"success เมืองพะตง สงขลา"
"success เมืองพะตง สงขลา"
วันที่ 22 พฤศจิกายน 2566 คณะทำงานโครงการนำร่องเมืองพะตง จัดประชุมกรรมการอำนวยการเมืองประสานภาคีหน่วยงานต่างๆมาร่วมให้ข้อเสนอแนะและสร้างความร่วมมือในการดำเนินงาน เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมภายใต้โครงการประขาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง(success)พื้นที่ภาคใต้ โดยการสนับสนุนจากสหภาพยุโรป มีหน่วยงานและเครือข่ายมาร่วมจำนวน 47 คน ณ ห้องประชุมสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ
ประกอบด้วย ปภ.เขต 12 สนง.ทรัพยากรน้ำภาค 8 ทสจ. คณะทำงานโครงการ มูลนิธิscccrn ทต.พะตง อบต.พะตง บ.ศรีตรังกรุ๊ป บ.พาเนลพรัส จำกัด ผญ.ม.4, ม.2 ม.6 ชมรมผู้สูงอายุ วิสาหกิจใต้ร่มบุญ อสม. สถาบันส่ิงแวดล้อมไทยและมูลนิธิชุมชนสงขลา โดยมีนายพัชฐ์สิชณ ศรประสิทธิ์ กำนันตำบลพะตงเป็นประธานการประชุม
คณะทำงานนำเสนอความก้าวหน้าของโครงการนำร่องประกอบด้วยกิจกรรมหลักที่จะแก้ปัญหาการบริหารจัดการเมืองที่สัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยเฉพาะน้ำท่วม น้ำแล้ง อากาศร้อน กระทบกับชุมชนทั้งต่างถิ่น ต่างด้าวและคนดั้งเดิม รวมถึงชุมชนริมทางรถไฟ นั้นตือ การจัดทำแผนผังภูมินิเวศเมืองพะตงที่มีการเก็บข้อมูลเส้นทางน้ำโดยเฉพาะพื้นที่ต้นน้ำ เพื่อให้เห็นจุดเสี่ยง การเปลี่ยนแปลงเชิงกายภาพ ระดับความสูงต่ำ ปัญหาที่เกิดกับภูมินิเวศพบคุณภาพน้ำต้นน้ำยังสมบูรณ์ มีไม้ใหญ่(ต้นหยี)อายุ 250 ปี ไม้อายุ 100 ปีจำนวนหนึ่ง รวมถึงสัตว์หายากเช่นมูสัง ทุเรียนพื้นบ้าน
พร้อมจัดทำยุทธศาสตร์การอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศด้วยการปลูกต้นไม้ริมตลิ่ง ชะลอการไหลของน้ำและหน้าดิน รณรงค์การเลิกใช้ยาฆ่าหญ้า การขยายพันธ์สัตว์น้ำ อนุรักษ์ไม้ใหญ่ ทุเรียนพื้นบ้าน การทำฝายชะลอน้ำ การเพิ่มปริมาณน้ำ
และการทำแผนผังชุมชนบ้านหลบมุม ด้วยการเก็บข้อมูลครัวเรือนและภูมินิเวศ พบจำนวนครัวเรือน 1310 ครัวเรือน 66% เป็นบ้านเช่าให้แรงงานต่างถิ่นมาอาศัย โดยแบ่งพื้นที่เป็น 5 โซน แผนที่เหล่านี้คณะทำงานนำเข้าสู่การจัดทำ GIS โดยกองช่างของเทศบาลเพื่อนำไปใช้ในการบูรณาการงานและแก้ปัญหาให้ชุมชนต่อไป โดยเฉพาะในเรื่องการเข้าถึงสิทธิพื้นฐาน การอยู่ร่วมกันระหว่างคนต่างถิ่น ต่างชาติและคนในชุมชน การแก้ปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก(เพิ่มท่อระบายน้ำและทางเท้า) ปัญหาบ้านริมทางรถไฟ
ทั้งนี้การพัฒนาจะเน้นการสร้างรายได้ทางการเกษตร ผลผลิตเกษตรอินทรีย์ การคัดแยกขยะไปใช้ประโยชน์ การเพิ่มจำนวนสมาชิกที่อยู่ในบ้านเช่าให้อยู่ในทะเบียนบ้านในชุมชนเพื่อให้เข้าถึงสิทธิพื้นฐาน แก้ปัญหายาเสพติด และการเฝ้าระวังสาธารณภัยทั้งอุทกภัยและโรคอุบัติใหม่
โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมเติมเต็มและให้ข้อเสนอแนะดังนี้
1)ในส่วนของเทศบาลพะตง จะนำข้อมูลไปเชื่อมโยงกับแผนที่ภาษี แก้ปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากซึ่งอยู่ระหว่างรออนุมัติโครงการจากแขวงการทางเพื่อเพิ่มทางระบายน้ำ เปลี่ยนฝาปิดคูน้ำให้น้ำลงผ่านได้ การจัดการขยะที่ปัญหามาจากชุมชนและบ้านเช่า รวมถึงการสร้างเครือข่ายเตือนภัย/เฝ้าระวังอุทกภัยผ่าน cctv การทำฝายชะลอน้ำ การให้ชุมชนเข้าถึงสิทธิพื้นฐาน
2)บ.พาเนลพรัส จำกัด ได้เพิ่มเครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศ การทำ csr ให้กับกลุ่มเกษตรอินทรีย์ใต้ร่มบุญสนับสนุนโรงคัดแยกผัก GMP ซึ่งต้องการผลผลิตการรวมตัวของเกษตรกรมาสร้างรายได้ ส่งผลผลิตไปยังตลาดและต้องการหมอมาช่วยอยู่ประจำศูนย์สุขภาพและสถานีอนามัยเพื่อช่วยดูแลสมาชิกในชุมชนและโรงงาน
