน การมีโรงเรือนทำให้สมารถปลูกผักคะน้าในหน้าฝน ผักคะน้า กวางตุ้ง เติบโตได้ดี แต่ก็มีปัญหาหนอนกินผักอยู่บ้าง ใช้วิธีแบ่งปันกัน เช่นเดียวกับเป้าหมายของการปลูกผักของไก่ เขาตั้งใจเป็นแหล่งอาหารสุขภาพให้ชุมชน มากกว่าติดในแง่ผลกำไรเชิงพาณิชย์ รวยแล้วสุขภาพไม่ดี ก็ไม่รู้จะรวยไปทำไม

ระยะต่อไปไก่จะลองทำโรงเรือนระบบปิด ชั้นบนคลุมพลาสติกชั้นล่างใช้มุ้งขาวปิดกันแปลง

ไก่เป็นแรงงานหลัก ใช้เวลาหลังเลิกงานมาทำสวนผัก บางครั้งก็ทำในเวลากลางคืน ใช้แสงไฟช่วย ข้อดีอีกอย่างก็คือ ได้ดูแมลง ดูหนอน สังเกตุผักอย่างใกล้ชิด และไม่คิดจะติดระบบรดน้ำอัตโนมัติ ใช้ระบบรดน้ำด้วยมือ การใกล้ชิดกับแปลงผลิตทำให้ผลผลิตที่นี่ออกมาสวยงาม มีคุณภาพ

ห้องเรียนสวนผักคนเมืองรอบนี้เรียนรู้การปลูกผักของป้าเถี้ยนและไก่ ตั้งแต่การเตรียมดิน ลงต้นกล้า เก็บผลผลิต และฟื้นฟูแปลงก่อนผลิตใหม่ ลองโรยเมล็ดผักบุ้งในแปลง เรียนรู้การรวมตัวการผลิตและจำหน่ายของกลุ่มเกษตรอินทรีย์คูเต่าที่นับหนึ่งมาจากงานการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเมืองหาดใหญ่พร้อมๆกับสวนผักคนเมืองหาดใหญ่ นอกจากนั้นได้เรียนรู้การปลูกอ้อยอินทรีย์ ก่อนที่จะทานมื้อเที่ยงร่วมกันพร้อมกับสมาชิกที่หิ้วปิ่นโตมาจากบ้าน

มีเกษตรกรมืออาชีพหลายคนมาร่วม ถือได้ว่ามาหาเพื่อนไปในตัว อย่างไรก็ดีความสัมพันธ์ระหว่างเกษตรกรด้วยกันแค่นั้นยังไม่พอ จำเป็นที่จะต้องมีผู้บริโภคที่เข้าใจ พร้อมที่จะสนับสนุนอีกด้วย เหนืออื่นใดความเป็นชุมชนที่จะเดินหน้าไปด้วยกันคือหัวใจของการจัดกิจกรรม

เรียนรู้กันเสร็จ ปลานำรถสองแถวที่ซื้อมาเพื่อตกแต่งเป็นรถกับข้าวส่งผลผลิตนำสมาชิกจำนวนหนึ่งไปชมวัดคูเต่า ได้ทั้งอิ่มท้อง อิ่มตา และอิ่มใจ

ขอบคุณกำนันประยูรที่มาต้อนรับ ขอบคุณปูในการประสานงานทุกอย่าง

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน