"ประชุมทีมทำแผนรองรับสังคมสูงวัย ชุมชนย่านเมืองเก่า ทน.สงขลา"
"ประชุมทีมทำแผนรองรับสังคมสูงวัย ชุมชนย่านเมืองเก่า ทน.สงขลา"
วันที่ 15 พฤษภาคม 2567 กองสาธารณสุขอบจ.สงขลาและมูลนิธิชุมชนสงขลาร่วมกับทน.สงขลา จัดประชุมคณะทำงานชุมชนย่านเมืองเก่า นำโดยกองสาธารณสุข กองสวัสดิ์ นักพัฒน์ อสม. ประธานและกรรมการชุมชน ผู้บริหารโรงเรียน ร่วมวิเคราะห์ผลการคัดกรองสุขภาวะรายคนกลุ่มเสี่ยง 100คนในชุมชนนำร่อง ร่างแผนชุมชนเพื่อนำเข้าเวทีประชาคม โดยมีนายเชิดเกียรติ เมธีลักษณ์ ที่ปรึกษานายอบจ.สงขลา ให้เกียรติมาเปิดการประชุม ณ ห้องประชุมโรงเรียนสงขลาวิทยามูลนิธิ
บริบทสำคััญ การเป็๋นแหล่งท่องเที่ยวที่กำลังผลักดันเข้าสู่มรดกโลก มีเอกชนมีผู้ประกอบการต่างถิ่นเริ่มเข้ามาหารายได้มากขึ้น คนดั้งเดิมลดน้อยลง มีแต่ผู้สูงอายุ ส่วนหนึ่งขายบ้านหรือให้เช่า และย้ายไปอยู่กับลูกหลาน ชุมชนที่เป็นผู้ประกอบการรายย่อยไม่ได้รวมตัวกัน ต่างคนต่างทำ ขาดการมีส่วนร่วมด้วยข้อจำกัดด้านเวลาและการหารายได้ และขาดงบลงทุน
โดยร่วมกันร่างแผนหรือข้อตกลง(ธรรมนูญชุมชน) ใน 4 มิติสำคัญ
1)ด้านสุขภาพ/สังคม/เศรษฐกิจ ดำเนินการไปด้วยกัน โดยมีการท่องเที่ยวชุมชนและสุขภาพเป็นแกนเชื่อมโยง
ชุมชนจัดระบบสื่อสารประชาสัมพันธ์การให้บริการพื้นฐานต่างๆ /มีการเยี่ยมบ้านให้คำปรึกษา แนะนำ ผ่านไลน์กลุ่มชุมชน แจกใบปลิว และรถพ่วงประชาสัมพันธ์
เฝ้าระวังสุขภาพของตนเอง กองสาธารณสุขเทศบาลนครสงขลาตั้ง Health station ณ จุดบริการการท่องเที่ยว ให้มีเครื่องวัดความดัน น้ำหนัก สายวัด ความสูง เครื่องเจาะน้ำตาล พร้อมสื่อให้ความรู้และแนวทางการปรับพฤติกรรมตามสภาพปัญหา หรือมีกิจกรรมร่วมกับอสม.เดือนละครั้งทำกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ ให้ความรู้ด้านออกกำลังกาย การบริโภค
ส่งเสริมการออกกำลังกายในชุมชนตามช่วงวัย และวิถีชีวิต ตามรูปแบบที่เหมาะสม ปิดถนนตรงข้ามศาลเจ้าพ่อกวนอูทุกวันศุกร์จัดกิจกรรมออกกำลังกาย เช่น แอโรบิคหรืออื่นๆบนถนน 1 ชม.
คัดกรองกลุ่มเป้าหมายอายุ 25 ปีขึ้นไปตรวจสุขภาพปีละครั้ง ชุมชนปลอดโรค
ติดตามกลุ่มเสี่ยง เพื่อการเฝ้าระวังและปรับพฤติกรรม มีรางวัลในการสร้างแรงจูงใจ
ร่วมกับสสจ./กรมอนามัยประกาศเมนูชูสุขภาพของร้านอาหารในชุมชน หน่วยงานร่วมประชาสัมพันธ์
2)ด้านเศรษฐกิจ
ร้านค้าชุมชนในย่านเมืองเก่ารวมตัวกันเป็นวิสาหกิจชุมชนหรือชมรมร่วมกับสถาบันการศึกษา ทน.สงขลา ททท. เปิดคลินิกการเงิน จัดทำแผนธุรกิจการท่องเที่ยวชุมชน (เส้นทางสายกิน สายมู สายก๋วยเตี้ยว เส้นสุขภาพ เส้นประวัติศาสตร์) มีกิจกรรมสร้างสรรค์ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ รวมถึงศึกษาดูงานกับภูเก็ต
ภาครัฐเสริมหนุนกองทุนดอกเบี้ยต่ำ ให้กับ SME หรือวิสาหกิจชุมชน
เปิดตลาดชุมชน
3)ด้านสังคม
เน้นการรวมกลุ่มคน 3 วัยในชุมชน โดยเฉพาะคนดั้งเดิมและคนที่ตั้งใจเข้ามาอยู่เป็นส่วนหนึ่งของชุมชนจริง ทำกิจกรรมร่วมกัน
จัดกิจกรรมวันหยุด จัดกลไกกรรมการชุมชนและวิสาหกิจชุมชนแบบมีส่วนร่วม สร้างการมีส่วนร่วมกับสมาชิกรุ่นใหม่/ตัวแทนเชื้อชาติ/พื้นที่(ถนนสายหลัก4สาย+สายย่อย/ก้างปลาอีก7สาย)/วัย/อาชีพ โดยยึดโยงกับการท่องเที่ยว
ผลักดันให้สมาชิกประชากรแฝงเข้ามาอยู่ในระบบทะเบียนราษฏร์เพื่อให้เข้าถึงสิทธิ์พื้นฐาน
4)ด้านสภาพแวดล้อม
ปรับสภาพบ้านให้เอื้อต่อสุขภาวะของคนในบ้าน
จุดที่ต้องการปรับปรุง คือ หลังคา ห้องน้ำ ลดความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม
หลังจากนี้จะมีการจัดเวทีประชาคมนำร่างแผนเข้าสู่การรับรองและเติมเต็ม โดยมีกลุ่มเป้าหมาย 140 คน ในวันที่ 5 มิถุนายน 2567
Relate topics
- จดหมายข่าวโครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง (SUCCESS) ฉบับที่ 1 - 10
- ก้าวที่ 1 ของ iMedCare ธุรกิจเพื่อสังคมของสงขลา"
- "แผนผังภูมินิเวศ"
- เครือข่าย SUCCESS เมืองควนลังร่วมงานส้มโอเมืองควนลังปี 2567
- "ทีม iMedCare วิถีผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน"
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 11 - 21
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 1 - 10
- "iMed@home ระบบกลุ่ม"
- สมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลาชูวาระ "พลิกโฉมพลังพลเมืองสงขลาเพื่อสังคมสุขภาวะที่ยั่งยืน"
- กิจกรรมรับบริจาคโลหิตประชารัฐสงขลาประจำเดือนตุลาคม 2567