"แนวตั้งถักทอแนวราบ"
"แนวตั้งถักทอแนวราบ"
เขียนโดย ชาคริต โภชะเรือง
หลังทราบว่าผู้ว่าคนใหม่ของสงขลานายจารุวัฒน์ เกลี้ยงเกลา ประกาศทิศทางการพัฒนาที่จะไม่สร้างวาระของตัวเองแต่จะเน้นต่อยอดจากงานเดิมเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องและเน้นเรื่องเร่งด่วน นับเป็นนิมิตรหมายที่ดี
มูลนิธิชุมชนสงขลา และเครือข่ายความร่วมมือจึงขอเข้าพบเพื่อหารือความร่วมมือในการทำงานการพัฒนาบนฐานการใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง โดยอาศัยวิสัยทัศน์สงขลา ๒๕๗๐ "สงขลาเมืองเศรษฐกิจสร้างสรรค์ สิ่งแวดล้อมยั่งยืน สังคมเป็นสุข" ที่ทำร่วมกับ ๑๕ ภาคีบริหารจัดการเป็นเป้าหมายการทำงาน บนฐานคิดสร้างความต่อเนื่องและต้องการประสานผู้ปฎิบัติของแต่ละองค์กรมาทำงานร่วมกันอย่างครอบคลุมผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ไม่ได้ต้องการงบประมาณ แต่ต้องการนำเสนอข้อมูลแนวคิด แนวทางการพัฒนาที่ประชาสังคมส่วนหนึ่งกำลังดำเนินการอยู่ ภายใต้หลักการ "เก้าอี้ ๔ ขา" มีความเสมอภาค เท่าเทียม อิสระ ในการทำงาน โดยมีจุดเน้นลดช่องว่าง เสริมระบบการทำงานที่ยังมีจุดอ่อน
๑.พัฒนาระบบข้อมูลกลาง ให้สามารถใช้ข้อมูลฐานเดียวกัน โดยเฉพาะข้อมูลพื้นฐานที่แต่ละหน่วยงานสามารถนำมาเปิดเผยและใช้ประกอบการทำงานร่วมกัน กรณีนี้งานการดูแลคนพิการ ผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง คนยากลำบากฯ ได้เริ่มต้นวางรากฐานไว้แล้ว มีทั้งเครื่องมือคือ แอพพลิเคชั่น iMed@home เจ้าภาพหลักคือ กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพอบจ.สงขลา พมจ. สสจ. ซึ่งมีข้อติดขัดในระเบียบกฏหมายบางประการที่ไม่อาจทำให้เกิดการบูรณาการข้อมูลร่วมกัน ทุกคนเห็นปัญหาร่วม บางพื้นที่ตัดสินใจร่วมมือกันเองโดยไม่พึ่งนโยบาย ทางสำนักงานจังหวัดจะเป็นเจ้าภาพเชิญทุกฝ่ายมาหารือกันต่อไป
๒.การส่งเสริมอาหารสุขภาพ ที่มีรพ.หาดใหญ่ ได้ดำเนินการร่วมกับเครือข่ายเกษตรสุขภาพจังหวัดสงขลา ทั้งมาตรฐาน GAP และPGS มีความก้าวหน้าไปตามลำดับ เป้าหมายก็คือ ให้เกิดระบบข้อมูลร่วมกัน เก็บข้อมูลเกษตรกรทั้งรายเล็ก ใหญ่ ทุกมาตรฐาน นำมาวางแผนการผลิตร่วมกัน คู่กับการประสานตลาดอื่นๆที่มีนอกเหนือจากรพ.และร่วมกับสหกรณ์การเกษตร/ธกส.ในด้านงบประมาณ งานนี้มอบให้สนง.เกษตรและสหกรณ์จังหวัดเป็นเจ้าภาพประสานงานต่อไป
๓.การจัดการขยะ เพิ่มมิติในเชิงนวตกรรม เช่น นำขยะมาใช้ประโยชน์ในรูปแบบที่เอื้อต่อชุมชน ไม่กระทบต่อมลภาวะ นำมาแปรเป็นพลังงงาน(เช่น ถ่าน แก๊ส พลังงานทางเลือก-ไฟฟ้าขนาดเล็ก) สร้างธุรกิจเพื่อสังคมจากวัสดุเหลือใช้ เหล่านี้จะร่วมกับท้องถิ่นจังหวัด อปท. หรือระดมทุนจัดตั้งกองทุนกลางระดับตำบลเพื่อช่วยเหลือคนด้อยโอกาส
จะเห็นได้ว่าทั้ง ๓ ด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สังคม ล้วนเป็นกระบวนการทำไปด้วยกัน เป้าหมายสุดท้ายที่เราอยากเห็นก็คือ สังคมเป็นสุข
ขอบคุณสำนักงานจังหวัดที่เป็นผู้ประสานงานครับ
Relate topics
- จดหมายข่าวโครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง (SUCCESS) ฉบับที่ 1 - 10
- ก้าวที่ 1 ของ iMedCare ธุรกิจเพื่อสังคมของสงขลา"
- "แผนผังภูมินิเวศ"
- เครือข่าย SUCCESS เมืองควนลังร่วมงานส้มโอเมืองควนลังปี 2567
- "ทีม iMedCare วิถีผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน"
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 11 - 21
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 1 - 10
- "iMed@home ระบบกลุ่ม"
- สมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลาชูวาระ "พลิกโฉมพลังพลเมืองสงขลาเพื่อสังคมสุขภาวะที่ยั่งยืน"
- กิจกรรมรับบริจาคโลหิตประชารัฐสงขลาประจำเดือนตุลาคม 2567