"success เมืองบ่อยาง สงขลา"

by punyha @24 พ.ย. 66 11:14 ( IP : 171...208 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์ , โครงการ SUCCESS
  • photo  , 1280x960 pixel , 86,856 bytes.
  • photo  , 1704x961 pixel , 170,481 bytes.
  • photo  , 1704x961 pixel , 195,703 bytes.
  • photo  , 1280x960 pixel , 131,511 bytes.
  • photo  , 960x541 pixel , 86,118 bytes.
  • photo  , 1280x960 pixel , 147,509 bytes.
  • photo  , 1706x960 pixel , 116,703 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 90,085 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 77,263 bytes.
  • photo  , 960x541 pixel , 84,453 bytes.
  • photo  , 960x541 pixel , 76,107 bytes.
  • photo  , 1280x960 pixel , 115,392 bytes.
  • photo  , 1280x960 pixel , 87,442 bytes.
  • photo  , 1280x960 pixel , 113,181 bytes.
  • photo  , 1280x960 pixel , 124,644 bytes.
  • photo  , 1280x960 pixel , 91,121 bytes.

"success เมืองบ่อยาง สงขลา"

วันที่ 22 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09.00-12.00 น.คณะทำงานโครงการนำร่องเมืองบ่อยางจัดประชุมกรรมการอำนวยการโครงการครั้งที่ 2 ประสานภาคีหน่วยงานต่างๆมาร่วมให้ข้อเสนอแนะและสร้างความร่วมมือในการดำเนินงาน เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมภายใต้โครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง(success)พื้นที่ภาคใต้ โดยการสนับสนุนจากสหภาพยุโรป มีหน่วยงานและเครือข่ายมาร่วมจำนวน30 คน

ประกอบด้วย ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออก เกษตรจังหวัด เจ้าหน้าที่โยธาธิการและผังเมือง สสจ. พมจ. ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งสงขลา ยุติธรรมจังหวัด ท่องเที่ยวและกีฬา ธนารักษ์สงขลา สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(พอช.) ม.ราชภัฎสงขลา ม.อ. คณะทำงานโครงการนำร่อง โดยมีสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย และมูลนิธิชุมชนสงขลาเข้าร่วม ณ ห้องประชุมชั้น 3 ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออก

คณะทำงานโครงการนำเสนอความก้าวหน้าการดำเนินงานที่ประกอบด้วยเป้าหมาย

1)ให้มีกรรมการอำนวยการเมืองบ่อยางสนับสนุนการดำเนินงาน

2)การทำแผนในชุมชนนำร่อง 4 แห่ง ได้แก่ ชุมชนแหลมสนอ่อน ชุมชนสนามบิน ชุมชนภราดร ชุมชนบาลาเซาะห์เก้าแสน

3)การให้มีองค์กรนิติบุคคลระดับเมืองร่วมแก้ปัญหาที่อยู่อาศัย การสร้างอาชีพ/รายได้ การจัดการสิ่งแวดล้อม

4)การจัดการปัญหาสุขภาพ

5)การมีส่วนร่วมการพัฒนา

ในการจัดทำแผนระดับชุมชนได้มีการจัดเก็บข้อมูลเชิงพื้นที่ ทำแผนที่ทำมือ ประเมินเส้นทางน้ำ จุดเสี่ยงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การวิเคราะห์กลุ่มองค์กรชุมชน การทำประวัติศาสตร์ชุมชนดูเหตุการณ์สำคัญ ร่วมถึงทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงในชุมชนมิติต่างๆนำมาสู่การจัดทำแผนชุมชน เป็นแผน 3 ปี จุดเน้นสำคัญคือการสร้างความร่วมมือในพื้นที่ การสร้างความรับรู้และตระหนักต่อปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การสร้างความรัก ความสามัคคีเปิดพื้นที่การเรียนรู้ระหว่าง 3 วัย การรองรับสังคมสูงวัย

ทั้งนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ข้อเสนอแนะและเติมเต็มข้อมูลดังนี้

1)เกษตรจังหวัด พร้อมสนับสนุนกิจกรรมในชุมชน เจ้าภาพหลักควรเป็นเทศบาลนครสงขลาร่วมกับเครือข่ายองค์กรชุมชนและภาคีเครือข่าย รวมถึงอบจ.

2)ธนารักษ์สงขลา เสนอแนะให้ชุมชนที่กำลังอยู่ระหว่างการปรับตัวและทำผังชุมชนใหม่ควรทำเรื่องบ้านมั่นคงที่มีรูปแบบที่สามารถรับมือความเสี่ยงต่างๆก่อนเช่าที่กับหน่วยงาน และคิดถึงอนาคตในการหาพื้นที่มีโฉนดเพื่อให้เกิดความมั่นคงในชีวิต

3)คณะแพทย์ศาสตร์ม.อ. ให้ข้อคิดการพัฒนาที่อยู่อาศัยที่ดีควรมีพื้นที่สีเขียว การมีเวลาทำกิจกรรมสร้างสรรค์ร่วมกัน เป็นส่วนหนึ่งของผังชุมชน และดูแลกลุ่มเปราะบางโดยเฉพาะเด็กเล็ก ที่มีการแสดงออกทางอารมณ์รุนแรงมากขึ้น ให้เด็กมีพื้นที่แสดงออก เข้าถึงอาหาร และชี้ประเด็นผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีต่อสุขภาพ คือ การป่วยด้วยลมแดด การเป็นโรคฉี่หนู น้ำกัดเท้า ภูมิแพ้ การเพิ่มพาหะนำโรคจากการที่อุณหภูมิสูงขึ้น

4) คณะมนุษย์ศาสตร์ ม.ราชภัฎสงขลา ปีนี้จะส่งนักศึกษาปี 2 ลงทำแผนชุมชนใน 22 ชุมชน (6 คนต่อกลุ่ม) สามารถประสานการทำงานร่วมกับชุมชน เครือข่าย รวมถึงการทำกิจกรรมและให้คำปรึกษากับเด็กและเยาวชนในกลุ่มประถมปลาย มัธยมต้น มัธยมปลาย

5)สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน กำลังดำเนินการแก้ปัญหาด้านที่อยู่อาศัย บ้านมั่นคงโดยเฉพาะแก้ปัญหาชุมชนในที่การรถไฟที่กำลังจะมีโครงการรถไฟรางคู่ลงมาตามนโยบายรัฐบาล รวมถึงการแก้ปัญหาคลองสำโรง ปัจจุบันติดอยู่ที่ขั้่นตอนของจังหวัดในส่วนกรรมการที่รับผิดชอบที่จะต้องสรุปทิศทางดำเนินการต่อไป นอกจากนั้นยังสนับสนุนกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต การดูแลเด็กและเยาวชน รวมถึงการผลักดันให้เทศบาลแต่งตั้งคณะกรรมการเมืองมาเป็นกลไกสนับสนุนการทำงาน

6) ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจังหวัด/สสว.11/พมจ. แจ้งว่าทางพม.มีโครงการให้กลุ่มเปราะบางรับมือผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง โดยเฉพาะหน้าฝนปีนี้ที่กลุ่มเปราะบางสามารถขอความช่วยเหลือในส่วนที่เกี่ยวข้องกับที่อยู่อาศัย จุดเสี่ยง การอบรมอพม.ให้เป็นผู้ปรสานงาน โดยมีสสว.11 รับผิดชอบ

นอกจากนั้นยังมีโครงการหุ้นส่วนทางสังคมระดับจังหวัดร่วมกับสสส. ภาคีภาคประชาชน เอกชน มีวาระร่วมเรื่องที่อยู่อาศัย การทำแผนรองรับสังคมสูงวัยและประสานความช่วยเหลือทางสังคมอีกด้วย

7)ยุติธรรมจังหวัด เป็นหน่วยงานที่จะข่วยดำเนินการเรื่องการตรวจ dna การหาบุคคลอ้างอิงเพื่อทำบัตรประชาชน การมีกองทุนเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากคดี จากการถูกละเมิดสิทธิ์ การถูกทำร้าย รวมถึงการให้การสนับสนุนโครงการให้ความรู้เรื่องกฏหมาย/สิทธิพื้นฐานให้แก่ประชาชน(วงเงินไม่เกิน 5 หมื่นบาท)

8)สสจ.สามารถสนับสนุนชุมชนที่ต้องการเป็นชุมชนท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในการอบรมหมอนวด การให้ความรู้เรื่องอาหาร/โภชนาการ ชีวอนามัย

9)มูลนิธิชุมชนสงขลา ร่วมกับอบจ. สวรส. สช. พัฒนาระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิแบบชุมชนมีส่วนร่วมที่ชุมชนแหลมสนอ่อน โดยคัดกรองและคืนข้อมูลสุขภาพให้ชุมชนจัดทำแผนสุขภาพและกติกาสุขภาพ พร้อมกับรับสมัครกลุ่มเสี่ยง/กลุ่มป่วยมาทำแผนสุขภาพปรับพฤติกรรมตนเอง และมีการติดตามประเมินผลแบบครบวงจร ผ่านระบบกลุ่มปิดในแอพ iMed@home พร้อมขยายผลไปทำเร่ื่องรองรับสังคมสูงวัย และการศึกษา ต้องการประสานหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องมาทำงานร่วมกันกับชุมชนที่ต้องการทำอีกด้วย

นอกจากนั้นยังได้เปิดงานธุรกิจเพื่อสังคม imedcare ดูแลผู้สูงอายุที่บ้านร่วมกับบริษัทประชารัฐฯสงขลาในพื้นที่อำเภอเมือง เพื่อให้องค์กรในพื้นที่สามารถพึ่งเอง สร้างรายได้อีกทางหนึ่ง

คณะทำงานจะได้นำข้อเสนอแนะต่างๆไปดำเนินการร่วมกันต่อไป

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน