ใต้ฟ้าเดียวกัน ตอน "ไก่ทอดเทพา"

by punyha @15 เม.ย. 58 20:59 ( IP : 223...13 ) | Tags : ใต้ฟ้าเดียวกัน
  • photo  , 540x960 pixel , 102,798 bytes.
  • photo  , 540x960 pixel , 71,229 bytes.
  • photo  , 540x960 pixel , 113,524 bytes.
  • photo  , 540x960 pixel , 85,992 bytes.
  • photo  , 640x960 pixel , 108,904 bytes.
  • photo  , 640x960 pixel , 113,474 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 78,206 bytes.

ไก่ทอดเทพา

จากการประชุมของสภาวิทยาลัยชุมชนสงขลาในการประชุม เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2558

ที่มติเรื่องการสร้างชุมชนเข้มแข็งและการฝึกอาชีพ ในเรื่องไก่ทอดเทพา ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะคู่มากับเมืองเทพาจะสูญหาย เพราะคนในรุ่นปัจจุบันไม่สืบต่อ

และวิทยาลัยชุมชนสงขลามีที่ตั้งอยู่ที่อำเภอเทพา น่าจะรับภารกิจในการธำรงรักษา

มติที่ประชุมจึงมอบหมายให้ท่านเฉลิมพล ทิพย์มณี กรรมการวิทยาลัยชุมชนสงขลาในฐานะเป็นนายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลเทพา เป็นประธานคณะทำงาน

และให้นายชิต สง่ากุลพงศ์ อดีตประธานหอการค้าจังหวัดสงขลา (เคยจัดมหกรรมไก่ทอดหาดใหญ่ ในสมัยดำรงตำแหน่งประธานหอการค้าจังหวัดสงขลา จนดังระดับชาติมาแล้ว) เป็นกรรมการ และนายชัยวุฒิ บุญวิวัฒนาการ กรรมการตัวแทนหอการค้าจังหวัดสงขลา เป็นคณะทำงาน โดยมีผู้อำนวยการวิทยาลัย นิยม ชูชื่น เป็นกรรมการเลขานุการ คณะทำงาน

ทางคณะทำงานได้นัดประชุมในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2558 ณ สำนักงานวิทยาลัยชุมชนสงขลา ที่อำเภอเทพา

โดยนำแม่ค้าไก่ทอดมาเข้าร่วมประชุมด้วย ประวัติของไก่ทอดเทพาเป็นของคู่มากับทางรถไฟสายกรุงเทพมหานคร - สุไหงโกลก

เนื่องจากอำเภอเทพาอุดมสมบูรณ์ด้วยป่าไม้ สมัยก่อนรถไฟ(เป็นรถไฟจริงๆคือหัวรถจักรไอน้ำ)

ต้องแวะพักที่สถานีเทพาเพื่อเติมฟืนเติมน้ำ โดยแวะพักไม่น้อยกว่าครึ่งชั่วโมง และรถไฟไม่ว่าขาขึ้นหรือขาล่องก็จะมาหิวข้าวแถวนี้พอดี

ด้วยภูมิปัญญาของคนในท้องถิ่นก็เอาไก่บ้านมาทำแกงเขียวหวานไก่(โดยเอาหนังไก่ กระดูกไก่่ ตีนไก่ และปีกไก่มาทำแกงเขียวหวาน) ส่วนเนื้อไก่จะสับเป็นชิ้น ๆ ตัวหนึ่งสับได้ประมาณ 8 ชิ้น มาหมัก (ผู้เขียนเข้าใจว่าสมัยแรกๆน่าจะหมักเกลือ และน้ำปลาที่ทำจากปลาของปากน้ำเทพา  เพราะเทพาจะขึ้นชื่อเรื่องกะปิเทพาอีกเรื่องหนึ่ง) จากนั้นนำมาทอด

โดยกรรมวิธีการทอดจะทอด 3 กะทะ กะทะแรกเป็นการไล่น้ำ้จากตัวไก่ กะทะที่สองเพื่อความสุก กะทะที่สามเนื้อไก่จะแห้งและเป็นสีเหลืองทอง (ไก่ทอดเทพาจะไม่เหมือนไก่ทอดหาดใหญ่เพราะไก่ทอดหาดใหญ่จะทอดพร้อมหนัง แต่ไก่เทพาจะถอดหนังไก่ออก)

เนื้อไก่ที่แห้งทานกับข้าวราดแกงเขียวหวานจะเข้ากันอย่างดีและเอร็ดอร่อยมาก

สอบถามได้ความว่ายุคแรกๆคนจะลงจากรถไฟมาแย่งซื้อข้าวใส่กะทงใบตองราดแกงเขียวหวานไก่ และไก่ทอดเป็นที่ครึกครื้น โดยมีช้อนสังกะสีแถมไปพร้อมกะทงข้าว เมื่อคนทานในรถไฟเสร็จก็จะโยนทั้งหมดออกนอกรถ ขบวนรถจะมีนกเอี้ยงบินตามขบวนรถเพื่อจิกกินเศษอาหาร ใบตองก็ย่อยสลายได้ ส่วนช้อนสังกะสีจะมีเด็กๆเดินตามรางรถไฟเก็บช้อนมาขายคืนร้านค้าเพื่อรียูส

วิวัฒนาการต่อๆมาแม่ค้าจะหาบข้าวแกงขายกับขบวนรถไฟ ปัจจุบัน รถไฟเข้าสถานีทั้งขาขึ้นและขาล่อง 13 ขบวนแต่จอดรถเพียง 1 - 2 นาที ทำให้แม่ค้าขายของได้น้อยลง มีแม่ค้าบางคนที่ส่งลูกหลานขึ้นไปขายบนขบวนรถแล้วไปลงสถานีข้างหน้าขึ้นขบวนต่อไป ไปและกลับก็จะมีรายได้เพิ่มขึ้น

ส่วนแม่ค้าที่ขายตามสถานีบางคนขายมาตั้งแต่รุ่นแม่(ประมาณปี 2475 ที่ขบวนรถไฟผ่านมาทางสถานีเทพา) แม่ค้าบางท่านขายมาตั้งแต่อายุ 13 ปี

หลังจากถอดความรู้กับบรรดาผู้ขาย ทางวิทยาลัยชุมชนสงขลาได้ตกลงจะเขียนตำนานไก่ทอดเทพาโดยใช้นักเขียนในท้องถิ่นเป็นผู้ถ่ายทอดเรื่องราว เอาผลิตภัณฑ์ไก่ทอดเทพาของแม่ค้าทั้งหลายบรรจุถุงสูญญากาศ(เป็นเครื่องมือที่วิทยาลัยชุมชนสงขลามีอยู่แล้ว) ทดสอบเชิงวิจัยเบื้องต้นถึงอายุการเก็บรักษา และนำมาอุ่นโดยเตาไมโครเวฟ หรือเตาอบไฟฟ้าธรรมดา เพื่อยืดอายุเป็นของฝาก

ทางเทศบาลตำบลเทพาจะทำการพัฒนาหีบห่อ หรือกล่องบรรจุภัณฑ์ และหาสถานที่บนถนน สงขลา-เทพา-ปัตตานี เป็นจุดพักรถเพื่อขายผลิตภัณฑ์ เพิ่มเติม โดยรักษาเอกลักษณ์การขายที่สถานีรถไฟเทพาเอาไว้ วิทยาลัยชุมชนสงขลา จะทำงานต่อหากไก่ทอดเป็นที่นิยมหากระบวนการเลี้ยงไก่ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะในการทำไก่เทพา ตั้งแต่ต้นน้ำถึงการแปรรูป

personมุมสมาชิก

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน

เยือนอเมริกา ดูงานมูลนิธิชุมชน.

เครือข่าย

เครือข่ายมูลนิธิชุมชน