"เครือข่ายท้องถิ่นสงขลาร่วมปักธงจัดทำธรรมนูญตำบลน่าอยู่"
"เครือข่ายท้องถิ่นสงขลาร่วมปักธงจัดทำธรรมนูญตำบลน่าอยู่"
เขียนโดย ชาคริต โภชะเรือง
มูลนิธิชุมชนสงขลาร่วมกับท้องถิ่นจังหวัดสงขลาชวนเครือข่ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดสงขลา เป้าหมาย ๒๒ ตำบล ที่ห้อง ceo ชั้น ๕ ศาลากลางจังหวัด วันนี้มาร่วมได้ ๑๔ ตำบล เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจการทำธรรมนูญตำบลน่าอยู่ ทั้งนำเสนอและแจกคู่มือการทำงานประกอบการทำความเข้าใจ
การได้มาของ ๒๒ ตำบลประกอบด้วย ตำบลที่ร่วมกับอบจ.และสปสช.จัดทำศูนย์สร้างสุขชุมชนดูแลคนพิการ ผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง คนยากลำบาก หรือร่วมกับศปจ.สงขลาเก็บข้อมูลคนยากลำบากฯ ร่วมกับ ๔pw เรื่องการจัดการขยะ การขับเคลื่อนเกษตรสุขภาพ หรือร่วมกับพชอ. หรือตำบลที่เครือข่ายแนะนำมา หรือตำบลที่เครือข่ายประสานงานมาต้องการเข้าร่วม
ท่านท้องถิ่นจังหวัดให้แนวทางว่า ท้องถิ่นเป็นงานบริการประชาชน เป้าหมายทั้ง ๑๗ ประการตรงกับภารกิจของท้องถิ่นที่จะดำเนินการอยู่แล้ว ประชาชนและสังคมได้ประโยชน์มากทีมที่มาช่วยจะเป็นการเสริมพลัง การมีส่วนร่วมและเป็นเจ้าของของประชาชนจะทำให้เกิดความยั่งยืน
ท่านยกตัวอย่างการจัดการขยะที่เป็นปัญหาร่วม สงขลาได้ร่วมกับม.จุฬาวิจัยการจัดการขยะเปียกในครัวเรือนนำร่องที่ต.พะวงกับต.รัตภูมิ ชั่งน้ำหนักขยะเปียกในแต่ละครัวเป็นเวลา ๑ เดือน นำมาคำนวณการเกิดมีเทนอันจะส่งผลไปเกิดภาวะโลกร้อน หากจัดการขยะเปียกในครัวเรือนได้จะนำไปสู่การสร้างหลักประกันชีวิต นำคาร์บอนเครดิตที่ได้ไปคิดคะแนนแปลงมาเป็นมูลค่าต่อไป
ทต.ระโนด ยกตัวอย่างการจัดการขยะ นำกระเป๋าถือที่ทำมาจากซองกาแฟ เหล่านี้ล้วนแล้วแต่สามารถนำมาต่อยอดสร้างเป็นข้อตกลง หรือกติกาชุมชน หรือธรรมนูญชุมชนได้ทั้งสิ้น
นายกสินธพ อบต.ท่าข้ามเสริมว่าการทำธรรมนูญตำบลเปรียบเสมือนรถที่เติมวีเพาเวอร์ เสริมพลังขับเคลื่อน การทำธรรมนูญ ความคิดเชิงบวกจะช่วยปรับพฤติกรรมหรือวิธีคิดของผู้คน ดำเนินการจากเล็กไปใหญ่ สร้างต้นแบบแล้วไปขยายผล
อาจารย์ณัฎฐาพงศ์ จากม.ราชภัฏฯทีมกลางช่วยสะท้อนว่าธรรมนูญจะใช้กระบวนการนำ คำตอบจะอยู่ที่ตำบล จะทำกี่ด้าน กี่เป้าหมาย กระบวนการจะนำไปสู่คำตอบ
แนวทางดำเนินการต่อไป
๑.แต่ละตำบลกลับไปหารือกับผู้บริหารให้คำตอบการเข้าร่วมอีกครั้ง ยืนยันการเข้าจัดทำธรรมนูญ โดยมีช่องทางสื่อสารกลางคือกลุ่ม line "ตำบลน่าอยู่สงขลา"
๒.ส่งผู้รับผิดชอบตำบลละ ๑ คนเป็นอย่างน้อยมาร่วมดูงานตำบลท่าข้าม แลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำธรรมนูญตำบลในวันที่ ๕ เมษายน ณ อบต.ท่าข้าม ๑๐.๐๐-๑๕.๐๐ น.
๓.ตำบลใดมีความพร้อม สามารถนัดทำความเข้าใจแกนนำในพื้นที่(๓๐-๕๐ คนที่เป็นตัวแทนความคิดจากแต่ละภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง) ให้นัดหมายทีมกลางจังหวัดลงไปช่วยทำความเข้าใจ กำหนดเป้าหมายร่วม จัดตั้งคณะทำงาน ดำเนินการได้ก่อนวันที่ ๕ โดยไม่ต้องรอการพัฒนาศักยภาพ หรือจะนัดประชุมคณะทำงานก่อนเพื่อทำความเข้าใจก่อนนัดหมายแกนนำพื้นที่ก็ได้เช่นกัน
Relate topics
- จดหมายข่าวโครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง (SUCCESS) ฉบับที่ 1 - 10
- ก้าวที่ 1 ของ iMedCare ธุรกิจเพื่อสังคมของสงขลา"
- "แผนผังภูมินิเวศ"
- เครือข่าย SUCCESS เมืองควนลังร่วมงานส้มโอเมืองควนลังปี 2567
- "ทีม iMedCare วิถีผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน"
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 11 - 21
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 1 - 10
- "iMed@home ระบบกลุ่ม"
- สมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลาชูวาระ "พลิกโฉมพลังพลเมืองสงขลาเพื่อสังคมสุขภาวะที่ยั่งยืน"
- กิจกรรมรับบริจาคโลหิตประชารัฐสงขลาประจำเดือนตุลาคม 2567