"ชุมชนบาลาเซาะห์เก้าแสน"

by punyha @26 ธ.ค. 66 15:07 ( IP : 171...121 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์
  • photo  , 1704x961 pixel , 191,977 bytes.
  • photo  , 960x541 pixel , 81,765 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 138,277 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 189,352 bytes.
  • photo  , 960x541 pixel , 93,294 bytes.
  • photo  , 1706x960 pixel , 170,696 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 88,819 bytes.
  • photo  , 960x541 pixel , 91,408 bytes.
  • photo  , 960x541 pixel , 76,605 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 94,556 bytes.
  • photo  , 960x541 pixel , 85,429 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 98,196 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 165,889 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 164,200 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 183,132 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 93,603 bytes.

"ชุมชนบาลาเซาะห์เก้าแสน"

วันที่ 25 ธันวาคม 2566 มูลนิธิชุมชนสงขลาร่วมกับกลุ่ม beach for life ดร.สมปรารถนา ฤทธิ์พริ้ง ม.เกษตร จัดเวทีคืนข้อมูลนำเสนอผลการวิจัยการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของชุมชนบาลาเซาะห์เก้าแสน ภายใต้โครงการชุมชนชายฝั่งฯ สนับสนุนงบโดย ARA โดยมีตัวแทนชุมชน 80 กว่าคน คณะทำงาน และหน่วยงานประกอบด้วยศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออก เกษตรจังหวัด ปภ. ทสจ. พมจ. ปปส.เข้าร่วม ณ ห้องประชุมซีวิว  ชั้น 7 โรงแรมวีว่า อ.เมือง จ.สงขลา

เริ่มด้วยการทบทวนประวัติศาสตร์ความเป็นมาของชุมชน ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นประมงพื้นบ้านถูกจัดระเบียบอพยพมาจากแหลมสนอ่อน มาอยู่ที่เก้าเส้งก่อนขยายตัวมาเป็นชุมชนใหม่ตั้งแต่ปี 2502 สัมพันธ์ฺกับนโยบายการพัฒนาของรัฐที่กระตุ้นให้สงขลาเป็นเมืองท่าและมีโรงงานด้านอุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์น้ำ ประกอบกับเป็นเมืองใหญ่จึงดึงดูดประชากรต่างถิ่นเข้ามาอยู่อาศัยในที่ดินของรัฐ บุกเบิกสร้างชุมชน

ด้วยข้อจำกัดด้านสิทธิ์ในการอยู่อาศัยในที่ดินของรัฐ ทำให้ประชากรจำนวนหนึ่งเข้าไม่ถึงสิทธิพื้นฐาน กรณีของการเป็นผู้ประสบภัยต่างๆที่ไม่ได้เข้าเงื่อนไขของการช่วยเหลือ ประกอบกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมีความผันผวนไม่แน่นอนมากขึ้น เกิดปัญหาต่อเนื่องจากการพัฒนาที่ส่งผลต่อระบบนิเวศที่เปลี่ยนแปลงจากเดิม ทำให้ชุมชนที่เปราะบางอยู่แล้วจำเป็นที่จะต้องเข้าใจและหาทางปรับตัวในการรับมือ

สรุปปัญหาหลักที่พบในชุมชน เรียงตามลำดับการให้ความสำคัญของสมาชิก

1)ยาเสพติด

2)คุณภาพน้ำในคลองสำโรงที่เชื่อมโยงกับปัญหาขยะ การมีทรายฝังกลบปิดกั้นน้ำไม่ให้ออกสู่ทะเล

3)ความมั่นคงด้านที่อยู่อาศัย

4)น้ำท่วม อากาศร้อน กัดเซาะชายฝั่ง

ทั้งหมดนี้ดำรงอยู่บนพื้นฐานความเป็นชุมชนแออัด ต่างคนต่างอยู่ มีความหลากหลายของผู้คน รวมถึงการแก้ปัญหาเชิงระบบของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ดร.สมปรารถนา นำเสนอแนวทางแก้ปัญหาคลองสำโรงที่ควรเริ่มต้นจากการศึกษาข้อมูลเพื่อประกอบการวางแผนที่ถูกต้อง ข้อมูลดังกล่าวประกอบด้วยทิศทางการไหลเข้าออกของน้ำ กายภาพของลำคลอง(กว้าง ยาว ลึก รูปตัดตามความยาว รูปตัดตามขวาง) เครือข่ายของคลองสำโรงว่ามีลำน้ำย่อยตรงไหนบ้าง ปริมาณการไหลของน้ำ การระบายน้ำลงคลอง ตำแหน่งท่อระบายน้ำต่างๆ ปริมาณน้ำที่มี คุณภาพน้ำแต่ละจุด มิควรแก้ปัญหาตามมุมมองของแต่ละหน่วยงานแบบแยกส่วนกันทำ

คณะทำงานได้นำเสนอ 10 มาตรการสำคัญที่จะให้เกิดการแก้ปัญหา ในส่วนของชุมชนมีความเห็นร่วมกันในการพัฒนากลไกเป็นทีมกลางประกอบด้วยคณะกรรมการชุมชน ตัวแทนกลุ่มวัย กลุ่มอาชีพ ตัวแทนกลุ่มพื้นที่(4 หย่อมบ้าน)โดยมีโต๊ะอิหม่ามเป็นประธาน เพื่อให้สามารถข้ามพ้นปัญหาเดิมที่เกิดความแตกต่างทางความคิด มีการทำงานเฉพาะกลุ่มพวก และร่วมกันนำความเห็นของสมาชิกไปกำหนดแนวทางการพัฒนาชุมชนมิติต่างๆ การประชุมครั้งนี้ได้เปิดรับอาสาสมัครที่จะเข้าร่วม พร้อมวางระบบการสื่อสาร ให้มีกลุ่มไลน์และให้มีตัวแทนครัวเรือนละ 1 คนเข้าร่วม การจัดประชุมใหญ่ต่อไปควรจัดให้หลังละหมาดวันศุกร์หรือเสาร์บ่าย โดยใช้ศูนย์เด็กเล็กเป็นสถานที่ประชุุม

คณะทำงานชุดนี้จะเป็นข้อต่อในการผลักดันมาตรการต่างๆ รวมถึงข้อเสนอไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องซึ่งพร้อมที่จะให้ความร่วมมือสนับสนุนชุุมชน

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน