"ประชุมภาคี รพ.สต.ถ่ายโอนไปยัง อบจ.สงขลา เคาะแนวทางทำงานกับกลุ่มเป้าหมายและตัวชี้วัดร่วมระดับจังหวัด"

by punyha @24 ม.ค. 67 10:58 ( IP : 171...240 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์
  • photo  , 960x640 pixel , 82,484 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 86,972 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 63,895 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 69,907 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 76,613 bytes.
  • photo  , 2048x1365 pixel , 186,535 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 81,488 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 54,224 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 88,392 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 71,716 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 69,152 bytes.
  • photo  , 2048x1365 pixel , 177,281 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 73,677 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 85,550 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 63,170 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 60,699 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 66,671 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 68,257 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 87,441 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 67,682 bytes.

"ประชุมภาคีรพ.สต.ถ่ายโอนไปยังอบจ.สงขลาเคาะแนวทางทำงานกับกลุ่มเป้าหมายและตัวชี้วัดร่วมระดับจังหวัด"

วันที่ 16 มกราคม 2567 กองสาธารณสุขอบจ.สงขลา สมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลา ม.ราชภฎฯสงขลา ภายใต้โครงการวิจัยฯรองรับการถ่ายโอนรพ.สต.ไปยังอบจ.สงขลา โดยการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.) นัดประชุมผู้แทนโซนทั้ง 12 อำเภอที่มีรพ.สต.สมัครใจถ่ายโอนมายังอบจ.จำนวน 49 แห่ง รวมถึงภาคีเครือข่ายจำนวน 73 คนประกอบด้วย สสจ. พมจ./ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ  พช. ปกครอง สถิติจังหวัด ประกันสังคม ท้องถิ่นจังหวัด/อำเภอ 12 แห่ง สสว.11 กขป.12 หอการค้าจังหวัด คณะพยาบาลม.อ. สมาคมเครือข่ายสุขภาพผู้สูงอายุ สมาคมคนพิการจังหวัด รพ.อำเภอ เข้าร่วม ณ ห้องประชุมชั้น 2 ศูนย์บริบาลผู้สูงอายุ จ.สงขลา

เป้าหมายความร่วมมือในการพัฒนาระบบบริการสาธารณะ ทั้งมิติสุขภาพและคุณภาพชีวิตระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล ตั้งแต่การคัดกรองกลุ่มเป้าหมายร่วม การทำแผนบริการ การประสานส่งต่อผู้ป่วย การพัฒนาบุคลากร การปรับสภาพบ้าน และการทำฐานข้อมูล

ที่ประชุมได้ร่วมแลกเปลี่ยน ให้ข้อเสนอแนะแนวทางสำคัญดังนี้

1.เพื่อเป้าหมายการทำงานโดยใช้พื้นที่เป็นฐาน ลดช่องว่างและเสริมการบริการสาธารณะ ให้มีการกำหนดตัวชี้วัดกลางระดับจังหวัด ร่วมกับภาคีเครือข่ายทั้งมิติสุขภาพและคุณภาพชีวิตเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาระบบบริการสาธารณะให้ทั่วถึง ครอบคลุมและยั่งยืน โดยสสจ.รับไปยกร่างมาพิจารณาร่วมกัน

2.ร่วมกันดำเนินการประสานผู้ปฎิบัติงาน ผู้รับผิดชอบ มาร่วมกันขับเคลื่อนงานในระดับจังหวัด อำเภอ และตำบล

โดยระดับจังหวัด จะมีภาคีความร่วมมือที่เกิดจากความเป็นเจ้าของร่วมของภาคีเครือข่าย ผลัดกันเป็นเจ้าภาพ ผลัดกันนำ ใช้พื้นที่เป็นฐานเสริมหนุนการทำงานของส่วนกลาง/ภูมิภาค โดยร่วมกันพัฒนา center กลางใน 4 ด้านประกอบด้วย

2.1 ด้านระบบข้อมูลกลาง ต่อยอดงานข้อมูลกลางที่ดำเนินการโดยกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัดฯ ในลักษณะธนาคารฐานข้อมูล ให้ภาคีที่เกี่ยวข้องกับงานคนพิการ ผู้สูงอายุ ผู้อยู่ในภาวะพักพิงส่งข้อมูลพื้นฐาน ข้อมูลการรับบริการ และความต้องการรับบริการเข้าระบบ และนำ data ไปออกรายงาน ข้อมูลกลางนี้จะทำให้เห็นภาพรวมของการทำงาน ชี้เป้ากลุ่มเป้าหมายร่วม กลุ่มตกหล่น รวมถึงลดความซ้ำซ้อนในการให้บริการ

-พัฒนาทีม IT ของจังหวัด เพิ่มทีมITของหน่วยงานภาคีและระดับอำเภอเข้าสู่ทีมระดับจังหวัด

