สภาผู้นำบางกล่ำ

  • photo  , 480x480 pixel , 59,498 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 58,305 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 51,686 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 52,231 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 53,898 bytes.
  • photo  , 480x480 pixel , 44,318 bytes.
  • photo  , 480x480 pixel , 60,279 bytes.
  • photo  , 480x480 pixel , 39,879 bytes.
  • photo  , 480x480 pixel , 37,565 bytes.
  • photo  , 480x480 pixel , 41,806 bytes.
  • photo  , 480x480 pixel , 43,295 bytes.
  • photo  , 480x480 pixel , 51,157 bytes.
  • photo  , 480x480 pixel , 65,272 bytes.

"สภาผู้นำบางกล่ำ"

เขียนโดย ชาคริต โภชะเรือง

วันที่ ๘ พฤษภาคม ๒๕๖๒  นัดแกนนำชุมชนตำบลบางกล่ำมาหารือแนวทางการจัดทำธรรมนูญตำบลน่าอยู่ โดยการประสานงานของปลัด แต่ชนกับกิจกรรมพัฒนาที่นัดกระทันหันเลยมีผู้มาร่วมน้อย อย่างไรก็ดี มีบทสรุปจากที่ประชุมสำคัญๆ ที่น่าสนใจ

-บางกล่ำ มี ๗ หมู่บ้าน ประชากรราว ๑๒๐๐ ครัวเรือน ชื่อตำบลเพี้ยนมาจากคำว่า "บางกลม" ที่กร่อนเสียงจาก “บางเกาะกลม” เนื่องจากที่นี่เป็นเกาะมีสภาพเป็นคลองล้อมรอบ ค่อยๆเพี้ยนไปจากคนจีนที่มาอาศัยตั้งรกราก มีร่องรอยชุมชนดั้งเดิม เช่น ถ้วยชาม เครื่องใช้โบราณ

-ของดีของชุมชน ดิน ๓ น้ำในคลองบางกล่ำ(คลองต้นแบบของสงขลาที่ยังมีสภาพความสมบูรณ์ควรอนุรักษ์) แหล่งปลูกข่าตาแดง ข้าวหลาม ประเพณีชักพระ แข่งเรือยาว ส้มโอพันธุ์ดั้งเดิม อดีตมีการค้าขายพลู(พลูใบเหลือง ใบใหญ่) และลูกสะวา

-หลายคนให้ความสำคัญกับการท่องเที่ยวชุมชน(ไม่ได้จำเพาะที่ตลาดน้ำบางกล่ำ) ที่ยังมีสภาพปัญหาของการท่องเที่ยวที่เป็นเรื่องพื้นฐาน ได้แก่ ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนในตำบล ตลาดน้ำเริ่มมีนักท่องเที่ยวน้อย ขาดการบริหารจัดการ ความเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ ในอำเภอและจังหวัดสงขลา เช่น มีแผนที่บอกเส้นทางจากอำเภอหาดใหญ่ ขาดการทำความเข้าใจเรื่องการท่องเที่ยวให้ความรู้กับประชาชน

ที่สำคัญ การพัฒนาถูกเร่งให้เกิดชุมชนยังไม่มีการรวมกลุ่ม วัตถุดิบในพื้นที่ไม่เพียงพอ คนในชุมชนขาดการระดมความคิดร่วมกัน ขาดความต่อเนื่องของโครงการ คิดแต่สร้าง ไม่มีงบสนับสนุนต่อเนื่อง ผู้นำและสมาชิกชุมชนไม่รู้บทบาทและหน้าที่ในการบริหารจัดการต้นทุนที่มีอยู่ ขาดความเป็นหนึ่งเดียวหรือเอกภาพของผู้นำ หน่วยงาน องค์กรในพื้นที่ ประกอบกับงบประมาณที่ใช้ในการพัฒนาตำบลมีน้อย จึงทำให้การพัฒนาเป็นไปอย่างช้า เช่น การพัฒนาถนน คูระบายน้ำ

นอกจากนี้ยังมองว่าไม่มีอัตลักษณ์การท่องเที่ยวของอำเภอบางกล่ำ รูปแบบไม่มีความชัดเจน สินค้าไม่ชัดเจน ทำให้ไม่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวได้ มีปัญหาการบริหารจัดการนักท่องเที่ยว ปัญหาเรื่องยาเสพติด ขยะตามข้างถนน การบริหารของกรรมการตลาด กรรมการไม่ได้สร้างการมีส่วนร่วมจากชุมชน ไม่มีความหลากหลายของสินค้า ขาดความรู้จริงรู้ลึก และข้อมูลอย่างแท้จริง และไม่ต่อเนื่อง ในโครงการกิจกรรมต่างๆ อาหารหรือสินค้าไม่ตรงกับสภาพภูมิปัญญาท้องถิ่น

-ความต้องการ สิ่งที่อยากให้ส่งเสริม อาทิ มีกลุ่มส่งเสริมการท่องเที่ยวในชุมชน สร้างความเข้าใจเรื่องการท่องเที่ยว สร้างอัตลักษณ์ ของพื้นที่ให้เกิดขึ้น ให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากที่สุด โดยหน่วยงานเป็นผู้สนับสนุน ให้นักเรียนในชุมชนมีส่วนร่วมมากขึ้น เช่น เป็นไกด์รุ่นเยาว์ เป็นนักการตลาด เพิ่มความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ เช่น มหาวิทยาลัย หน่วยงานท้องถิ่น ทุกคนในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการท่องเที่ยวชุมชน มีการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในชุมชนตนเอง สร้างจิตสำนึก ความรัก ความเข้าใจ มีหน่วยงานรับผิดชอบเชิญชวนนักท่องเที่ยว กรุ๊ปทัวร์ ให้เข้ามาท่องเที่ยวแบบทริปวันเดียวในพื้นที่ ให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ ฟังความคิดเห็นของแม่ค้า หาสินค้าชุมชนมาขาย อยากเห็นคนในชุมชนมีความสามัคคี ร่วมมือกันพัฒนาตำบลของตนเอง ต้องสะอาด ราคาสินค้าไม่แพง สินค้าต้องหลากหลาย ยกระดับตลาดเป็นตลาดสากลของชุมชน

สรุปแนวทางขับเคลื่อนการจัดทำธรรมนูญตำบลน่าอยู่ - ยังไม่ตัดสินใจในครั้งนี้ เนื่องจากผู้เข้าร่วมมีน้อย ต้องการสร้างการมีส่วนร่วมให้มากขึ้น และต่อยอดความคิดที่เคยมีการดำเนินการไว้บ้างแล้ว ให้ที่ประชุมคัดสรรตัวแทนผู้นำจากชุมชนประมาณ ๕๐ คน จากองค์ประกอบฝ่ายต่างๆ มาเป็นคณะทำงานขับเคลื่อน ช่วยคิด ช่วยทำ โดยประชุมครั้งต่อไป ระหว่างนี้ให้ช่วยกันค้นหาผู้นำทางความคิด และให้ท้องถิ่นประสานมาจัดประชุมต่อไป

ตัวแทนความคิด : ท้องที่ ท้องถิ่น ผู้นำศาสนา อสม กลุ่มอาชีพ เกษตร วิสาหกิจชุมชน กองทุนหมู่บ้าน ผู้ประกอบการ/ร้านค้าชุมชน ค้าขาย โฮมสเตย์ ผู้สูงอายุ ข้าราชการเกษียณ วิทยุสื่อสาร/กู้ภัย รพ.สต.โรงเรียน มหาวิทยาลัย กลุ่มเยาวชน ศิลปินพื้นบ้าน เครือข่ายสนับสนุน

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน