แผนสุขภาวะตำบลป่าขาด

  • photo  , 1477x1108 pixel , 176,512 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 122,992 bytes.
  • photo  , 960x541 pixel , 101,059 bytes.
  • photo  , 960x541 pixel , 93,324 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 137,955 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 125,956 bytes.
  • photo  , 960x541 pixel , 113,526 bytes.
  • photo  , 960x541 pixel , 123,868 bytes.
  • photo  , 1706x960 pixel , 180,677 bytes.
  • photo  , 1108x1477 pixel , 154,517 bytes.
  • photo  , 1108x1477 pixel , 145,415 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 110,565 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 118,522 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 113,696 bytes.

แผนสุขภาวะตำบลป่าขาด

วันที่  20 กุมภาพันธ์ 2567 พื้นที่ sandbox โครงการวิจัยอภิบาลระบบสุขภาพท้องถิ่นรองรับการถ่ายโอนรพ.สต.ของสงขลา จัดประชุมใหญ่ ณ ห้องประชุมโรงเรียนวัดป่าขาด ตำบลป่าขาด อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา

เชิญกลุ่มเสี่ยง/ป่วยที่เป็นผู้สูงอายุและวัยแรงงาน ทีมงานอสม. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ประกอบด้วย พมจ. ท้องถิ่นอำเภอ สกร.อำเภอ พัฒนากร อบต. อสม. ทีมรพ.สต.ป่าขาด สว่างอารมณ์ โดยมีอบจ.สงขลา สมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลา ม.ราชภัฎสงขลาที่เป็นทีมวิจัยเข้าร่วม มีจำนวนทั้งสิ้น 144 คน

ภาคเช้า

เปิดการประชุมโดยอบจ.สงขลา ภาคีเครือข่ายหน่วยงานที่มาร่วมแนะนำตัว และทีมรพ.สต.คืนข้อมูลผลการคัดกรองสุขภาวะกลุ่มเป้าหมาย ผ่านระบบกลุ่มปิด iMed@home "พชต.ป่าขาด" ได้แก่ ผู้สูงอายุและวัยแรงงานที่เป็นกลุ่มเสี่ยงและป่วย

มีข้อมูลจำนวนกลุ่มเสี่ยง/ป่วย 230 คน ชาย 115 คน หญิง 115 คน *ตอบแบบคัดกรองเกือบทุกข้อประมาณ 114-120 คน

ด้านสุขภาพทางกาย

•โรคประจำตัวไม่มี 35 คน มี 51 คน ไม่ทราบ 10 คน

•โรคประจำตัวที่เป็น ความดัน 33 คน เบาหวาน 23 คน ไขมันในเส้นเลือด 13 คน โรคหอบ/หืด 4 คน โรคหัวใจ 3 คน โรคไต 2 คน โรคถุงลมโป่งพอง 1 คน โรคมะเร็ง 1 คน อัมพฤกษ์ 1 คน กรณีนี้มีการรักษาต่อเนื่อง 46 คน ไม่ต่อเนื่อง 1 คน

•ปัญหาการเจ็บป่วยในรอบเดือน เป็นไข้ ไอเจ็บคอมี 15 คน ไม่มี 79 คน อุจจาระร่วง 3 คน ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ 31 คน กระเพาะอาหารอักเสบ 2 คน ไม่พบบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ สุนัขกัด/งูกัด/สัตว์มีพิษกัด 1 คน มีปัญหาสุขภาพในช่องปาก ฟันผุ 12 คน มีปัญหาการเคี้ยว/กลืน 3 คน บริเวณเหงือกมีเลือดออก/มีฝีหนอง/ฟันโยก 1 คน

•การรับประทานอาหาร ทำเอง 91 คน ซื้อจากตลาดสด 20 คน ร้านอาหาร 7 คน อาหารสำเร็จรูป 2 คน
รสชาติอาหารที่ควบคุม เค็ม 71 คน หวาน 70 คน มัน 64 คน เผ็ด 16 คน รสชาติอาหารที่ไม่ควบคุม เผ็ด 53 คน หวาน 27 คน เค็ม 26 คน มัน 25 คน

•กินจุกจิก 13 คน กินจุ 9 คน โดยกินขนมทั่วไป 53 คน ขนมกรุบกรอบ 1 คน กินอาหารสุกๆดิบๆ 1 คน

•ทุกสัปดาห์กินผัก ผลไม้ 4-6 วัน 45 คน กินทุกวัน 26 คน 1-3 วัน 22 คน

•ดื่มน้ำวันละอย่างน้อย 8 แก้ว ดื่ม 5-8 แก้ว 55 คน ดื่มมากกว่า 8 แก้ว 27 คน ดื่ม 3-5 แก้ว 11 คน

•การออกกำลังกาย ไม่ออกกำลังกาย 30 คน กรณีออกกำลังกายมีกิจกรรมการเคลื่อนไหวทางกาย 47 คน วิ่งแบบเหย่าๆ 14 คน การแอร์โรบิก/การเดินเร็ว 12 คน ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ 4 คน ดึงยางยืด 1 คน ความถี่ในการออกกำลังกาย 3-5 วัน/สัปดาห์ 34 คน 2-3 วัน/สัปดาห์ 24 คน ทุกวัน 8 คน ระยะเวลาการออกกำลังกายต่อครั้ง น้อยกว่า 30 นาที 37 คน มากกว่า 30 นาที 25 คน

•ด้านอารมณ์ กังวล เครียดจนนอนไม่หลับ 4 คน พักผ่อนไม่เพียงพอ 3 คน

•ปัจจัยเสี่ยง สูบบุหรี่ 22 คน ระยะเวลาสูบบุหรี่ สูบมวนแรกหลัง 1 ชม.ขึ้นไปหลังตื่นนอน 20 คน สูบมวนแรกในช่วง 30 นาทีถึง 1 ชม.หลังตื่นนอน 2 คน บุหรี่ที่สูบเป็นบุหรี่มวน 15 คน ใบจาก 12 คน ยาเส้น 10 คน

•ดื่มแอลกอฮอล์เกิน 4 กระป๋องหรือ 2 ขวดใหญ่ หรือสุราเกินครึ่งแบนขึ้นไป 18 คน ความถี่ในการดื่ม เดือนละ1-4 ครั้ง 15 คน ทุกวันหรือเกือบทุกวัน 3 คน

•ใช้ยาชุด ยาแก้ปวด ยาลูกกลอน 6 คน

•กรณีผู้ป่วยติดเตียง/ผู้สูงอายุ มีแผลกดทับ 1 คน มีปัญหาการมองเห็น 12 คน การได้ยิน 11 คน มีปัญหาภาวะปัสสาวะเล็ด/ราด 5 คน

•ด้านสุขภาพจิตและสมอง ระดับความสามารถในการจัดการสุขภาพของตนเอง/ความต้องการเปลี่ยนพฤติกรรม ปานกลาง 46 คน มาก 11 คน มากที่สุด 8 คน น้อย 5 คน

•ด้านเศรษฐกิจ สถานะการเงินในแต่ละเดือน ต้องใช้จ่ายอย่างประหยัดและอดออม 49 คน มีเงินใช้จ่ายอย่างสบายและมีเงินเหลือเก็บ 20 คน ไม่พอใช้และต้องกู้หนี้ยืมสินเพื่อการใช้จ่าย 5 คน มีเงินใช้จ่ายอย่างเพียงพอไม่ต้องประหยัด 5 คน รายจ่ายที่เป็นหนี้ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก อาหาร 8 คน ที่อยู่อาศัย 6 คน สุขภาพ 4 คน การจัดการกับภาระหนี้สิน มีไม่เพียงพอ 10 คน มีอาชีพสำรอง 18 คน ไม่มี 59 คน ไม่มีการออม 38 คน มีการออม 41 คน

•ด้านสังคม รู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของสังคม 70 คน โดยเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม ประเพณี วัฒนธรรม 57 คน กิจกรรมกลุ่ม/ชมรม 15 คน การเป็นจิตอาสา 13 คน การทำประชาคม 5 คน การเป็นแหล่งภูมิปัญญาให้ครอบครัวชุมชนและสังคม 2 คน รู้สึกไม่เป็นส่วนหนึ่งของสังคม 12 คน มีความรู้สึกโดดเดี่ยว 3 คน

•ด้านสภาพแวดล้อม ต้องการปรับปรุง 3 คน เริ่มทรุดโทรม 1 คน จุดที่ต้องการปรับปรุง 3 คน ห้องครัว 3 คน ห้องนอน 2 คน กำแพงรั้ว 2 คน หลังคา 2 คน

•ทีมรพ.สต. สสอ.ได้ร่วมให้ความรู้การปรับพฤติกรรมเบื้องต้น จากนั้นแบ่งกลุ่มย่อย 3 กลุ่มร่วมวิเคราะห์ผลของการคัดกรองและกำหนดแผนสุขภาวะชุมชน/กติกาขุมชน

แนวทางการแก้ปัญหา

1)ด้านสุขภาพ เพิ่มปัญหาสำคัญ คือ ยาเสพติด การแก้ปัญหาเน้นการปรับพฤติกรรมรายบุคคลโดยเฉพาะในด้านการออกกำลังกาย การกินอาหาร การปรุงอาหารลดหวานมันเค็ม การปลูกผักปลอดสารพิษ การทำให้รพ.สต.และรพ.สิงหนครบริการเชิงรุก มีทีมแพทย์ลงชุมชนเดือนละครั้ง การดูแลผู้ป่วยติดเตียง และให้มีการตรวจสุขภาพประจำปี

2)ด้านเศรษฐกิจ เน้นการสร้างอาชีพเสริมโดยเฉพาะในกลุ่มประมง กลุ่มเกษตรกร การเพิ่มพันธุ์สัตว์น้ำ การลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้สูงอายุที่เลี้ยงหลาน

3)ด้านสังคม เน้นการรวมกลุ่มทำกิจกรรมร่วมกัน การดูแลผู้สูงอายุที่ไม่มีลูกหลานดูแล

4)ด้านสภาพแวดล้อม เน้นการปรับสภาพบ้าน การปรับสิ่งอำนวยความสะดวก การแก้ปัญหาคุณภาพน้ำประปา การจัดการขยะ

ที่ประชุมมีมติเดินหน้าทำแผนสุขภาวะรายคนต่อไป ให้อสม.และทีมซึ่งใช้ระบบแอพพลิเคชั่นยังไม่คล่องและมีบางขั้นตอนไม่ได้ดำเนินการ นัดหมายกันทำความเข้าใจและลงเก็บข้อมูลในกลุ่มเป้าหมายที่ยังไม่ได้ดำเนินการต่อไป

หมายเหตุ  มีข้อมูลกลุ่มเป้าหมายจำนวนหนึ่งไม่ได้เข้าสู่ระบบกลุ่ม เพราะ

1)ไม่ได้ทำแบบคัดกรองสุขภาวะรายคนในแถบสีชมพู ได้แต่ไปเยี่ยมบ้าน

2)ข้อมูลดำเนินการแล้วแต่ไปอยู่ในกลุ่มอื่น)

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน