"การคัดกรองกลุ่มเป้าหมายและความร่วมมือพัฒนาข้อมูล"
"การคัดกรองกลุ่มเป้าหมายและความร่วมมือพัฒนาข้อมูล"
วันที่ 11 มกราคม 2567 โครงการวิจัยฯรองรับการถ่ายโอนรพ.สต. โดยสมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลา อบจ.สงขลา/กองสาธารณสุข/กองทุนฟื้นฟูฯ ม.ราชภัฎสงขลา นัดหมายผู้ประสานโซนอำเภอควนเนียง สิงหนคร สสอ.สิงหนคร ท้องถิ่นจังหวัด บ.ซีเวลท์ฯ จำนวน 20 คน ณ ห้องประชุมชั้น 3 ศูนย์บริบาลผู้สูงอายุจังหวัดสงขลา
ที่ประชุมร่วมรับทราบแนวทางการดำเนินงานพัฒนาระบบบริการสาธารณะใน 2 อำเภอ ที่จะมีกลไกเชื่อมโยง 3 ระดับ ได้แก่
1)ระดับจังหวัด-ดำเนินการให้มี center 4 ด้าน ได้แก่ ข้อมูลกลาง ระบบขนส่งสาธารณะ การพัฒนาบุคลากรผู้ดูแลที่บ้าน การปรับสภาพบ้าน
2)ระดับอำเภอ จะเชื่อมโยงกับพชอ. ให้มีอนุกรรมการมาทำงานร่วมกัน ทั้งนี้การบริการด้านสุขภาพ อำเภอควนเนียงเน้นบริการเป็น Cluster แยกเป็น 2 โซน อำเภอสิงหนครเน้นให้มี center บริการกระจายไปหลายตำบล
3)ระดับตำบล โดยประสานให้เกิดกลไกระดับตำบล อาทิ พชต. หรือ ศจพต. ร่วมขับเคลื่อนงานด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม สภาพแวดล้อม
มีข้อสรุปสำคัญจากการประชุมดังนี้
1)ร่วมกันพัฒนาระบบข้อมูลกลางระดับอำเภอ นำร่องที่ 2 อำเภอ จัดทำ TOR ให้สามารถใช้ข้อมูล 43 แฟ้มของสธ.มาเป็นตัวนำ แต่พื้นที่คัดกรองเฉพาะข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ มาเชื่อมโยงกับข้อมูลคุณภาพชีวิตมิติต่างๆระดับอำเภอ และให้โปรแกรมเมอร์วางระบบการส่งต่อข้อมูลและรับข้อมูลกับ www.khonsongkhla.com ที่เป็น data ระดับจังหวัด และนัดหมายดู TOR ร่วมกันในวันที่ 15 มกราคมนี้ โดยดำเนินการภายใต้ชื่อแต่ละอำเภอ เช่น khonKuan Niang.com ใช้คลาวน์ของกระทรวง De ในการจัดเก็บข้อมูลที่อบจ.ได้ดำเนินการอยู่ และขยายผลให้ครอบคลุม 16 อำเภอต่อไป
2)ในส่วนระดับจังหวัดทีมโปรแกรมเมอร์กลางจะหาช่องทางนำข้อมูล 43 แฟ้มเข้ามาสู่ระบบกลางที่จัดทำไว้แล้ว รวมถึงวางระบบพักข้อมูลจากพมจ.(ผู้สูงอายุและอื่นๆ) ปกครองจังหวัด(ThaiQM) ท้องถิ่นจังหวัด(เบี้ยยังชีพคนพิการ/ผู้สูงอายุรายไตรมาส) สวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน(ข้อมูลในกลุ่มประกันสังคม) เป็นต้น พัฒนาในงานระยะที่ 3 จัดทำ TOR ภายใต้งานข้อมูลกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัด และประสานทีมโปรแกรมเมอร์ระดับอำเภอจากรพ.ชุมชนและสสอ.เข้ามาร่วมงานในทีมข้อมูลกลาง เพื่อให้เกิดการพัฒนาและมีส่วนร่วมการดำเนินงาน
3)ในส่วนการคัดกรองกลุ่มเป้าหมายที่ตกหล่นการเข้าถึงบริการ 49 รพ.สต.อยู่ในระหว่างการคัดกรองให้แล้วเสร็จใน 2 ไตรมาส ให้ใช้ข้อมูลปี 2566 ในการดำเนินการไปก่อน
4)การพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบล จะใช้ระบบกลุ่มปิดของ iMed@home ในการทำแผนสุขภาวะตำบลและแผนสุขภาวะรายบุคคล โดยนำร่องในพื้นที่ 2 ตำบล ประกอบด้วย ตำบลป่าขาด อำเภอสิงหนคร ตำบลควนโส อำเภอควนเนียง
-กลุ่มเป้าหมาย เน้นกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยของ 2 อำเภอ คาดว่าจะมีราว 300-500 คนต่อตำบล(ตำบลป่าขาด-ผู้สูงอายุและวัยแรงงาน/ตำบลควนโส-ผู้ป่วย NCDและผู้สูงอายุ)
-อบรมครูก.และทีมAdmin ตำบล เฉลี่ยตำบลละ 30-50 คน จัดจำนวนให้ครอบคลุมจำนวนกลุ่มเสี่ยง/กลุ่มป่วย ให้สามารถใช้แบบคัดกรองสุขภาวะรายคนไปดำเนินการกับกลุ่มเสี่ยง/กลุ่มป่วย
-นำรายงานภาพรวมของแบบคัดกรองสุขภาวะที่ครอบคลุมมิติสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม สภาพแวดล้อมมาวิเคราะห์ จัดเวทีสาธารณะคืนข้อมูลจัดทำแผนสุขภาวะตำบลและธรรมนูญตำบล
-ร่วมกับกลุ่มเสี่ยง/กลุ่มป่วยทำแผนสุขภาวะรายคนเพื่อปรับพฤติกรรมเสี่ยง
-ติดตามผลการเปลี่ยนแปลงผ่านแบบคัดกรองสุขภาวะรายคนที่คัดกรองใหม่ทุกเดือน และรายงานผลดำเนินงานผ่านระบบกลุ่ม
ทั้งนี้ในส่วนโรงงานหรือสถานประกอบการ สนใจจะใช้ระบบกลุ่มดังกล่าวไปช่วยสร้างเสริมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงในโรงงานอีกด้วย เนื่องจากพบปัญหากลุ่มปกติหรือกลุ่มเสี่ยงเหล่านี่จะกลายเป็นผู้ป่วยเมื่อออกจากงาน (ข้อมูลจากทางรพ.สต.ยืนยันสถิตินี้)
5)ท้องถิ่นจังหวัดสงขลา เป็นผู้เก็บข้อมูลคนพิการ ผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยยังชีพ สะท้อนว่ามีคนพิการที่ไม่ได้รับเบี้ยยังชีพราว 4-5พันคน ควรวิเคราะห์ว่าสาเหตุว่าเกิดจากปัญหาใด
Relate topics
- จดหมายข่าวโครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง (SUCCESS) ฉบับที่ 1 - 10
- ก้าวที่ 1 ของ iMedCare ธุรกิจเพื่อสังคมของสงขลา"
- "แผนผังภูมินิเวศ"
- เครือข่าย SUCCESS เมืองควนลังร่วมงานส้มโอเมืองควนลังปี 2567
- "ทีม iMedCare วิถีผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน"
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 11 - 21
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 1 - 10
- "iMed@home ระบบกลุ่ม"
- สมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลาชูวาระ "พลิกโฉมพลังพลเมืองสงขลาเพื่อสังคมสุขภาวะที่ยั่งยืน"
- กิจกรรมรับบริจาคโลหิตประชารัฐสงขลาประจำเดือนตุลาคม 2567