3)วิสาหกิจใต้ร่มบุญ อบต.พะตง ร่วมกับเครือข่ายเกษตรกร เครือข่ายเกษตรสุขภาพจังหวัด สสจ. เกษตรจังหวัด ต้องการส่งเสริมการผลิตเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่และใช้แนวคิด "ตลาดล่วงหน้า" วางแผนการผลิตภายใต้ความต้องการของตลาด ผ่าน Platform iGreensmile และรวบรวมผลผลิตสู่ครัวรพ. โรงแรม ร้านอาหาร และโรงงาน
4)ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด เสนอแนวคิดการจัดการค่าใช้จ่ายจัดการขยะที่มาจากโรงงาน บ้านเช่า เพื่อไม่ให้เป็นภาระของท้องถิ่น/ท้องที่ ในส่วนของค่าธรรมเนียมการจัดเก็บ การออกข้อบัญญัติ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงให้มีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ปัจจุบันได้มีศูนย์ประสานงานระดับจังหวัดทำหน้าที่ให้ความรู้ ให้คำปรึกษา รวมถึงการแผนลดก๊าซเรือนกระจกร่วมกับสถาบันการศึกษาม.อ. มีเป้าหมายลดก๊าซให้ได้ 40% ด้วย 24 มาตรการ
มีข้อเสนอแนะให้เพิ่มบทบาทของกรรมการระดับจังหวัดรองรับการปรับตัวรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงร่วมกับโครงการขยายผล/จัดการความรู้เพื่อนำผลการดำเนินงานไปใช้ประโยชน์
5)สนง.ทรัพยากรน้ำภาค 8 เสนอแนะในส่วนของการใช้พื้นที่สาธารณะหรือที่ดินว่างเปล่าเป็นที่รับน้ำ ปัจจุบันด้วยความต้องการรายได้มีการเก็บภาษีทำให้เกิดความสูญเสียพื้นที่รับน้ำไปด้วย พร้อมเสนอแนะการให้ท้องถิ่นขอการสนับสนุนงบกลางจาก สทนช.เพื่อแก้ปัญหาเรื่องน้ำในพื้นที่ ให้สอดคล้องกับแผน 5 ด้าน
6)สนง.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 12 เล่าภารกิจของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการรับมือภัยพิบัติ
7)มูลนิธิชุมชนสงขลา ได้พัฒนาระบบการทำงานแบบกลุ่มปิดผ่านแอพพลิเคชั่น iMed@home เพื่อสนับสนุนชุมชน/โรงาน สามารถใช้เป็นช่องทางกลางในการทำงานระหว่างองค์กรกับแกนนำและกลุ่มเสี่ยงในชุมชนทั้งเรื่องสุขภาพ การรองรับสังคมสูงวัย การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การศึกษา และนำเสนอข้อมูลเพื่อให้ชุมชนเกิดความตระหนักและเป็นเจ้าของข้อมูล ทั้งสามารถทำแผนปรับพฤติกรรม ลดความเสี่ยงต่างๆ และนำเสนอผลการทำงานร่วมกันอีกด้วย
8)อบต.พะตง เล่าในส่วนการจัดการขยะ นำมาใช้ประโยชน์ จัดหาสิ่งของให้ผู้ป่วยและเริ่มเตรียมทำคาร์บอนเครดิต
ข้อเสนอและแนวทางดำเนินการดังกล่าว คณะทำงานจะได้นำไปปรับใช้และดำเนินกิจกรรมในช่วงสุดท้ายด้วยการสังเคราะห์ข้อมูลและจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายให้มีความชัดเจนและจัดประชุมกรรมการอีกครั้งเป็นกิจกรรมสุดท้าย
Relate topics
- จดหมายข่าวโครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง (SUCCESS) ฉบับที่ 1 - 10
- ก้าวที่ 1 ของ iMedCare ธุรกิจเพื่อสังคมของสงขลา"
- "แผนผังภูมินิเวศ"
- เครือข่าย SUCCESS เมืองควนลังร่วมงานส้มโอเมืองควนลังปี 2567
- "ทีม iMedCare วิถีผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน"
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 11 - 21
- อังกฤษที่ผมเห็น ตอนที่ 1 - 10
- "iMed@home ระบบกลุ่ม"
- สมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลาชูวาระ "พลิกโฉมพลังพลเมืองสงขลาเพื่อสังคมสุขภาวะที่ยั่งยืน"
- กิจกรรมรับบริจาคโลหิตประชารัฐสงขลาประจำเดือนตุลาคม 2567