มูลนิธิชุมชนสงขลาร่วมกับเครือข่ายสุขภาพจังหวัดสงขลา ร่วมสร้างและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาพด้วยกระบวนการสมัชชาสุขภาพ ซึ่งปีนี้พิเศษตรงที่ได้มูลนิธิชุมชนสงขลาเป็นเจ้าภาพหลักร่วมดำเนินงานใน นามโครงการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วมกรณีสมัชชาสุขภาพ จังหวัดสงขลา พ.ศ.2552-2554
คุณชาคริต โภชะเรือง ในฐานะผู้รับผิดชอบ กล่าวว่าโครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากลไกและกระบวนการสมัชชาเฉพาะประเด็น / เฉพาะพื้นที่
หลักการและวิธีการบริหารจัดการชุมชน (Principle of Community Administrator and Management)
เอกสารประกอบการเรียนรู้ชุมชน ในโครงการวิจัยและพัฒนาตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่สุขภาวะองค์รวม ภายใต้แผนสุขภาพจังหวัดสงขลา
เรียบเรียงโดย อรัญ จิตตะเสโน และคณะ
ดำเนินการโดย คณะทำงานจัดการองค์ความรู้ในโครงการวิจัยและพัฒนาตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่สุขภาวะองค์รวม
เช้าวันใหม่ 5 มีนาคม 2552 เป็นเวลา 7: 45 น. เราทานอาหารเช้ากับ Marjorie Lyles มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการบริหารองค์กรมูลนิธิชุมชนที่อยู่บนฐานการพึ่งตนเองในรูปแบบต่างๆ เราได้ความคิดใหม่ๆหลายอย่างจากการทำงานของที่นี่ เช่น บ.ยายักษ์ใหญ่แห่งหนึ่ง ยกหุ้นให้แทนที่จะสนับสนุนเป็นเงิน แต่ก็มีความเสี่ยงหากหุ้นราคาตก
หรือไม่เราอาจประยุกต์รูปแบบธุรกิจเพื่อองค์กรสาธารณะ นำส่วนต่างหรือกำไรมาใช้เลี้ยงองค์กร แยกออกมาจากการระดมทุน เช่น การขายตั๋วเครื่องบิน ขายบัตรโทรศัพท์ เคาเตอร์เซอร์วิส การขายแบรนด์น้ำดื่ม(อาทิชื่อน้ำใจ) ร้านอาหาร
การประชุมกรรมการมูลนิธิชุมชนสงขลา ครั้งที่ 2/2552
วันที่ 9 กรกฎาคม 2552 เวลา 16.00-20.00 น. ณ สวรส. ภาคใต้ มอ. สาขาหาดใหญ่ใน
ผู้เข้าประชุม
1. นายชิต สง่ากุลพงศ์
2. นายอรัญ จิตตะเสโน
3. นายชาคริต โภชะเรือง
4. นายชัยวุฒิ บุญวิวัฒนาการ
5. พระครูปลัดสมพร ธมฺโม
6. นางสาวศมพรัตน์ ขุนทิพย์
เริ่มประชุมเวลา 17.00 น.
เมื่อช่วงต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ผมกับพรรคพวกในมูลนิธิชุมชนสงขลามีโอกาสดีได้ไปดูงานที่อเมริกา เราไปดูต้นกำเนิดแนวคิดการทำมูลนิธิชุมชน ซึ่งเป็นเรื่องใหม่อีกเรื่องที่เรากำลังจะดำเนินการ ทั้งหมดนี้เป็นผลสืบเนื่องจากการทำงานร่วมกับหลายองค์กรในพื้นที่และนอกพื้นที่โดยเฉพาะ Nida ที่เป็นเ้จ้าภาพ ร่วนกันชักชวนเครือข่ายภาคประชาสังคมและองค์กรธุรกิจที่มีใจทำงานเพื่อสังคม ร่วมกันพัฒนาแนวคิดเรื่องมูลนิธิชุมชนในประเทศไทย
ปฐมบทดินแดนสุวรรณภูมิ จุดเชื่อมต่อ(Hub) ของเปอร์เซีย กับ จีน (ความจริงของถิ่นไทย ที่คนไทยไม่ค้นหา)
นับตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 5-6 การปรากฏตัวของเมืองท่า และแหล่งโบราณคดีที่แสดงว่า มีผู้คนจากต่างแดนเข้ามาปฏิสัมพันธ์ น่าจะมีเหตุผลจาก การแสวงหาโภคทรัพย์ของผู้คนทางตะวันตกดั่งเช่น กรีซ และ โรมัน จึงทำให้ช่วงเวลาดังกล่าว เป็นช่วงเวลาของการค้นพบเส้นทางการค้าทางทะเลที่เกิดขึ้นใหม่ คู่ขนานและเชื่อมโครงข่ายกับเส้นทางการค้าทางบก
มูลนิธิชุมชนสงขลา เปิดเวทีพัฒนาศักยภาพภาวะผู้นำเพื่อชุมชนและสังคม โดยจัดขึ้นเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2552 ที่ผ่านมา ณ โรงแรมสิงห์โกลเด้นเพลส ได้เชิญ รศ.ดร.นิกร วัฒนพนม กรรมการมูลนิธิเพื่อการพัฒนาผู้นำธุรกิจและชุมชน ซึ่งเป็นองค์กรที่พัฒนาศักยภาพของผู้นำธุรกิจ และผู้นำทางชุมชน โดยในวันนั้น รศ.ดร.นิกร วัฒนพนมจุดประกาย “การพัฒนาศักยภาพภาวะผู้นำชุมชนและสังคม” โดยกล่าวถึงประเทศเกาหลีและสิงคโปร์ ซึ่งเมื่อ 10 ปีก่อน เป็นประเทศค่อนข้างจะมีภัยพิบัติมหาศาล การเพาะปลูกค่อนข้างจะอดอยาก แต่เมื่อเวลาผ่านไป 20 กว่าปี ก็สามารถสร้างประเทศให้เป็นประเทศชั้นนำในโลกได้
เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2552 เวลา 17.00 ณ โรงแรมสิงห์โกลเด้นเพลส มูลนิธิชุมชนสงขลา "ร่วมหารือ" งานชุมนุมคนดีศรีสงขลากับท่านบัญญัติ จันทน์เสนะ ประธานกรรมการมูลนิธิเรารักสงขลาเฉลิมพระเกียรติ
คุณชิต สง่ากุลพงศ์ กล่าวแนะนำกรรมการมูลนิธิชุมชนสงขลา ชี้แจงประเด็นในการหารือเรื่อง 1. กำหนดการการชุมนุมคนดีศรีสงขลา 2. Global Fund for Community Foundation ให้ทุนในการสนับสนุนมูลนิธิชุมชนทั่วโลก
คุณชาคริต โภชะเรือง นำเสนอเรื่องการดำเนินงานของมูลนิธิชุมชนสงขลา ซึ่งฐานคิดมาจาก 2 ภาคส่วน คือ ภาคประชาสังคม และภาคเอกชน ในมุมของภาคประชาสังคมนั้นซึ่งภารกิจหลักคือ การเชื่อมร้อยภาคประชาชนในพื้นที่โดยใช้แผนสุขภาพจังหวัด ซึ่งหมายถึงความสมดุลทางกาย ใจ ปัญญา มีทั้งหมด 14 เครือข่าย โดยเอาปัญหาของพื้นที่เป็นตัวตั้ง และมีแกนหลักเพื่อประสานงาน โดยมีภาคท้องถิ่น ภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคประชาชน แต่ละประเด็นจะไปหลอมรวมกับหน่วยงานจังหวัด นอกจากนั้นยังทำแผนสุขภาพตำบลเพื่อเชื่อมกับเครือข่ายระดับตำบล ทั้งหมดนี้มีโมเดลปีกผีเสื้อเป็นแนวคิดของการทำงาน โดยทั้งหมดใช้งานสมัชชาสุขภาพจังหวัดเป็นตัวเชื่อม ซึ่งทั้งหมดนี้ยังพึ่งแหล่งทุนจากข้างนอก จึงเป็นที่มาของมูลนิธิชุมชนที่มีแนวคิดว่าจะทำอย่างไรที่จะพึ่งตนเองในระยะยาว โดยส่งเสริมในเรื่องของการให้ สร้างอาสาสมัครในชุมชน และอีกด้านหนึ่งคือ นโยบายสาธารณะโดยมูลนิธิชุมชนสงขลาเป็นตัวหลอมในพื้นที่ทั้งเชิงประเด็น เชิงพื้นที่ และการเมือง
เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2552 มูลนิธิชุมชนสงขลา โดยคุณชิต สง่ากุลพงศ์ คุณสมพร สิริโปราณานนท์ คุณชาคริต โภชะเรือง พระครูปลัดสมพร ฐานธมฺโม เจ้าอาวาสวัดคลองแห ได้ร่วมเปิดพิธีฝายดักขยะ ณ วัดคลองแห ซึ่งก่อนพิธิเปิดได้มีการแสดงมโนราห์จากน้องๆเยาวชนเวลา 09.39 กล่าวเปิดงาน โดยท้องถิ่งจังหวัดสงขลา และร่วมตีฆ้องเปิดฝาย เทน้ำหมักชีวภาพ โยนจุลินทรีย์แห้งบำบัดน้ำเสีย หลังจากนั้นเป็นการเสวนาเรื่อง "การมีส่วนร่วม
ขอเชิญกรรมการมูลนิธิชุมชนทุกท่านร่วมพิธีเปิดฝายดักขยะวัดคลองแห วันที่ 7 สิงหาคม 2552เวลา 09.39 น. ณ วัดคลองแห และสำหรับวันที่ 7-8-9 สิงหาคม 2552 จะมีการจัดงานย้อนตำนานคลองแหเพื่อเป็นการรำลึกถึงตำนานท้องถิ่นในอดีตกาล และร่วมสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น