-พัฒนาให้เกิดข้อมูลกลางระดับอำเภอ โดยใช้คลาวด์เดียวกันกับระบบของจังหวัด ต่อยอดข้อมูล 43 แฟ้มของสสจ. และรวมถึงภาคีอืน อาทิ ท้องถิ่นจังหวัด พช.(TPmap,จปฐ,ThaiQM) ประกันสังคม รพ.ม.อ. หรือข้อมูลที่พื้นที่ดำเนินการเอง หรือข้อมูล SMART อสม. เป็นต้น

2.2 การพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะ จัดระบบและแผนบริการรับส่งผู้ป่วยเข้ารับบริการ และจัดระบบรถรับส่ง ที่จะมีการจ่ายร่วมหรืออื่นๆ

2.3 การพัฒนาบุคลากรผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน รวมถึงการบริหารจัดการเพื่อให้เกิดมาตรฐานวิชาชีพ ความครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย การลดความซ้ำซ้อนการพัฒนาบุคลากร

2.4 การปรับสภาพบ้าน ทั้งความต้องการปกติและรองรับสังคมสูงวัยในอนาคต

ทั้งนี้จะมีการพัฒนาระบบ center ดังกล่าว ทั้งในเชิงกลไกและระบบข้อมูลสนับสนุนการทำงานไปด้วยกันไปเสริมหนุนฟื้นที่ปฎิบัติการระดับอำเภอละตำบล

ระดับอำเภอ ได้ประสานกับกลไกพชอ.ให้มีส่วนร่วมและบูรณาการงานไปด้วยกัน โดยเฉพาะมิิติคุณภาพชีวิต ในส่วนด้านสุขภาพอำเภอควนเนียงและสิงหนครที่มีการถ่ายโอนรพ.สต.เต็มพื้นที่ได้พัฒนาระบบ center ย่อยรองรับบริการในกรณีของสิงหนคร หรือระบบ cluster ของอำเภอควนเนียง และมีการประสานการทำงานกับรพ.อย่างใกล้ชิด

ระดับตำบล ได้ประสานให้เกิดกลไกพชต.หรืออื่นๆ สนับสนุนรพ.สต.ในการให้บริการ มีการนำข้อมูลการคัดกรองคืนสู่ชุมชนให้เห็นสภาพปัญหา กลุ่มเสี่ยง/ป่วย เพื่อร่วมกำหนดแผนชุมชนหรือธรรมนูญชุมชน ให้ชุมชนมีส่วนร่วมให้บริการดูแลกันเอง พร้อมกับทำแผนสุขภาวะปรับพฤติกรรมเสี่ยง โดยมีระบบกลุ่มปิด iMed@home เป็นเครื่องมือเสริมหนุนในตำบล

นอกจากฐานปฎิบัติการระดับตำบลแล้ว ยังมีพื้นที่ดำเนินการระดับองค์กรที่มีกลุ่มเป้าหมายอยู่ในการดูแล หรือสถานประกอบการ เช่น โรงงาน บริษัท ที่จะประสานการทำงานร่วมกันอีกด้วย

การถ่ายโอนรพ.สต.จะทำให้หน่วยบริการสามารถตอบสนองการบริการให้กับประชาชนได้เต็มที่มากขึ้นกว่าเดิมและสามารถประสานส่งต่อข้อมูลหรือความต้องการด้านคุณภาพชีวิตให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

3.ที่ประชุมได้รับทราบและสร้างความเข้าใจต่อเป้าหมาย แนวทาง นโยบาย ตลอดจนปัญหาอุปสรรคการถ่ายโอนรพ.สต.ในจังหวัดสงขลา ถึงทิศทางการกระจายอำนาจให้กับท้องถิ่นที่มีความใกล้ชิดประชาชน ให้รับถ่ายโอนภารกิจของรพ.สต.ที่อยู่ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขมายังอบจ.ซึ่งสังกัดกระทรวงมหาดไทย ทั้งคน-งาน-เงิน ซึ่งปัจจุบันสมัครใจมาแล้ว 49 แห่ง ทำให้เกิดการปรับตัวครั้งใหญ่ทั้งอบจ.ที่จะต้องมีกองสาธารณสุข บุคลากรรองรับ รวมถึงระบบการบริหารการเงิน พัสดุ ฯลฯที่จะต้องดูแลบุคลากรเหล่านี้ รวมถึงวางระบบการเสริมหนุนแทนสสจ.พร้อมกับแก้ปัญหาช่วงเปลี่ยนผ่านไม่ให้กระทบกับการบริการประชาชนตามมาตรฐานเดิม และสสจ.ที่จะต้องปรับแผนการบริหารจัดการภายในรองรับการเปลี่ยนแปลง และร่วมกันประคับประคองอภิบาลระบบไม่ให้กระทบกับการบริการประชาชน

สมาชิกได้ร่วมแลกเปลี่ยนข้อเสนอแนะ ปัญหาอุปสรรค และแนวทางดำเนินการร่วมกัน ตลอดจนสร้างช่องทางสื่อสารเพื่อใช้ในประสานงานกันต่อไป

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน